ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2015

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

๑๑ ปีที่ผ่านมา มีอะไรตกหล่นไป

ถนนที่ทอดยาว ไปสุดสายตา  มองไปข้างหน้า ก็ไม่ชัดเจนนัก  ไม่มีใครรู้ว่าเบื้องหน้ามีสิ่งใดรอคอยเราอยู๋  ผมใช้ชีวิต ของผมตามวิถีทางที่ถูกเลือกสรร  แล้ว  ที่ผ่านมา  มีทางแยกทางร่วม  ตลอดจนทางเลือกมากมาย   ในรายทาง  ณ  สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจ ในวินาทีนั้น  มั่นใจว่าเรา  เลือก ทางที่ดีที่สุด  แล้ว  แต่ทุกครั้งที่เลือกสิ่งหนึ่งสิ่งใด  ความลังเล  ความเสียใจ  มักเสนอหน้ามา  ทักทาย  เสมอ  แต่กระนั้นก็ไม่มีทางที่จะแก้ไข อะไร  ได้เลย  เพราะมันผ่านไป  จึงได้แต่ปล่อยเลยตามเลย   ให้เวลารักษา  บาดแผลทุกบาดแผล   ที่มี   มันเป็นวิถี ที่ไม่กล้าหาญ  ไม่เผชิญหน้า   แต่มันจัดการปัญหา ได้อย่างเลือดเย็น และประนีประนอม   ละมุนละม่อม  ที่สุด   แม้จะเจ็บปวดร้าว  บ้างในระยะแรก  แต่จะดีขึ้นตามลำดับ   เส้นทาง  ที่ผมเลือก   มันขลาดเขลา   นัก   .............ก็อย่างนี้  นี่เอง   

งานบันดาลใจ : สุขใจได้ทำงานที่ใจรัก

                       การทำงานที่เรารักนั้นเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ผมเป็นคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้ทำงานที่ตัวเองรักเป็นเวลานับ ๑ ทศวรรษแล้ว   ที่ผมได้ทำงานในหน้าที่ นักพัฒนาชุมชน สังกัดกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย   ซึ่งมีภารกิจในด้านการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีมีสุข   ถึงแม้ลักษณะงานที่ทำจะเป็นงานราชการ   แต่ก็เป็นเนื้อหาที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ในบทบาทผู้ส่งเสริม สนับสนุน เอื้ออำนวย   ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้   เพื่อการพึ่งตนเองของประชาชน ในตำบล หมู่บ้านเมื่อปี ๒๕๔๙   ผมได้รับการโยกย้ายมาทำงานที่อำเภอบ้านเกิด ซึ่งเป็นผลดีต่องานและชีวิตส่วนตัวมากยิ่งขึ้นผมลงพื้นที่ศึกษาสถานการณ์ปัญหาของ ตำบลหมู่บ้าน   ผ่านการสังเกต   สัมภาษณ์การ ประชุมกลุ่มย่อยในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการพบว่า สถานการณ์ปัญหาหนึ่ง ที่ชุมชนท้องถิ่นเผชิญอยู่เป็นปัญหาที่หนักหน่วง รุนแรง คือการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตข้าว   ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย คนไทยทุกคนต่างต้องกินข้าว   แต่ผู้ปลูกข้าวเองนั่นแหละ   ที่ได้ใส่สารพิษลงไปในเมล็ดข้าวของตัวเอง   นอกจากการฆ่าตั

งานวิจัย :บนสายการพัฒนา

ปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือราชการ  มาเชิญชวนบุคลากรในสังกัดที่มี ผลงานการวิจัย  และเอกสารวิชาการ  ที่ดำเนินการในระหว่าง  ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงปี  พ.ศ.  ๒๕๕๗   เพื่อพิจารณาคัดเลือกไปนำเสนอผลงาน ในมหกรรมตลาด นัดความรู้  ตามยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ขององค์กร   ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ผมใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือ ในการทำงานชุมชน เสมอมา รวมแล้ว ในรอบ ๑๐  ปี ผมทำวิจัย  ๕  เรื่อง กับหน่วยงานที่แตกต่างกัน เช่น สกว. /สถาบันพระปกเกล้า /ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร/ม.อุบลราชธานี  เป็นต้น สาเหตุสำคัญที่เลือกใช้วิธีนี้   เรื่องจากการวิจัย  ต้องทำงานข้อมูล  .......... ทำงานเชิงกระบวนการ  และได้สร้างทีมงานวิจัยในชุมชน  โดยเฉลี่ยระยะเวลา ๑-๒ ปี   ซึ่ง  ผลดังกล่าว  ทำให้ระบบความสัมพันธ์ในชุมชนระหว่าง  คนในชุมชน กับนักพัฒนา  มันแน่นแฟ้นขึ้น   การทำงานพัฒนา  จึงกลายเป็นว่า สนุกและง่าย ผมพิจารณาแล้ว  ว่า  ในเวทีนี้  อยากนำเสนอผลงานบ้าง เพราะ ผมมีสต็อกงานวิจัย ที่ลงมือทำร่วมกับพี่น้องในพื้นที่ ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว พอดี  ดังนั้นเมื่อโอกาส มาจำเป็นต้องรับ  และทดลอง  ฝึกปรือฝีมือดูบ้าง  เผื่อ

