ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งานวิจัย :บนสายการพัฒนา



ปีนี้ กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือราชการ  มาเชิญชวนบุคลากรในสังกัดที่มี
ผลงานการวิจัย  และเอกสารวิชาการ  ที่ดำเนินการในระหว่าง  ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
ถึงปี  พ.ศ.  ๒๕๕๗   เพื่อพิจารณาคัดเลือกไปนำเสนอผลงาน ในมหกรรมตลาด
นัดความรู้  ตามยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ขององค์กร  



๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ผมใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือ ในการทำงานชุมชน เสมอมา
รวมแล้ว ในรอบ ๑๐  ปี ผมทำวิจัย  ๕  เรื่อง กับหน่วยงานที่แตกต่างกัน เช่น
สกว. /สถาบันพระปกเกล้า /ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร/ม.อุบลราชธานี  เป็นต้น
สาเหตุสำคัญที่เลือกใช้วิธีนี้   เรื่องจากการวิจัย  ต้องทำงานข้อมูล  ..........
ทำงานเชิงกระบวนการ  และได้สร้างทีมงานวิจัยในชุมชน  โดยเฉลี่ยระยะเวลา
๑-๒ ปี   ซึ่ง  ผลดังกล่าว  ทำให้ระบบความสัมพันธ์ในชุมชนระหว่าง  คนในชุมชน
กับนักพัฒนา  มันแน่นแฟ้นขึ้น   การทำงานพัฒนา  จึงกลายเป็นว่า สนุกและง่าย



ผมพิจารณาแล้ว  ว่า  ในเวทีนี้  อยากนำเสนอผลงานบ้าง เพราะ ผมมีสต็อกงานวิจัย
ที่ลงมือทำร่วมกับพี่น้องในพื้นที่ ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว พอดี  ดังนั้นเมื่อโอกาส
มาจำเป็นต้องรับ  และทดลอง  ฝึกปรือฝีมือดูบ้าง  เผื่อ  จะได้ผ่านเข้าไปเสนอผลงาน
จะได้รับประสบการณ์ดี  ๆ    อีกไม่นาน  ผมก็จะได้ทำวิทยานิพนธ์แล้ว  การเตรียม
การเพื่อนำเสนอ  และได้ฟังมุมมอง   ของคนอื่น ๆ  คงจะดีไม่น้อย  

โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  กรณีศึกษา
บ้านโพธิ์สามัคคี   ตำบลพิมายเหนือ  อำเภอปรางค์กู่  เป็นโครงการที่ผมจะส่งไปที่
กรมการพัฒนาชุมชน  ซึ่งมีองค์ประกอบของงานวิจัย  ขอให้ท่านช่วยพิจารณา .........
ดังนี้

(๑)ส่วนนำ บทคัดย่อ

(๒)บทที่ ๑  บทที่ ๒  บทที่ ๓  บทที่ ๔  บทที่  ๕

   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้