ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กะลาแลนด์



                                                กะลาแลนด์
                                                                                     
          (๑)ไม่รู้จะเรียกที่อยู่ของเราว่าอย่างไร  เปรียบเปรยแบบไหน ถึงจะเหมาะสมกับ ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ ก่อนอื่นขอเท้าความเล่าความเป็นมาสักนิดว่า พื้นที่หรือปริมณฑลแห่งนี้ เป็นแดนเสรี  เราอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค สันติ เป็นธรรม มองคนอย่างเท่าเทียมกัน ถึงจะมีชั้นยศบ้าง แต่ทุกคนเคารพความคิดของกันและกัน  ไม่มีการเข่นฆ่ากันทางความคิด  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ดินแดนแห่งนี้  จึงเต็มไปด้วยคนคิดฝัน คนจินตนาการ  คนมีความหวัง  ถึงความเจริญก้าวหน้า ที่จะบังเกิดขึ้น    ปริมณฑลแห่งนี้ 
          (๒) การเดินทางสู่ความหวัง  คงไม่สะดุดหยุดลง  หากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ขึ้น     ปริมณฑลแห่งนี้  ความเปลี่ยนแปลงที่ว่า ได้เกิดขึ้นเมื่อโหรประจำปริมณฑล ได้เสนอให้ปรับเปลี่ยน  ชื่อเมืองเสียใหม่  เรียกขานดินแดนแห่งนี้ว่า  กะลาแลนด์ เพราะท่านนิมิตว่า  ดวงเมืองกำลังตกอยู่ ในภาวะวิปริตผิดประเภท  เหตุเภทภัยจะบังเกิดขึ้น แก่ดวงเมือง  จึงต้องปรับเปลี่ยนสู่ ดินแดนใหม่  ดังที่ว่า  
          (๓) เมืองนี้คงถึงคราวดวงอับ จริง ๆ  สังเกตเห็นว่า  ประชากรของปริมณฑลดูซึมเศร้า แววตาไร้ประกายหวัง เดินไหล่ตก พูดคุยสนทนาน้อยลง ประหยัดถ้อยประหยัดคำ  ประชากรปรับโฉมใหม่ จากร่าเริง เป็นเก็บตัว บางคนถึงกับต้องกบดาน แม้กระทั่งจำศีล  เลยก็มี  รึเมืองนี้ทั้งเมืองจะสูญเสียความเชื่อมั่น  ไปเสียหมดสิ้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเงียบเชียบ ค่อยๆ  ก่อตัวขึ้นอย่างน่า  ตั้งคำถาม ว่าด้วยมูลเหตุ หรือ ปัจจัยอันใดเล่า  ถึงได้นำความเปลี่ยนแปลงสู่ ดินแดนเสรีได้มากมายเพียงนี้  
          (๔)สภาพภูมิอากาศและฝนฟ้า  ก็ยังคงดีอยู่หรอก  อาหารการกินก็สมบูรณ์พูนสุข หากเทียบกับกาลก่อน และเหตุอันใดเล่า  ถึงได้สร้างความเชื่องช้า และเศร้าซึมให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน  และดินแดนของเรา  นี่หรือปริมณฑลแห่งการเรียนรู้  การเรียนรู้ดำเนินไปได้ตลอดชีวิต ตามความสนใจและอัธยาศัยของปัจเจกบุคคล
          (๕) ความเปลี่ยนแปลง ได้แทรกซึม เข้าไปในทุกอณูของอากาศ เปรียบดุจดัง รังสีอุลตร้าไวโอเลต ที่ฉายแสงทาบทา  มายังผิวโลก  ใครโดนรังสีนี้  จำต้องเป็นบ้าใบ้ ปรับเปลี่ยนบุคลิกท่าทีไปใหม่เสียจนเสียเส้น เปลี่ยนจริต  ไปในทิศทางหลักของประชากร    กะลาแลนด์  เป็นอยู่  มันเป็นรังสีอำมหิต  ใครไม่เคยโดนย่อมไม่รู้ คนที่โดนมาแล้วเท่านั้น  ย่อมรู้รสของการกระอักเลือด  รังสีอำมหิตฟาดมาแสกหน้าอย่างรวดเร็ว ยากนักที่จะต้านทาน   ไว้ได้   ดังนั้น  คำบอกเล่า ปากต่อปาก จากคนหนึ่งสู่คนนั้น  ระบาดไกล  ไวดังไฟลามทุ่ง 
