ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

CD : Talent พัฒนากรรุ่นใหม่ท้าทายไทย


          ผมได้ยินข่าวสารจาก กรมการพัฒนาชุมชน มานานพอสมควรกับ โครงการ CD : Talent ซึ่งได้รับฟังมาจาก กลุ่มเพื่อน ๆ อีกทอดหนึ่งว่า ท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (อภิชาติ โตดิลกเวช) ท่านหมายมั่นปั้นมือ ว่าโครงการนี้  จะก่อตัวสร้างพลังพัฒนากรรุ่นใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน  ให้มีพลังโลดแล่นทำงาน ขับเคลื่อนนโยบายกรม  ลงไปสู่ชุมชนอย่างลงตัว  และเกิดพลังเหมาะสมกับภาวะของยุคสมัย 


          ทันทีที่กรม ฯ  ส่งหนังสือสั่งการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มาสู่พื้นที่  ผมรีบอ่านหนังสืออย่างละเอียด ใจความว่า  จะเปิดโอกาสให้พัฒนากรรุ่นใหม่ ที่มีอายุอานามไม่เกิน  ๔๕  ปี  มีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่ปฏิบัติการของตนเอง มากบ้างน้อยบ้าง สมัครเข้าร่วมโครงการ  เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว  ต้องไปอบรมที่ ศูนย์บ่มเพาะ  จำนวน  ๑๑  แห่งทั่วประเทศไทย  งานนี้กรมฯ  ตั้งเป้า  ไว้ที่  ๖๐๐  คนสำหรับพัฒนากร  รุ่นใหม่ที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ตามแนวทาง วิถีพัฒนากรท้าท้าย

          ผมเองตัดสินใจ ส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ ทันที เพราะเป็น แนวทางที่ผมชอบและถือปฏิบัติเสมอชอบเรียนรู้งานลักษณะนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ได้เรียนรู้ข้ามองค์กร แน่นอนว่า  มันจะช่วยเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น
          เมื่อเดินทางมาถึง   บริเวณอบรม   ผมเห็น  บรรยากาศรอบศูนย์บ่มเพาะแห่งนี้  เสมือนหนึ่งเป็นโอเอซีส เป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์จริงๆ เมื่อเทียบกับแปลงอื่น ที่ดูแห้งแล้ง มีตอซังข้าวจากฤดูกาลผลิตก่อน  ที่นี่มีต้นไม้น้อยใหญ่  มีพืชคลุมดิน มีสระน้ำ แปลงเกษตรแห่งนี้  จัดแจงแบ่งส่วน พื้นที่ให้มีคันคู ปั้นคันนาขนาดใหญ่ เพื่อปลูกไม้ป่านานาชนิด เท่าที่สังเกตด้วยสาย มีไม้ยางนา  พยุง  มะฮอกกะนี  แดง  ดู่ และอีกนับไม่ถ้วน ที่แข่งขันกันชูลำต้นสลอน เบียดแย่งแข่งขันรับแสงแดด ดังนั้น  ไม้แต่ละลำจึงยืนต้นสง่างาม  มองดูสบายตา สวยงามยิ่ง  เรียกว่าผู้ผ่านมาศึกษาดูงานต่างประทับใจเมื่อได้ยล 
          องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ผ่านการเดินทาง ลองผิดลองถูก มาระยะหนึ่ง กว่าความคิดจะตกผลึก และ เป็นจุดขยายความรู้ ให้พวกเราในวันนี้  มันดีมาก ๆ  ผมคิดว่า  แนวทางนี้ล่ะครับ  จะเป็นทางเลือกทางรอดให้สังคมไทย 

