ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

เสียงจาก....นักวิจัยท้องถิ่น

ในชีวิตการทำงานนักพัฒนาภาครัฐ   ที่มีชื่อย่อเรียกว่า พัฒนากร เรามีเครื่องมือการทำงานชุมชน กันอย่างหลากหลาย มากมายที่กรมการพัฒนาชุมชน ลงทุนอบรมสร้างความรู้   ติดอาวุธทางปัญญาให้ ก่อนลงไปทำงานจริงกับพื้นที่   ราวปี พ.ศ.๒๕๔๙   ผมจำได้ว่า กรมการพัฒนาชุมชน   คิดหลักสูตรนักพัฒนามืออาชีพ ให้พัฒนากรไปเรียนรู้ ในหลักสูตรระยะยาว   ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ   เนื้อหาสำคัญในหลักสูตร คือการเรียนรู้ แนวคิด   การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ( Par ) ในช่วงหลังมักเรียกขานกันว่า   งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น( CBR ) ในปัจจุบัน พี่ทวีศักดิ์   บัวพร  นักวิจัยท้องถิ่น บ้านห้วยยาง  ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน   นายแสง  สีตะวัน  ผู้ใหญ่บ้านหนองเชียงทูน นักวิจัยท้องถิ่น นำน้องเยาวชน  ทำวิจัยท้องถิ่น                    นับตั้งแต่นั้นมา ผมก็วนเวียน กับการใช้เครื่องมือชิ้นนี้ กับการทำงานชุมชน เสมอมา จนกระทั่งปัจจุบัน ถ้านับฐานข้อมูลสาระบบการวิจัย   ที่ผมร่วมขับเคลื่อนกับชุมชน   ทั้งในฐานะ นักวิจัยร่วม หัวหน้าโครงการวิจัย   หัวหน้าชุดโครงการวิจัย   ผมรับทุนวิจ

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

          ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นั้น   ในแนวคิดการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ   กำหนดกลุ่มงาน หรือแนวทางในการพัฒนาไว้   ๓   กลุ่มก้อนใหญ่   นับตั้งแต่งาน   ด้านการเกษตร   การแปรรูป   และการท่องเที่ยวชุมชน   เป็นเส้นทางสู่หมุดหมายเรื่องการสร้างรายได้ให้ชุมชน   อย่างเป็นกระบวนงานเป็นขั้นเป็นตอน              ผู้เขียนเห็นว่า งานการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนนั้น   ดูเสมือนจะเป็นเรื่องที่เป็นจุดมืดบอด   เท่าที่ลงพื้นที่ทำงานชุมชน   พบว่าคนในพื้นที่ส่วนใหญ่   จะไม่ค่อยใส่ใจในการนำผลผลิตต่างมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจมากนัก   ทั้งๆ   ที่ภูมิปัญญาหรือชุดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของคนในชุมชนก็มีอยู่ไม่น้อย   แต่เราจะคุ้นชินกับการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรออกไปสู่ตลาดโดยตรงมากกว่าการนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน              ดังนั้น ผู้เขียน   จึงการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร   โดยความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน เครือข่ายพัฒนากรคนกล้าคืนถิ่น   คุณมิตร   คนก

เวที วางแผนการขับเคลื่อนงานวิจัยในระยะที่ ๒

บันทึกผลการจัดกิจกรรม  เวทีวางแผนการดำเนินงานโครงการวิจัยชุดสัมมาชีพชุมชนในระยะที่ ๒  วันที่  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๖๑  ณ  บ้านริมห้วย  เมื่อเวลา ๐๙ .๐๐ น.  ที่ประชุมมาร่วมกัน  จากแต่ละพื้นที่  ประกอบด้วย  ทีมวิจัยห้วยยาง ,  ทีมวิจัยหนองสะมอน  ,  ทีมวิจัยโพธิ์สามัคคี  , ทีมวิจัยหนองแวง ,  ทีมวิจัยหนองเชียงทูน   รวมกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  ๒๕  คน  วัตถุประสงค์การประชุม  (๑) เพื่อสร้างการเรียนรู้การผลิตเตาถ่านคุณภาพสูง  (๒)  เพื่อสรุปบทเรียนและวางแนงานวิจัยในระยะที่  ๒  ของทีมวิจัยภายใต้ชุดโครงการสัมมาชีพชุมชนฯ ภาคเช้า  ทางชุดวิจัยสัมมาชีพชุมชน  ได้เชิญ  คุณ  มิตร  คนกล้าคืนถิ่น  มาบรรยายให้ความรู้  กระบวนการเผาถ่าน  เพราะเล็งเห็นว่า  การเผาถ่านจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถหนุน ให้ทีมวิจัยแต่ละพื้นที่สามารถประยุกต์ใช้  ในการต่อยอดให้เกิดการสร้างรายได้ลดรายจ่าย  ตามแนวทางสัมมาชีพ  ส่วนหนึ่งเพราะ  เห็นว่าในพื้นที่วิจัย  จะมีงานในด้าน  การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ  ในกระบวนการเรียนรู้  ในเรื่องการตัดแต่งกิ่ง นั้น  จะทำให้มีกิ่งไม้เหลือ  ดังนั้น   การต่อยอดให้เอากิ่งไม้ขนาดเล็กมา  เผาถ่าน  น่าจะเป็นทางเลื

การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี

การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP   นวัตวิถี            รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๖   มกราคม   ๒๕๖๑ เห็นให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ   ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่   ๑๒   ภายใต้เป้าหมายการนำพาประเทศก้าวข้ามประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ การมีรายได้สูงขึ้น   ก้าวสู่การบรรลุเป้าหมาย “ มั่นคง   มั่งคั่ง ยั่งยืน ” ภายใต้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี   มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   หนึ่งในแผนงานที่จะขับเคลื่อนงานดังกล่าว   คือ   การดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน   OTOP   นวัตวิถี                       การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP นวัติวิถี   นั้นคือการสร้างชุมชนแห่งการท่องเที่ยว ให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวในชุมชน   รายได้หมุนเวียนกระจายสู่ชุมชน   โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP   ให้สามารถยกระดับสู่การจำหน่าย ในชุมชน   ได้และเกิดการหมุนเวียนในชุมชน ให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน หลักการสำคัญของการพัฒนาในด้านนี้   ได้แก่   การดึงเสนอเสน่ห์ชุมชน   ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อนำเสนอสู่นักท่องเที่ยว   และค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานให้เกิดคุณ

การพัฒนาจริยธรรมข้าราชการให้ยั่งยืน

การพัฒนาจริยธรรมข้าราชการให้ยั่งยืน นายสรรณ์ญา กระสังข์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ                      สถานการณ์ของสังคมไทย ณ วันนี้ อยู่ในช่วงระยะเวลาที่ประชาชน มีความตื่นตัวที่จะเข้ามามีบทบาทในกระบวนการทำงานของภาครัฐ มากขึ้นในหลายๆ มิติ โดยเฉพาะสถานการณ์ในด้านการปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น อันเป็นเวลาของชาติ ที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพราะเป็นที่ทราบดีว่า การทุจริต คอรัปชั่นนั้น เป็นภัยร้ายแรง เป็นบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ทั้งในมิติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประจำชาติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ( TI ) ได้ประกาศค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต( CPI ) ปี ๒๕๖๐ ประเทศไทยได้ ๓๗   คะแนน ลำดับดีขึ้นกว่าปีที่แล้วขยับจากลำดับที่ ๑๐๑ ขึ้นไปอยู่ที่ลำดับ ๙๖ จาก ๑๘๐ ประเทศทั่วโลก ผลจากปรากฏการณ์ดังกล่าว นับเป็นผลที่เกิดจากการทำงานรณรงค์สร้างการรับรู้ร่วมกันของประชาชน   โดยองค์กรผู้มีส่วนได้เสียได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในมิติการขับเคลื่อนโดยหน่วยงานภาครัฐ นั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐   มาตรา ๒๗๙   ก

CD : Talent พัฒนากรรุ่นใหม่ท้าทายไทย

          ผมได้ยินข่าวสารจาก กรมการพัฒนาชุมชน มานานพอสมควรกับ โครงการ CD : Talent ซึ่งได้รับฟังมาจาก กลุ่มเพื่อน ๆ อีกทอดหนึ่งว่า ท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (อภิชาติ โตดิลกเวช) ท่านหมายมั่นปั้นมือ ว่าโครงการนี้  จะก่อตัวสร้างพลังพัฒนากรรุ่นใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน  ให้มีพลังโลดแล่นทำงาน ขับเคลื่อนนโยบายกรม  ลงไปสู่ชุมชนอย่างลงตัว  และเกิดพลังเหมาะสมกับภาวะของยุคสมัย            ทันทีที่กรม ฯ  ส่งหนังสือสั่งการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มาสู่พื้นที่  ผมรีบอ่านหนังสืออย่างละเอียด ใจความว่า  จะเปิดโอกาสให้พัฒนากรรุ่นใหม่ ที่มีอายุอานามไม่เกิน  ๔๕  ปี  มีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่ปฏิบัติการของตนเอง มากบ้างน้อยบ้าง สมัครเข้าร่วมโครงการ  เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว  ต้องไปอบรมที่ ศูนย์บ่มเพาะ  จำนวน  ๑๑  แห่งทั่วประเทศไทย  งานนี้กรมฯ  ตั้งเป้า  ไว้ที่  ๖๐๐  คนสำหรับพัฒนากร  รุ่นใหม่ที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ตามแนวทาง วิถีพัฒนากรท้าท้าย           ผมเองตัดสินใจ ส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ทันที เพราะเป็น แนวทางที่ผมชอบและถือปฏิบัติเสมอชอบเรียนรู้งานลักษณะนี้  โดยเฉพาะอ