ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฝากโครงร่างวิทยานิพนธุ์ ป้องกัน สำรอง



โครงการวิทยานิพนธ์
ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
นายสรรณ์ญา กระสังข์
...............................................................
๑.ชื่อเรื่อง การจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย
              กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๒.หลักสูตรและสาขาที่ทำการวิจัย
               ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
๓.สถานที่วิจัยและเก็บข้อมูล
              บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๔.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
          ป่าไม้ คือ สังคมของต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำ และวัตถุธาตุต่างๆ ในดิน เพื่อการเจริญเติบโต มีการสืบพันธุ์ รวมทั้งให้ผลิตผล และบริการ ที่จำเป็นต่อมนุษย์ ป่าไม้มีคุณค่า และความสำคัญ ที่ให้ประโยชน์แก่มนุษยชาติ ทั้งทางตรง และทางอ้อมอเนกประการ ทั้งในด้านคุณค่าทางวัตถุที่ได้จากป่าไม้เพื่อประโยชน์ใช้สอย ป่าไม้ให้ประโยชน์ทางตรงในด้านการเป็นแหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
          สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการสำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมของกรมป่าไม้ พบว่า ประเทศไทยทั้งประเทศมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่ ๘๑,๐๗๖,๔๒๘ ไร่ หรือร้อยละ  ๒๕.๒๘  ของเนื้อที่ประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ป่าไม้อยู่เพียง ๑๓,๑๑๔,๙๔๘ ไร่ หรือร้อยละ ๑๒.๔๓  ของพื้นที่ภาค สถานการณ์ด้านทรัพยากรป่าไม้ของภาคอีสาน กล่าวได้ว่าเข้าสู่ภาวะวิกฤติรุนแรง ดังจะเห็นได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรป่าไม้ในแต่ละช่วงเวลา โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งสิ้น ๔๔,๓๑๕,๐๐๐  ไร่ หรือร้อยละ ๔๑.๙๔   ของพื้นที่ภาค  ลดลงเหลือประมาณ  ๑๓.๑๑  ล้านไร่ หรือร้อยละ  ๑๒.๔๓  ของพื้นที่ภาค ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑  จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดตามลำดับในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ชัยภูมิ เลย  นครราชสีมา อุดรธานี  สกลนคร มุกดาหาร และขอนแก่น แต่จังหวัดที่มีป่าไม้ต่อพื้นที่มากที่สุดคือ จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ  ๓๑.๑๙  ของพื้นที่จังหวัด จังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุด คือ มหาสารคาม เพียงร้อยละ  ๐.๖๒ ของพื้นที่จังหวัด (สนั่น ชูสกุล :๒๕๔๖: ๗๒)
          จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ป่าไม้ จำนวน ๑,๖๓๙,๑๑๒ ไร่ หรือประมาณ ๒,๖๒๒,๕๓ ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ ๓๐  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่ป่าที่ประกาศเป็นเขตป่าสงวนจำนวน  ๒๕  แห่ง รวมพื้นที่ ๑,๒๔๗,๓๑๒ ไร่ และเตรียมประกาศเป็นป่าสงวนอีก ๔ แห่ง นอกจากนั้นจะเป็นป่าขนาดเล็ก ป่าสาธารณะ ดอนปู่ตา ป้าช้า และป่าช้าก่อนสร้างวัด(นายทวีชัย ใจพร :๒๕๕๒: ๖ ) จากสถานการณ์ดังกล่าวจะพบว่า ป่าไม้ในพื้นที่กำลังลดลง ในเชิงพื้นที่ และในระดับชุมชนต่าง ๆ  ป่าไม้ในชุมชนก็มีแนวโน้มที่จะลดลงเช่นกัน 
          บ้านรงระ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อทางด้านทิศเหนือติดกับตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน ทิศใต้ติดกับบ้านตะเภา ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ ทิศตะวันออกติดกับบ้านขี้นาค ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ ทิศตะวันตกติดกับตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ ชาวบ้านรงระประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก การเลี้ยงโคกระบือ การทอผ้าไหม การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคและจำหน่ายให้หมู่บ้านข้างเคียงเป็นอาชีพเสริมหลังจากฤดูการทำนา