นักพัฒนา : สะพาน

ปี พ.ศ ๒๕๕๕  ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ โครงการสะพาน ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี เนื่องจาก ม.อุบล ฯ  เปิดโอกาสให้ชุมชน เสนอรับทุนวิจัยขนาดย่อย ผมก็ ไม่ละทิ้งโอกาส  นั้น  เพราะเป็นโอกาสหนึ่งในการทำงานชุมชน  ในพื้นที่    ผมชอบ คำว่า  สะพาน  เสมือนเป็นข้อต่อ หรือทางผ่าน เชื่อมโยงให้ใครต่อใคร หรือตัวเอง  เข้าถึงโอกาส   ทำตัวเป็นสะพาน  อาจถูกเหยียบถูกย่ำบ้าง  ถูกลืมบ้าง  ก็ ไม่เป็นไร   ถ้าเขาไปพบโอกาสที่ดี  จริงมั้ย   สะพาน หมายถึง น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง เป็นต้น บางทีทํายื่นลงในนํ้าสําหรับขึ้นลง ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็น สะพาน ไปรู้จักกับพี่สาว ตะพาน ก็ว่า. พวกเรา เลือกเสนอ  โครงการวิจัย  ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนบ้านรงระ   เนื่องจากเราเล็ง  เห็น  ถึงความสำคัญของป่าชุมชน  ที่มีอยู่จำนวน  ๒๐๐  ไร่ ที่ชุมชนรักษาไว้  ถ้า  ไม่สืบสาน  การทำงาน  ให้เยาวชนคนรุ่นหลัง   เด็กอาจมอง  ป่าชุมชนเป็นเพียงต้นไม้    หลายต้

บทเรียน :การทำงานที่บ้านขี้นาค ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่

ผมทำงานพัฒนาชุมชน  ถึงปีนี้ กำลังจะครบ ปีที่  ๑๓  ในวันที่  ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ แสดงว่า  อีกไม่กี่วัน  ก็กำลังจำถึงวันเกิด  ของพวกเรา  ชาวนักพัฒนาชุมชนรุ่นที่   ๗๖ ๑๓  ปีที่ผ่านมา  ผมทำงานแบบลุ่ม  ๆ  ดอน ๆ  ประคอง  ตัว  และปรับตัว  ให้เข้ากับระบบ ราชการ  ผ่านวิกฤติต่าง ๆ  มาพอสมควร   ด้วยความที่ผม ผ่านมุมคิดวิเคราะห์ สังคมไทย ในแบบที่ได้รับการปลูกฝัง  มานานพอสมควร  สมัยเรียนหนังสือระดับปริญญาตรี  ความคิด ทัศคติ  ต่าง ๆ  จึงติดตัวผมมา ปีที่  ๑๓  นี้  ผมคิดว่า  พอมีประสบการณ์  ในการจัดสมดุล  ในชีวิต  ระหว่างความคิดความฝัน ความจริง  และระบบต่าง ๆ  ที่ผมกำลังเผชิญอยู่ ข้อค้นพบหนึ่ง  ที่ทำให้ผมดำรงความสุข  ในการทำงานจนถึงทุกวันนี้   คือ  การทำงานเชิงพื้นที่ การทำงานรูปธรรม ในเชิงพื้นที่ให้สนุก  ให้มีผลงาน  นักพัฒนามีความสุข  ประชาชนได้ประโยชน์ และเรา  ทำงานไปด้วยกันอย่างมีความสุข  ผมดำเนินวิถีการทำงานเชิงพื้นที่ พยายามเกาะเกี่ยวพื้นที่  ให้เหนียวแน่น  และสร้างระบบความสัมพันธ์ ที่เกื้อกูลกัน  แบบนี้เสมอมา   ซึ่งงานหนึ่งที่ผมคิดว่าท้าทาย  ความสามารถ  ในการทำงานของเรา เป็นอยา

จับตา ก้าวย่าง กองทุนหมู่บ้าน

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เดินทางก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๓   ในปีนี้ ทันทีที่อัศวินดิจิตอล อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านละ ๑ ล้าน เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เรียกได้ว่า เป็นต้นธารของนโยบายประชานิยมในสังคมไทย ความรู้สึกและอารมณ์ร่วมของคนชนบท ต่างมองเห็นโอกาสและความหวัง   ว่าวันนี้แหละความอยู่ดีกินดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะเดินทางมาทักทายและกระจายจนถึงหัวบันไดบ้าน   “ สร้างรายได้ ขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน ”    คือสโลแกนที่นำมาขับเคลื่อน   นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง                 กองทุนหมู่บ้านมีฐานะ   เป็นกองทุนหมุนเวียน   มีปรัชญาหลัก ในการดำเนินการเพื่อ เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน ทั้งนี้การดำเนินการตามโครงการนี้   มีความมุ่งหมายให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิ