ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

พัฒนากร พัฒนางาน

"ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง"  เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  ที่ขับเคลื่อนการทำงาน ในตำบลหมู่บ้าน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตาม วิสัยทัศน์การพัฒนา ดังกล่าว  ผมเองทำหน้าที่ ในบทบาท "พัฒนากร" มาเป็นระยะเวลามากกว่า  ๑  ทศวรรษ  (ซึ่งก็คือชื่อเรียกขาน  นักพัฒนาที่สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน  )   คลุกคลีตีโมง กับคนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุน  ให้พี่น้องประชาชน  เกิดการเรียนรู้  ผ่านบทเรียนการพัฒนา  ในรูปแบบต่าง ๆ  เพื่อสร้างคน  สร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน  ผมมีบทเรียนการทำงานในระดับพื้นที่  ที่น่าประทับใจมาแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของชุมชน บ้านไฮน้อย  หมู่ที่ ๕   ตำบลกู่  อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ  หมู่บ้านไฮน้อย เป็นหมู่บ้านชาวกูย ที่ใช้ภาษากูย  ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน   เป็นหมู่บ้านขนาดกลางมีครัวเรือนอาศัยอยู่ประมาณ  ๑๒๐  ครัวเรือน   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้  ห่างจากที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่  ประมาณ  ๘  กิโลเมตร   หมู่บ้านแห่งนี้  มีชื่อเสียงในการผลิตไม้กวาดจากก้านตาล  ประชากรของหมู่บ้านทุกครัวเรือ

ความทรงจำเรื่องห้วยวะ

          พวกเราชาวตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ทราบข่าวว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จะทรงเสด็จราชดำเนินเพื่อตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ฝายตรอกล่าง ตำบลตูม ว่าเป็นระยะเวลาพอสมควร พสกนิกรในพระองค์ท่านรู้สึกปลื้มปิติยินดีเป็นล้นพ้น ต่างฝ่ายต่างเตรียมการ และทำหน้าที่ของตนเอง เพื่อเตรียมการรับเสด็จอย่างเข้มข้น ผมเองทราบข่าวความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่พอสมควร เพราะอาชีพที่ต้องคลุกคลีกับชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนพื้นที่รับเสด็จ คือบ้านตรอก หมู่ที่ ๑๐   ตำบลตูมอำเภอปรางค์กู่ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กมีครัวเรือนอาศัย เพียง ๔๐   ครอบครัว ลักษณะการตั้งบ้านเรือน เรียงรายประชิดติดลำห้วยวะ   ทั้งสองฟากฝั่ง ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ บ้านตรอกมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ในอดีตที่ผ่านมาข่าวสารบ้านตรอกมีน้อยมาก ถึงขั้นอาจเป็นหมู่บ้านที่ถูกลืมเสียด้วยซ้ำไป เพราะอยู่ห่างไกล พอน้ำท่วมนั่นล่ะถึงจะได้ยินข่าวอีกที ถึงการอพยพโยกย้าย คน เครื่องใช้สิ่งของและสัตว์เลี้ยงขึ้นสู่ที่สูง ใช่แล้วล่ะ บ้านตรอกเป็นพื้นที่เฝ้าระวังลำดับที่ ๑   ของอำเภอปรางค์

ฝากโครงร่างวิทยานิพนธุ์ ป้องกัน สำรอง

โครงการวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา นายสรรณ์ญา กระสังข์ ............................................................... ๑.ชื่อเรื่อง การจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย                กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘   ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ๒.หลักสูตรและสาขาที่ทำการวิจัย                 ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ๓.สถานที่วิจัยและเก็บข้อมูล                บ้านรงระ หมู่ที่ ๘   ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ๔.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา            ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำ และวัตถุธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อการเจริญเติบโต มีการสืบพันธุ์ รวมทั้งให้ผลิตผล และบริการ ที่จำเป็นต่อมนุษย์ ป่าไม้มีคุณค่า และความสำคัญ ที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติ ทั้งทางตรง และทางอ้อมอเนกประการ ทั้งในด้านคุณค่าทางวัตถุที่ได้จากป่าไม้เพื่อประโยชน์ใช้สอย ป่าไม้ให้ประโยชน์ทางตรงในด้านการเป็นแหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อย