ลักษณะการดำรงชีวิตของชุมชนชาวกูยบ้านรงระ เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ มีชีวิตที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับป่าชุมชน พึ่งพาอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในป่าชุมชนเป็นแหล่งอาหารของชุมชน เช่น การเก็บเห็ด ผักพื้นบ้าน มันแซง หน่อไม้ กบ เขียด มาบริโภคในครัวเรือนหากมีเหลือมากก็จะนำมาขายเป็นรายได้เสริม เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะไปเก็บสมุนไพรในป่าชุมชนที่มีอยู่อย่างหลากหลายมารักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น นอกจากนั้นป่าเป็นแหล่งพลังงาน  ที่ให้เชื้อเพลิง  จากกิ่งไม้แห้ง หรือเศษไม้ในป่าชุมชน เพื่อมาทำฟืนหุงต้มในครัวเรือน
หมู่บ้านรงระ มีพื้นที่ป่าชุมชน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เป็นป่าเต็งรังมีพื้นที่จำนวน ๒๐๐  ไร่  หมู่บ้านมีการใช้ประโยชน์จากป่า ชาวบ้านจึงเห็นความสำคัญในการที่จะต้องดูแลรักษาป่าให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ในการบริหารจัดการป่าชุมชน  ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน  นอกจากนั้น พบว่าชุมชน  มีการบริหารจัดการเป็นอย่างดีโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการป่าชุมชน ประกอบด้วยผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำอย่างไม่เป็นทางการเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง จัดทำแผนการบริหารจัดการป่าชุมชนเช่น การจัดทำป้ายประกาศเขตแนวป่าชุมชน การจัดประชาคมเพื่อจัดทำกฎกติกาการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน การจัดเวรยามเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม
จากการดำเนินการ ภายใต้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรดังกล่าว พบว่า หมู่บ้านรงระ มีการจัดการป่าชุมชนบนฐานของวัฒนธรรมชาวกูย และสืบทอดแนวคิดในการจัดการป่าจากรุ่นสู่รุ่น จนสามรถผลิตซ้ำทางความคิด สร้างจิตสำนึกร่วมกันของคนในชุมชน ให้มีบทบาทในการดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกัน  จนสามารถทำให้ป่าดำรงอยู่ได้  จากสถานการณ์ดังกล่าว นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของชุมชน เป็นแนวคิดที่ถ่ายทอดจิตสำนึกสู่เยาวชน สร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ได้อย่างไม่ขาดช่วง เป็นศักยภาพที่สำคัญของชุมชน จึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินการ ศึกษา การจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย
 กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ขึ้น


๕.วัตถุประสงค์การวิจัย
          ๕.๑เพื่อศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
          ๕.๒เพื่อศึกษา พัฒนาการความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญ และการจัดการป่าชุมชน บ้านรงระ  หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
          ๕.๓ เพื่อศึกษาการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชุมชนชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๖.ความสำคัญของการวิจัย
          การวิจัยการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย  กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มีความสำคัญเนื่องจากชุมชนบ้านรงระ  มีภูมิปัญญาองค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชน  สู่ต่อจากรุ่นสู่รุ่น เป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลาน  ซึ่งผืนป่าชุมชนจำนวน  ๒๐๐  ไร่ แห่งนี้ สามารถดำรงอยู่ได้ถึงทุกวันนี้  ก็เพราะภูมิปัญญา  และความสามารถในการจัดการป่าชุมชน  บนฐานวัฒนธรรมชาวกูย ซึ่งคติความเชื่อ  ตัวตน  อัตลักษณ์  ความเป็นชาวกูยนี่ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถธำรงรักษา  สาธาณสมบัติที่มีคุณค่า  ให้คงอยู่  คู่ชุมชน  หากไม่มีการศึกษาวิจัย  และจัดการองค์ความรู้แล้ว  ก็จะไม่มีการสืบทอดหรือสืบสานภูมิปัญญา  ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  และในท้ายที่สุด ป่าชุมชนผืนนี้  อาจไม่คงอยู่  อาจถูกบุกเบิกพื้นที่เพื่อทำการเกษตรในอนาคตก็เป็นได้ 
