ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน


ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่  ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน  มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน


          การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้วยความเอาใจใส่ อย่างประณีต  ที่นี่จะมีความชำนาญพิเศษในการทอผ้าไหมลายลูกแก้ว ที่มีลักษณะเป็นรูปขนมเปียกปูนขนาดเล็ก อันเป็นเอกลักษณ์บนผืนผ้า  เมื่อได้ผ้ามาเป็นผืนแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอน ย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ให้มีสีดำขลับ มะเกลือมีคุณสมบัติในการทำให้ผ้ามีความแน่นและทิ้งตัว ขั้นตอนในการย้อม เริ่มต้นที่การนำมะเกลือกับใบเล็บครุฑที่ ชุมชนแห่งนี้ปลูกอยู่โดยทั่วไป นำมาใส่น้ำในมะเกลือที่ตำละเอียด แล้วนำมามาย้อมแช่ทิ้งไว้ ให้มะเกลือซึมซาบเข้าในผืนผ้า แล้วผ้ามาตากให้แห้ง ทำอยู่เช่นนั้นสลับ ไปมา จนเป็นที่พอใจ ถ้าใครมีโอกาสผ่านทางไปในชุมชนเมืองหลวง ก็จะเห็นผืนผ้าเหล่านี้ ที่ทำการย้อมมะเกลือตากอยู่ในแนวรั้ว มองเห็นจนเป็นภาพชินตา  เมื่อได้ผ้าเก็บย้อมมะเกลือ ซึ่งเป็นการย้อมสีธรรมชาติ ที่ผู้คนนิยม และสนใจนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ  ที่บ้านเมืองหลวงเอง ก็มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หลากหลายชนิด ให้ผู้สนใจได้เลือกซื้อหา ได้ตามความสนใจ  

          นางฉลวย ชูศรีสัตยา ประธานกลุ่มวิสาหกิจการแปรรูปผ้าไหมลายลูกแก้วบ้านเมืองหลวง เล่าว่า
ที่บ้านเมืองหลวง มีการแปรรูปผ้าเก็บย้อมมะเกลือเป็น ผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เป็นเสื้อผ้าที่มีการปักแซวลวดลายเอกลักษณ์ต่าง ๆ  การแปรูปเป็นของที่ระลึก พวกกุญแจ  การทำกระเป๋าจากผ้าลายลูกแก้ว การทำเป็นย่าม เป็นต้น  แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ คือเสื้อผ้าเก็บที่มีการปักแซว ลายเอกลักษณ์ของชุมชน จนจังหวัดศรีสะเกษ ประกาศ ให้ผ้าเก็บลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ เป็นผ้าพื้นบ้านประจำจังหวัด ยิ่งมีกลุ่มสนใจมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีรายได้จากการปักแซวผ้าลายเอกลักษณ์เหล่านี้  เพิ่มมากขึ้น 

                การปักแซว เป็นภูมิปัญญาการนำเส้นไหมที่ควั่นเข้าด้วยกัน มาแซวตะเข็บหรือชายเสื้อเป็นลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งมีทั้งลวดลายโบราณและลายประยุกต์ให้เลือก ตามความสนใจ ซึ่งเป็นงานฝีมือที่มีความยากพอสมควร และใช้เวลาในการปักแซวค่อนข้างนาน โดยมากลวดลายที่ปักบนผืนผ้าจะเป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน  เช่น ลายตีนตะขาบ ตีนไก่ หางตะกวด ดอกมะเขือ เป็นต้น ส่วนความนิยมในเสื้อเก็บย้อมมะเกลือในปัจจุบัน นับว่าเป็นที่สนใจในวงกว้าง ผู้ปักแซวในบ้านเมืองหลวง ต่างรับงานปักแซวกันมากขึ้น จนชิ้นงานล้นมือทำแทบไม่ทัน เรียกว่าเกิดรายได้จากงานปักแซว และกระบวนการผลิตผ้าไหมพื้นบ้าน ของชุมชนทั้งระบบ


          สำหรับท่านผู้อ่าน ที่สนใจ มาศึกษาเรียนรู้ดูงาน  วิถีชีวิตชุมชน วิถีเส้นไหม เส้นทางสายไหม การใช้เส้นไหมเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนก็สามารถติดต่อได้ที่ชุมชนบ้านเมืองหลวง  หรือ ติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน ก็ยินดีบอกกล่าวเล่าเรื่อง และนำไปท่านไปสู่การเรียนรู้ไปด้วยกับที่ชุมชนบ้านเมืองหลวง  ครับ................  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่