          พี่หนึ่ง  คำนึง เจริญศิริ  หนุ่มวัยกลางคน ผู้เป็นเจ้าของสวน เล่าถึงแรงดลใจ  ของการเนรมิตที่แห่งนี้ว่า เขาเริ่มปรับพื้นที่แห่งนี้ เมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา เพราะพี่หนึ่งเอง ได้เรียนรู้ความคิดจากปราชญ์ชาวบ้านคนสำคัญ อีกท่านหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์     พ่อคำเดื่อง ภาษี คือครูต้นแบบ  ที่ปลูกฝัง  และสร้างประกายความคิดให้พี่หนึ่ง  ในอดีตพี่หนึ่งเป็นคนหนุ่มคนหนึ่งที่อยากมีอยากได้  และเข้าไปค้าแรงงานถึงกรุงเทพ ฯ กลับมาบ้านช่วงงานบุญประเพณี  และเทศกาล สำคัญ เช่น ปีใหม่  สงกรานต์   ก็เมามายหัวราน้ำไม่ต่างจากวัยรุ่นขอยุคสมัย  เพียงแต่  ในวันหนึ่ง เขาพบจุดเปลี่ยนของชีวิต   ทัศนคติเปลี่ยน   ชีวิตเปลี่ยน  นับตั้งแต่นั้นมาพี่หนึ่งก็ มุมานะในการสร้างสวนป่า ที่มีความสมบูรณ์แบบ  ในปัจจุบัน  ส่งผลให้ชีวิตพี่หนึ่งพบความสุข  และได้ขยายแนวคิดการปลูกป่า  สู่ชุมชนรอบข้าง  และที่น่า อัศจรรย์ใจ  จริง  คือการขยายผลสู่ชุมชน  ที่พี่หนึ่งสามารถร่วมกับชุมชน  ขับเคลื่อนการใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์  ในอดีตที่มีความว่างเปล่า ให้กลับมาเป็นป่า  เป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันของคนในหมู่บ้าน  ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ในการจัดการแปลง  จัดการระบบน้ำ  จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  ของคนในชุมชน  ให้ลุกขึ้นมา  ทำในสิ่งที่สร้างสรรค์ รักษาดิน  รักษาน้ำ  รักษาป่า  นอกจากนั้น  ยังขยายผลแนวคิดการปลูกป่า  ไปยังปัจเจกบุคคล  อีกหลากหลาย  ในหมู่บ้านละแวกเดียวกัน  

          ผมขอคารวะ  พี่หนึ่ง  คำนึง  เจริญศิริ   ด้วยหัวใจ  ด้วยความจริงใจ 
          ท่านคือที่สุดของนักพัฒนา ที่ลงมือทำให้เห็นผล  อย่างชัดเจน  มีรูปธรรม  ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็นครูของแผ่นดิน 
          เมื่อ กระบวนการตั้งคำถาม ว่าเรามีเป้าหมาย  อะไรบ้างในการมาเรียนรู้  ครั้งนี้  ผมตอบไปว่า มีเป้าหมาย  สำคัญ  ๓  ประการ  คือ  (๑) ผมมาที่นี่เพื่อพักผ่อน  (๒) มาเพื่อซึมซับรับรู้  เปิดประตูประสาททุกบาน  ซึมซับความงดงามของที่นี่  ไปใช้ในชีวิต  (๓)  ผมมาเพื่อเรียนรู้  ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น  ผมประเมินตนเองเมื่อครบหลักสูตรว่า  ได้อะไรมากมายเหลือเกิด  เกิดไอเดีย เกิดความคิด แรงบันดาลใจมากมาย  ผมได้เขียนฝันลงบนกระดาษ แล้ว   เหลือเพียงแค่ ขับเคลื่อนสู่ความจริง  สิ่งหนึ่งที่ ตั้งใจอยากทำคือการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง  และการจัดการระบบน้ำแบบคลองไส้ไก่เพื่อทำเกษตรแบบประณีต  ในพื้นที่เล็ก ๆ และค่อย ๆ  ขยายไปให้มากขึ้น ๆ 


          ในมุมมองของความเป็นนักพัฒนา ผมเห็นว่า  ทิศทางการคิดของกรมการพัฒนาชุมชนในครั้งนี้  น่ายกย่อง และให้เครดิตคนคิดงาน  เพราะงานแบบนี้ เป็น การจัดการศึกษาที่กินได้  จัดการศึกษาแบบส่งเสริมให้ลงมือปฏิบัติการจริง  แล้วนำบทเรียนจากการปฏิบัติการ  เหล่านั้น  มาสังเคราะห์  ให้เห็นบทเรียน  ว่า  สิ่งที่เราลงมือทำนั้น  เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  ได้บทเรียนอะไร  แบบนี้เองที่จะทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดพลัง  และสอดคล้องต้องกันกับกรอบแนวคิดการการจัดการศึกษา  เรียนรู้ยุคใหม่   ถ้าพัฒนากรปรับกระบวนเหล่านี้ ไปใช้  ผมขอยืนยัน อีกหนึ่งเสียว่า  เราเดินมาถูกทาง  ทำดีแล้ว  ทำต่อไป  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้