          ดังนั้น การวิจัยการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย  กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จึงนับเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างเร่งด่วนที่ต้องรีบ ดำเนินการและศึกษาวิจัย เพื่อให้บรรลุผลการศึกษา และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  และเกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับชุมชนต่อไป 
๗.ระเบียบวิธีการวิจัย
          ในการศึกษาการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชาวกูย  กรณีศึกษา บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพ ใช้แนวทางการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย และเครื่องมือการวิจัยอื่น ๆ  ในการดำเนินการ กำหนดขั้นตอนในการศึกษา ดังนี้
          ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรงระ หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน  ๘๔  ครัวเรือน จำนวน     คน  จำแนกเป็นเพศชาย    คน  เพศหญิง       คน 
          กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ผู้นำชุมชนบ้านรงระ จำนวน    คน คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านรงระ จำนวน ๒๕  คน  ผู้อาวุโสในชุมชนบ้านรงระ จำนวน ๕  คน  กลุ่มเยาวชนบ้านรงระ จำนวน  ๕ คน  รวมจำนวน ๔๐  คน   

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
           ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เครื่องมือในการศึกษา เพื่อศึกษาค้นหาข้อมูล ตามประเด็นศึกษาที่กำหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
           ๑ การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เตรียมแนวคำถามหลัก และซักซ้อมสร้างความเข้าใจในแนวคำถามหลัก ตามประเด็นที่ได้รับมอบหมาย ไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล โดยในการใช้การสัมภาษณ์ได้แบ่งความรับผิดชอบของคนในทีมให้มีผู้ทำหน้าที่สัมภาษณ์ตามประเด็นคำถาม และแบ่งหน้าที่ในการจดบันทึก และถ่ายรูปภาพ ในการสัมภาษณ์ โดยในทีมเก็บข้อมูล จะช่วยการตรวจสอบความสมบูรณ์ ของตัวข้อมูลให้ได้ข้อมูลครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ 
           ๒ การสำรวจป่าชุมชน ทีมวิจัยใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านภูมิประเทศ และทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน โดยทีมวิจัย จะใช้วิธีการเดินสำรวจเพื่อสัมผัสพื้นที่จริง ให้ผู้อาวุโสคอยบอกกล่าวเล่าเรื่องราว ตามสภาพที่ออกสำรวจ และจดบันทึกข้อมูล หลังจากนั้นทีมวิจัย จะได้ร่วมกันร่างข้อมูลชุมชน แบบกระดาษ  ตามชนิดของข้อมูล เช่น  แผนที่ทรัพยากรป่าชุมชน  เป็นต้น
           ๓.การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมกลุ่มย่อยทีมวิจัย มักใช้ในกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและการสรุปข้อมูล โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายที่มีความเกี่ยวข้อง จำนวน  ๑๕-๓๐  คน  เพื่อมาศึกษาข้อมูล สืบค้นข้อมูล ตามประเด็นวิจัยที่กำหนด  ส่วนมากใช้ในกิจกรรมการศึกษาการบริหารจัดการป่าชุมชน และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 
          วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
          การศึกษาครั้งนี้ ได้ดำเนินการศึกษา ซึ่งแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ
                    ๑. ขั้นเตรียมการ
                   ดำเนินการในขั้นเตรียมการนี้ เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่จะมาร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย การเตรียมชุมชน การเตรียมทีมวิจัยชุมชน สร้างความเข้าใจแกนนำในชุมชน คณะกรรมการกลุ่มองค์กรทางการเงินชุมชน และสมาชิกกลุ่มองค์กรทางการเงินชุมชน โดยมีกิจกรรมดำเนินการดังนี้
                             ๑. เตรียมทีมวิจัย/คณะที่ปรึกษา โดยการจัดประชุมสร้างทีมวิจัย เรียนรู้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และประชุมทีมวิจัยเพื่อพัฒนา ออกแบบเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการวิจัยเพื่อสร้างเข้าใจร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในงานวิจัย ฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพ ในการเก็บข้อมูล และออกแบบเครื่องมือในการศึกษา