          (๖) ประชากรกะลาแลนด์  จึงหวาดกลัว  รังสีอำมหิต  นั้น  จนอกสั่นขวัญเสีย ถึงแม้ จะยังไม่มีใครรู้  ไม่มีใครเคยพิสูจน์  ว่า เหตุการณ์  หรือเรื่องราวที่เป็นจริงนั้น เป็นเช่นไร    แต่ก็นั่นแหละ  เราเคยชินเสียแล้ว  กับภาพที่ใครก็ไม่รู้ประทับตราไว้ให้  เมื่อได้ลงมือประทับตราให้แล้ว  ก็ยากนัก ที่จะทำให้ตราประทับนั้น   จางจืดไปโดยง่ายดาย  สังคมของเรา มันเป็นสังคมแห่งความรู้กันเสียที่ไหนเล่า ดินแดนนี้  มันเป็นดินแดนที่ใช้ความเชื่อมากกว่าข้อมูล  เราใช้ความเชื่อตัดสินใครต่อใคร  ไปมากโข  กี่มนุษย์แล้ว  ที่ ได้พังพ่าย เสียศูนย์เพราะน้ำคำ หรือวาจาของคน เพียงเพราะ  คนพูด  มีฐานะทางสังคม   มีหน้ามีตาทางสังคม  พูดเช่นไร  ก็มีน้ำหนัก   น่าฟังน่าเชื่อยิ่งนัก      
          (๗) ตลกร้ายที่ขำไม่ออก  เปิดฉากทำการแสดงครั้งแล้วครั้งเล่า    กะลาแลนด์แห่งนี้  ปริมณฑลแห่งนี้ กำหนดกติกาให้ ประชากรวิ่งแข่งขันกัน และทำเวลาให้ได้ตามมาตรฐาน  ที่สภากาละแลนด์กำหนด โดยที่ ไม่ต้องทำความเข้าถึงภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ หรือความเป็นมาใด ๆ  ทั้งสิ้น  ทุกคนต้องทำตามมาตรฐานนี้  ถ้าทำไม่ได้แสดงว่า  คุณไม่มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะยืนอยู่ในดินแดนนี้  คุณจำต้องหลีกทางให้คนอื่น ๆ   มายืนในจุดนี้ทดแทนคุณ  อะไหล่เขามีเป็นพัน ๆ  ชิ้น  ทุกคนในปริมณฑลแห่งนี้เปรียบเสมือนม้าศึก  ที่ต้องออกวิ่งสู่เส้นชัย  เข้าใจถูกแล้วคุณมีหน้าที่วิ่ง  ดินแดนนี้  ไม่ได้ต้องการนักคิด นักจินตนาการ ไม่ใช่สังคมอุดมคติ  อย่ามัวเฟ้อฝันอีกเลย  เขาต้องการ  นักปฏิบัติ  นักทำตามคำสั่ง ที่ห้ามเถียง   หรือถ้าประจบประแจงบ้างนิดหน่อย  จะดีมาก  คำพูดที่ควรออกจากปากมากที่สุด  ควร  เป็นกลุ่มคำที่มีคำสำคัญ  คือ  ครับ  ดีครับ  ได้ครับ  ผมจะลงมือทำอย่างด่วนที่สุด     
          (๘) ความอืมครึม ของปริมณฑล มิเคยจางหาย  มีแต่ความระแวง  และคำกล่าวขาน ถึงรังสีอำมหิต ที่ปรากฏเป็นลำแสงวูบ ๆ  วาบ ๆ  ให้ได้ เห็น  ถี่บ้าง  ห่างบ้างแล้วแต่เหตุปัจจัย  จากความอืมครึม  เดินทางไปสู่พื้นที่แห่งความกลัว   มนุษย์ทุกผู้ทุกรูป ก็มีความกลัวเป็นพื้นฐาน จิตใจที่มีแต่ความขลาดเขลา  มีหรือ  จะกล้าคิดสิ่งที่กล้าหาญ ดังนั้น ทุกคน  จึงยืนอยู่ในจุดที่คิดว่าตัวเองปลอดภัยที่สุด บางทีก็เรียกว่า หดหัวอยู่ในกระดอง นั่นแหละ  ว่ามั้ย
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้