ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความทรงจำเรื่องห้วยวะ



          พวกเราชาวตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ทราบข่าวว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จะทรงเสด็จราชดำเนินเพื่อตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ฝายตรอกล่าง ตำบลตูม ว่าเป็นระยะเวลาพอสมควร พสกนิกรในพระองค์ท่านรู้สึกปลื้มปิติยินดีเป็นล้นพ้น ต่างฝ่ายต่างเตรียมการ และทำหน้าที่ของตนเอง เพื่อเตรียมการรับเสด็จอย่างเข้มข้น ผมเองทราบข่าวความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่พอสมควร เพราะอาชีพที่ต้องคลุกคลีกับชุมชนท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนพื้นที่รับเสด็จ คือบ้านตรอก หมู่ที่ ๑๐  ตำบลตูมอำเภอปรางค์กู่ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กมีครัวเรือนอาศัย เพียง ๔๐  ครอบครัว ลักษณะการตั้งบ้านเรือน เรียงรายประชิดติดลำห้วยวะ  ทั้งสองฟากฝั่ง ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ บ้านตรอกมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ในอดีตที่ผ่านมาข่าวสารบ้านตรอกมีน้อยมาก ถึงขั้นอาจเป็นหมู่บ้านที่ถูกลืมเสียด้วยซ้ำไป เพราะอยู่ห่างไกล พอน้ำท่วมนั่นล่ะถึงจะได้ยินข่าวอีกที ถึงการอพยพโยกย้าย คน เครื่องใช้สิ่งของและสัตว์เลี้ยงขึ้นสู่ที่สูง ใช่แล้วล่ะ บ้านตรอกเป็นพื้นที่เฝ้าระวังลำดับที่ ๑  ของอำเภอปรางค์กู่ ในการเฝ้าระวังภัยพิบัติด้านน้ำท่วม  


          ผมมีความทรงจำร่วมกับลำห้วยวะเสมอมา มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับลำห้วยแห่งนี้ ตั้งเด็กจนกระทั่งปัจจุบัน ในวัยเด็กจำได้ว่า ห้วยวะแห่งนี้ เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีปลาหลากหลายชนิด โดยเฉพาะปลาคาว ในภาษากูยที่เรียกว่า  กาหวา  มีเป็นจำนวนมาก และได้ข่าวสารอย่างต่อเนื่องว่า  คนบ้านเรา จับปลาคาวได้อย่างต่อเนื่อง  วันนี้  ถึงแม้ปลาคาว จะทยอย เงียบหายไป แต่ความสำคัญของลำห้วยวะ ก็มิได้ลดน้อยถอยลง แต่อย่างใด  ลำห้วยวะในวันนี้ เปลี่ยนแปลงสภาพไปมากพอสมควร  จะโครงการพัฒนาลำห้วยวะ จากหน่วยงานราชการ  มีการตัดถนนสายใหม่เลียบห้วยวะ  สามารถขับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์สัญจรไปมา สะดวกกว่า ยุคก่อนเก่า วันดีคืนดี วันที่อากาศเย็นสบาย และมีงานภาคสนาม ผมมักขี่มอเตอร์ไซด์บ้างก็จักรยาน ลัดเลียบตามลำห้วยวะ  จากฝายบ้านขี้นาค ไปฝายบ้านตรอกตอนล่าง ฝายบ้านตรอกตอนบน ตัดเชื่อมไปสู่ ถนนเส้นหลัก สายปรางค์กู่ –ห้วยทับทัน  บรรยากาศสองข้างทาง ร่มรื่นชื่นจิตใจมาก มีต้นไม้ยางนา ดู่ ขี้เหล็ก และต้นตาล สูงสล้าง  สร้างประโยชน์  ให้พื้นที่เป็นอย่างดี 


          โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลำห้วยวะ  เกิดขึ้นโดยการดำเนินการตามแนวทางโครงการพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพ ฯ  โดยกรมชลประทาน มูลนิธิชัยพัฒนา และสำนักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นเจ้าภาพหลักขุดลอก ลำห้วยวะ  ให้สามารถเก็บกักน้ำในการเกษตร โดยสามารถเป็นพื้นที่รับน้ำได้มากกว่า  ๑ แสนลูกบาศก์เมตร เกษตรกรได้รับประโยชน์มากกว่า  ๒๐๐  ครอบครัว นี่เป็นความเป็นมาที่ พระองค์ท่านได้เสร็จมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแห่งนี้  พี่น้องประชาชนและบรรดาข้าราชการหน่วยงานต่าง ๆ  ได้มาเตรียมการในพื้นที่รับเสด็จอย่างพร้อมเพรียงกัน 


          ผมเองมีส่วนร่วมกับการเตรียมการรับเสด็จในครั้งนี้ และมองเห็นความเป็นไป ของการเตรียมพื้นที่รับเสด็จ ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ  ตรงที่ฝ่ายรับผิดชอบ ได้ออกแบบพื้นที่ทรงงาน ให้เป็นแบบถาวร ภายใต้แนวคิดการสร้างพลับพลาที่ประทับและทรงงาน โดยอิงธรรมชาติให้มากที่สุด  เมื่อเสร็จภารกิจรับเสด็จที่แห่งนี้ก็จะเป็นที่ใช้ประโยชน์ของประชาชนในตำบลตูม ภาพอาคารทรงงาน ที่ค่อย ๆ  เป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาทีละนิดที่ละน้อยโดยการ ออกแบบของกรมชลประทาน และ อบต.ตูม เป็นเจ้าภาพในด้านการจัดหางบประมาณ ภาพอาคารโดมคู่ ริมห้วยวะ  มุงด้วยหญ้าแฝก และตกแต่งผนังด้วยลำไผ่และจัดดอกไม้ตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นภาพที่สวยงามประทับใจเป็นอย่างยิ่ง  ต้องชื่นชมคณะผู้เตรียมงานที่ออกแบบ พลับพลาที่ประทับอย่างงดงามสมพระเกียรติ เป็นที่ประทับใจของพสกนิกรในพระองค์ท่าน  ที่มารับเสด็จในครั้งนี้ 
 


          เช้าวันที่ ๒๙  ตุลาคม ๒๕๕๙   วันที่รอคอยของชาวตำบลตูม ก็มาถึง ผมตื่นแต่เช้า ควบมอเตอร์ไซด์คู่ใจ ออกจากบ้านเพื่อเข้าพื้นที่รับเสด็จ ประชาชนเดินทางไปสู่จุดรับเสด็จที่ ฝายบ้านตรอกตอนล่าง กันอย่างคึกคักบ้างก็เดินด้วยเท้า บ้างก็มอเตอร์ไซด์ และรถกระบะ  เวลาหกโมงเช้าประชาชนก็มาถึงพื้นที่อย่างหนาตาและทยอยเข้าสู่พื้นที่ เดินผ่านเครื่องสแกน เข้าสู่พื้นที่ ประชาชนต่างจับจองพื้นที่เพื่อรับเสด็จอย่างใกล้ชิด ภารกิจงานที่ผมและคณะได้รับการมอบหมาย ในวันนี้ คือการจัดเตรียมสิ่งของทูลเกล้าถวายแด่พระองค์ท่าน เมื่อไปประจำที่จุดลงทะเบียน พี่น้องประชาชนทยอยนำสิ่งของมา ลงทะเบียนเพื่อเตรียมทูลเกล้าถวาย  เบื้องต้น  มีผู้ลงทะเบียน จำนวน  ๖๙ ราย ส่วนใหญ่เป็น ผ้าไหมทอมือ พระพุทธรูป เป็นต้น หลังจากนั้นไม่นานนัก  สายธารของพี่น้องก็หลั่งไหลมา ทูลเกล้าถวายสิ่งของเพิ่มเติมอย่างไม่ขาดสาย ทั้ง ข้าวสารไรเบอรี่ ไก่ย่างห้วยทับทันอันเลื่องชื่อ รวมสิ่งของทูลเกล้าถวาย จำนวน  ๑๔๘  ชิ้น  นับเป็นความปลาบปลื้มของพี่น้องที่ทูลเกล้าถวายสิ่งของ ที่พระองค์มารับของทูลเกล้า และได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด 

          นางสาวศรีไพร ปรือปรัง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ที่ไปร่วมเข้าเฝ้าในภารกิจการจัดเตรียมสิ่งของทูลเกล้าถวาย เล่าว่า ปลาบปลื้ม ยินดีอย่างยิ่งที่ได้มารับเสด็จอย่างใกล้ชิด และประทับใจการจัดเตรียมพื้นที่รับเสด็จที่มีความสวยงามสมพระเกียรติ โดยเฉพาะพลับพลาที่ประทับ ทรงงาน มีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง คาดหวังอยากให้ พัฒนาสถานที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้ประชาชนมาท่องเที่ยวตามรอยเสด็จพระองค์ท่าน โดยน่าจะมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มเติม อย่างสวยงาม เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดการน้ำเพื่อชุมชน  








             การรับเสด็จครั้งสำคัญในครั้งนี้ ประชาชนมีความตื่นตัวอย่างสูง และเป็นโอกาสหนึ่งที่ภาพความงดงาม ของชาวตำบลตูม ได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะอย่างกว้างขวาง ลำห้วยวะ ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ ที่มีความสวยงามและต่อยอดสู่การใช้ศักยภาพของพื้นที่อย่างเหมาะสม  อาคารพลับพลาที่ประทับทรงงานของสมเด็จพระเทพ ฯ รูปโดมคู่เคียงคู่ลำห้วยวะ คงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ที่บ่งบอกว่า ต่อไปนี้ ลำห้วยวะ คงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิถีชีวิตของชาวตำบลตูม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  และที่นี่  จะเป็น Land Mark   ของชาวตำบลตูมที่ใคร ๆ  ก็จะกล่าวถึงและอยากมาเยี่ยมชม   
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้