                             ๒. เตรียมชุมชน โดยการประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการวิจัยแก่ชุมชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานวิจัย เพื่อให้หมู่บ้านมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย ทุกขั้นตอน 
                    ๒. ขั้นตอนการศึกษารวบรวมข้อมูล โดยมีข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
                             ๒.๑ ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการรวบรวมเอกสารมือสองและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัย ได้แก่ แนวคิดการจัดการป่าชุมชน แนวคิดการมีส่วนร่วม แนวคิดธนาคารต้นไม้ และข้อมูลบริบทชุมชนบ้านรงระ โดยจะทำการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือ วารสาร เว็บไซด์ เป็นต้น
                             ๒.๒ ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ต้องรวบรวมจากภาคสนาม จากกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษา ตามขอบเขตเนื้อหาดังต่อไปนี้
                    ๒.๒.๑ ศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้านบริบทชุมชน เป็นการศึกษาในประเด็นด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้นำชุมชน ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนภายในชุมชน วิถีการทำมาหากิน เศรษฐกิจชุมชน และฐานทรัพยากร รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนาอื่นๆในชุมชนที่เกี่ยวข้อง

                                       ๒.๒ ศึกษา พัฒนาการความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญ และการจัดการป่าชุมชน บ้านรงระ  หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้าน พัฒนาการความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญ และการจัดการป่าชุมชน ทรัพยากรป่าชุมชน ศึกษาข้อมูลฐานทรัพยากรป่าชุมชน ด้านแหล่งอาหาร พลังงาน สมุนไพร  การใช้ประโยชน์  ป่าชุมชน ปัญหาอุปสรรคการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน 
                                       ๒.๓ ศึกษาการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชุมชนชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้านการบริหารจัดการป่าชุมชน ศึกษาด้านโครงสร้างองค์กร ป่าชุมชนบ้านรงระ การบริหารจัดการป่าชุมชน กฎกติกา ระเบียบข้อบังคับ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการป่าชุมชน ประวัติศาสตร์ป่าชุมชน ความเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบัน

          การประมวลและการวิเคราะห์ข้อมูล
         
ประชุม รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูลตามประเด็นศึกษา และคืนข้อมูลให้ชุมชน   เป็นการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล ในระดับทีมวิจัยและที่ปรึกษา และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันกับชุมชน การกำหนดแนวทางแผนงานของชุมชนและกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ 



๘.ขอบเขตการวิจัย
          ขอบเขตเชิงพื้นที่
                    -บ้านรงระ  หมู่ที่ ๘  ตำบลตูม   อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ   
          ขอบเขตเชิงเนื้อหา
๑ ศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้านบริบทชุมชน เป็นการศึกษาในประเด็นด้านวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้นำชุมชน ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนภายในชุมชน วิถีการทำมาหากิน เศรษฐกิจชุมชน และฐานทรัพยากร รวมทั้งกิจกรรมการพัฒนาอื่นๆในชุมชนที่เกี่ยวข้อง
                   ๒.ศึกษา พัฒนาการความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญ และการจัดการป่าชุมชน บ้านรงระ  หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้าน พัฒนาการความเป็นมา คุณค่า ความสำคัญ และการจัดการป่าชุมชน ทรัพยากรป่าชุมชน ศึกษาข้อมูลฐานทรัพยากรป่าชุมชน ด้านแหล่งอาหาร พลังงาน สมุนไพร  การใช้ประโยชน์  ป่าชุมชน ปัญหาอุปสรรคการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน 
