ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทเรียน :การทำงานที่บ้านขี้นาค ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่

ผมทำงานพัฒนาชุมชน  ถึงปีนี้ กำลังจะครบ ปีที่  ๑๓  ในวันที่  ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗
แสดงว่า  อีกไม่กี่วัน  ก็กำลังจำถึงวันเกิด  ของพวกเรา  ชาวนักพัฒนาชุมชนรุ่นที่   ๗๖
๑๓  ปีที่ผ่านมา  ผมทำงานแบบลุ่ม  ๆ  ดอน ๆ  ประคอง  ตัว  และปรับตัว  ให้เข้ากับระบบ
ราชการ  ผ่านวิกฤติต่าง ๆ  มาพอสมควร   ด้วยความที่ผม ผ่านมุมคิดวิเคราะห์ สังคมไทย
ในแบบที่ได้รับการปลูกฝัง  มานานพอสมควร  สมัยเรียนหนังสือระดับปริญญาตรี  ความคิด
ทัศคติ  ต่าง ๆ  จึงติดตัวผมมา


ปีที่  ๑๓  นี้  ผมคิดว่า  พอมีประสบการณ์  ในการจัดสมดุล  ในชีวิต  ระหว่างความคิดความฝัน
ความจริง  และระบบต่าง ๆ  ที่ผมกำลังเผชิญอยู่

ข้อค้นพบหนึ่ง  ที่ทำให้ผมดำรงความสุข  ในการทำงานจนถึงทุกวันนี้   คือ  การทำงานเชิงพื้นที่
การทำงานรูปธรรม ในเชิงพื้นที่ให้สนุก  ให้มีผลงาน  นักพัฒนามีความสุข  ประชาชนได้ประโยชน์
และเรา  ทำงานไปด้วยกันอย่างมีความสุข 


ผมดำเนินวิถีการทำงานเชิงพื้นที่ พยายามเกาะเกี่ยวพื้นที่  ให้เหนียวแน่น  และสร้างระบบความสัมพันธ์
ที่เกื้อกูลกัน  แบบนี้เสมอมา   ซึ่งงานหนึ่งที่ผมคิดว่าท้าทาย  ความสามารถ  ในการทำงานของเรา
เป็นอยากมาก   แต่ในที่สุด  เราก็  ฟันฝ่าอุปสรรคมา ได้  และถือว่า  การทำงาน  ในครั้งนั้น  อาจเป็น
การวางรากฐาน  อย่างหนึ่ง  ให้ชุมชน  เดินได้  จนถึงทุกวันนี้   ถึงแม้เป็นจุดเล็ก  แต่ก็พอใจเป็นอย่าง
ยิ่งสำหรับตัวผมเอง


ปี  ๒๕๕๕  ผมและทีมทำงานชุมชนบ้านขี้นาค  ได้ร่วมกันมำโครงการ  ศึกษารูปแบบการฟื้นฟู ภูมิปัญญา  ภาษา  วัฒนธรรมชาวกูย  บ้านขี้นาค  ขึ้น  โดยได้รับงบประมาณ  สนับสนุนจาก ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)   สังกัด กระทรวงวัฒนธรรม   ซึ่งในการทำงานครั้งนั้น
พวกเราได้จัดระบบข้อมูลต่าง  ไว้  อย่างเป็นระบบ  (เท่าที่ความสามารถเราจะทำได้ )

ดังนั้น  เมื่อเทคโนโลยี  ต่าง ๆ  มีความทันสมัย  มากขึ้น  จึงขอ  รวบรวมผลงานดังกล่าวมาเผยแพร่
และฝากไว้ในระบบออนไลน์นี้  ป้องกันการสูญเสียข้อมูลและประกันความเสี่ยง  ให้ผมด้วย 

(๑)ส่วนนำ

(๒)บทที่ ๑

(๓)บทที่ ๒


(๔)บทที่ ๓

(๕)บทที่ ๔

(๖)บทที่ ๕

(๖)ความคิดเห็นของพี่เลี้ยง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้