ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสน่ห์ปรางค์กู่



             กล่าวถึง อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ท่านนึกถึงอะไร ผู้เขียนเชื่อว่า หลายท่านอาจจะหยุด และครุ่นคิด เสียนานว่า อำเภอปรางค์กู่ อยู่ส่วนไหนของจังหวัดศรีสะเกษ หนอ หรือไม่ก็พาลคิดถึงภาพในอดีตที่ประทับติดตรึง  ติดหูติดตา มาว่า  ดินแดนแห่งเด็กกินดิน และภาพความแห้งแล้ง  ซึ่งเว็บไซด์พิกิวิเดีย ได้ลงข้อมูลอธิบายความเป็นปรางค์กู่ว่า อำเภอปรางค์กู่ เป็นอำเภอที่มีความแห้งแล้งมากที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย   ในฐานะเป็นชาวปรางค์กู่ ใช้ชีวิตอยู่ในปรางค์กู่ ตั้งแต่เกิดกระทั่ง ชีวิตเดินทางสู่วัยกลางคน  กลับพบว่า  อำเภอปรางค์กู่  นั้นเป็นดินหนึ่งที่มีมนต์เสน่ห์ มีเรื่องราวที่ชวนหลงใหล เยอะเยะมากมาย

  
          อำเภอปรางค์กู่  นั้นเป็นอำเภอขนาดกลาง มีจำนวน ๑๐  ตำบล  ๑๔๑ หมู่บ้าน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของตัวเมืองศรีสะเกษ ห่างจากตัวเมืองราว  ๖๐  กิโลเมตร  ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดำรงอยู่บนฐานแห่งความเรียบง่าย เป็นสังคมแห่งความเกื้อกูล น่าอยู่  สามัคคีมีไมตรีจิต  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้มาปฏิบัติราชการที่นี่  ทุกคนต่างเอ่ยปากชมเชย ถึงวิถีความเป็นปรางค์กู่ ในด้านสังคม ปรางค์กู่ นั้นประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ๓  กลุ่มที่คละเคล้าปะปนกันอยู่  ทั้งชาติพันธุ์เขมร  กูย  และลาว  ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมัครสมาน ร่วมกันบำรุงศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน เป็นอย่างดี 


          ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ความเป็นปรางค์กู่ ได้รับการถ่ายทอดสู่สาธารณะ อย่างแพร่หลาย ผ่านตำรวจวัยเกษียณ ที่มีชื่อว่า หมวดวิชัย สุรยุทธ  ตำรวจป้าปลูกต้นไม้ ที่อุทิศชีวิตเพื่อการปลูกต้นไม้  เป็นเวลามากกว่า  ๒๐  ปี จนเป็นผลให้อำเภอปรางค์กู่ ทั้งอำเภอ โดยเฉพาะ    ข้างทางถนน  ทั้งสายหลัก และสายรอง ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ให้ความร่มรื่น ไปได้พรรณไม้นานาชนิด ทั้งต้นตาล  ต้นยางนา  ต้นขี้เหล็ก จนปัจจุบัน ชาวบ้านได้เกี่ยวเกี่ยวประโยชน์จากการปลูกต้นไม้  และการรณรงค์สร้างแนวคิดการปลูกต้นไม้ทั้งในที่สาธาณะ และพื้นที่ส่วนตัว  จนก่อตัวเป็นกระแสที่น่าสนใจของคนปรางค์กู่  ตามแนวทางการขับเคลื่อนอุดมการณ์ แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองให้เกิดขึ้น   กับพื้นที่อำเภอปรางค์กู่  ปรางค์กู่วันนี้ ไม่มีคราบไคลของความแห้งแล้ง หลงเหลืออยู่ อีกแล้ว ในภาคเกษตรกรรมเราก็มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลายหลาย ด้วยมีพื้นที่ทำนาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในเขตลุ่มน้ำทั้งลำห้วยสำราญ  ลำห้วยแสน  ลำห้วยทับทัน และลำห้วยขนาดเล็กอื่น ๆ  ดังนั้น  ในแต่ละปี เราจึงมี ผลผลิตการเกษตรออกมาอย่างหลากหลาย  เช่น  ข้าวหอมมะลิ มันสำปะหลัง  ยางพารา และสินค้าเกษตรอื่น ๆ   อีกหลากหลาย  อีกทั้ง  การต่อยอดพัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การสร้างอาชีพ  เป็นสินค้า OTOP  ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษ์ 


          สวนเห็ดดอกลำดวน ฟาร์มเห็ดขนาดมาตรฐาน ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่เป็นหน้าเป็นตาของคนปรางค์กู่ ซึ่งตั้งอยู่  เลขที่  ๓๙  หมู่ที่    ตำบลพิมาย  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ คุณสุวิชัย  วงค์ษา  เจ้าของฟาร์มสวนเห็ดดอกลำดวน เป็นหนุ่มใหญ่ที่มีวิสัยทัศน์ มีสำนึกรักท้องถิ่น  ได้ปักหลักสร้างงาน  บนฐานที่ดินของตนเอง  บนเนื้อที่  ๒๐  ไร่  ที่มีการปลูกพืชแบบผสมผสาน อย่างน่าสนใจ  ภายใต้แปลงแห่งนี้  ภายในบริเวณสวนเห็ดดอกลำดวน ประกอบด้วย โรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน  ๕๐  โรงเรือน  สระน้ำ  จำนวน    ลูก ขนาดลูกละ    ไร่  ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ กระท้อน มะพร้าว ต้นยางนา ต้นสัก อื่น ๆ  จำนวน    ไร่  ต้นไม้ล้มลุกและพืชคลุมดิน  เช่น กล้วย มะละกอ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอม กระเทียม ยี่หร่า สาระแหน่ อื่น ๆ จำนวน    ไร่  ผลผลิตหลักของสวนแห่งนี้คือ ดอกเห็ดสด ประกอบด้วย ดอกเห็ดนางฟ้า นางรม เห็ดเป่าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดบด (กระด้าง) เห็ดโคนญี่ปุ่น และเห็ดหอม เฉลี่ยแล้วในแต่ละวันจะมีดอกเห็ดสดจากสวนฯออกสู่ตลาด ประมาณ  ๑๕๐  กิโลกรัม  


            วันนี้  สวนเห็ดดอกลำดวน ยังคงดำเนินกิจการ  และต่อยอดงานอย่างสม่ำเสมอ  และเป็นฟาร์มเปิดที่รองรับ  ให้พี่น้องประชาชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงาน และนำประสบการณ์ไปขยายผล ปฏิบัติเองเพื่อสร้างงานสร้างรายได้  ทางฟาร์มก็ยินดีสนับสนุน  และเป็นกระแสอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ  ในการไปหนุนเสริม  อาชีพหลักของเกษตรกรนอกเหนือจากอาชีพทำนา  

          เรื่องราวความเป็น  วิถีปรางค์กู่  อัตลักษณ์ ตัวตนของชาวปรางค์กู่  นั้นมีอยู่อย่างมากมาย มีเรื่องราวดี ๆ  ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกมากมายในหลายมิติ   ทั้ง  ศิลปวัฒนธรรม  การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง  การท่องเที่ยว  การเกษตรอินทรีย์   ในโอกาสหน้าผู้เขียนจะนำพาท่าน มามองมารู้จักปรางค์กู่  ให้มากยิ่งขึ้น  ซึ่งปรางค์กู่  มีมากไปกว่า  เด็กกินดิน  และความแห้งแล้ง   ครับ  
   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้