                    ๓. ศึกษาการจัดการป่าชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชุมชนชาวกูยบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย เนื้อหาด้านการบริหารจัดการป่าชุมชน ศึกษาด้านโครงสร้างองค์กร ป่าชุมชนบ้านรงระ การบริหารจัดการป่าชุมชน กฎกติกา ระเบียบข้อบังคับ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการป่าชุมชน ประวัติศาสตร์ป่าชุมชน ความเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบัน
๙.ระยะเวลาในการทำวิจัย
          ดำเนินการวิจัยในปีการศึกษาที่ ๒ /๒๕๕๘ 
๑๐.แผนการดำเนินการวิจัย
          การดำเนินการศึกษา ครั้งนี้ ได้กำหนดแผนการดำเนินการดังนี้
          ๑๐.๑ การจัดทำข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ เพื่อขอรับการอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์จาก บัณฑิตศึกษา 
          ๑๐.๒ ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตามประเด็นการศึกษา
          ๑๐.๓ รวบรวมข้อมูลดำเนินการศึกษาตามประเด็น ขอบเขตการวิจัย ที่กำหนด
          ๑๐.๔ วิเคราะห์ผลการศึกษา ตามประเด็น ขอบเขตการวิจัย ที่กำหนด
          ๑๐.๕ จัดทำรายงานผงการศึกษา ตามประเด็น ขอบเขตการวิจัย ที่กำหนด

๑๑.บรรณานุกรม
          นายทวีชัย ใจพร.๒๕๕๒.การจัดการป่าชุมชน : กรณีศึกษาบ้านโนนหนองสิม ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ.มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
          นายสนั่น ชูสกุล.๒๕๔๖.สิทธิชุมชนศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
          นายสมพร พิมสาร.๒๕๔๙.การจัดการป่าชุมชนของบ้านป่าลัน หมู่ที่ ๕ ตำบลปงน้อย กิ่งอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย.มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
๑๒.ประวัติย่อของนักวิจัย
นายสรรณ์ญา กระสังข์ (Mr.Sanya Krasang)
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 
          สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๗๓ หมู่ ๗ ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ๓๓๑๗๐   โทรศัพท์มือถือ ๐๘ ๗๔๗๔ ๒๒๗๓
E-mail: sanyaa๐๕@yahoo.com
ปริญญาตรี       รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิชาที่ชำนาญ รัฐศาสตร์,  วัฒนธรรมศึกษา,  สังคมศาสตร์,  ชุมชน
                                            ท้องถิ่น,  การบริหาร,  มานุษยศาสตร์
ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
                             -  การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษา ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชาวกูย (ทุนสนับสนุนการวิจัย
                                ประจำปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ ของของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)   
-  ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านโพธิ์สามัคคี หมู่ที่ 
     ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า 
    ปี ๒๕๕๕)
-   ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชนโดยกลุ่มเยาวชน บ้านรงระ หมู่ที่   
     ตำบลตูม  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  (สนับสนุนโดยองค์กรเพื่อการพัฒนา
     ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการสะพาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี
      ๒๕๕๕)
-     การจัดการความรู้เพื่อการพึ่งตนเองของชาวกูยตำบลตูม  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัด
      ศรีสะเกษ  (สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ปี ๒๕๕๖)
ผู้ร่วมวิจัย
-                    ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ (ทุนเปิดรับทั่วไปประจำปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๔ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)   
-                    รูปแบบการบริหารจัดการองค์กรทางการเงินชุมชนเพื่อจัดสวัสดิการชุมชน บ้านรงระ ตำบลตูม  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ, (ทุนสนับสนุนการวิจัยประจำปี ๒๕๕๔ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้