ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2016

ภูมิปัญญาฝ่าวิกฤติ :การเพาะเห็ดฟางใต้ต้นยางพารา

           การเปลี่ยนแปลงของสภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไม่ทางตรงก็ทางอ้อม โดยเฉพาะราคาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่พึ่งของเกษตรกรบ้านเรา ถ้าปีไหนราคาผลผลิตดีมีราคา ชีวิตเกษตรกร ก็มีความหวัง   มีผลกำไรได้นำเงินไปใช้สอย ไปลงทุน ไปชดใช้หนี้สิน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่เกษตรกรบ้านเรานิยมปลูก คงหนีไม่พ้น   ข้าว อ้อย ยางพารา หลังจากฤดูกาลทำนา บางแห่งก็นิยมปลูกมันสำปะหลัง บางทีก็เรียกว่า   มันซิ่ง ที่เรียกว่ามันซิ่งเพราะปลูกหลังนาอายุเพียง   ๓ เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิต ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่อง   นับตั้งแต่ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา   มีเพียงราคาอ้อย เท่านั้นที่ยืนระยะ รักษาราคาที่สมน้ำสมเนื้อให้เกษตรกร ได้ชื่นใจ เมื่อราคาผลผลิตราคาตกต่ำเช่นนี้ จึงได้เห็นภาพของเกษตรกรที่ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิต ทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต หรือการผลิตพืชชนิดอื่นให้มีความหลากหลายเพื่อประกันความเสี่ยงให้แก่ตัวเอง เพื่อสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน                               ในฉบับนี้ ผู้เขียนขอนำท่านผู้อ่านไปพบกับชุมชนหนึ

สรุปผลการดำเนินการโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี ร่วมกันจัดการปัญหาขยะในชุมชน

สถานการณ์ชุมชน                       บ้านโพธิ์สามัคคี หมู่ที่ ๘   ตำบลพิมายเหนือ   อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ มีประชากรอาศัย    จำนวน ๓๓๒ คน แยกเป็น ชาย ๑๔๙   คน   หญิง   ๑๘๓   คน     ครัวเรือน จำนวน ๑๘๓ ครัวเรือน ลักษณะการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน ๑๒๐   ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ๙๕.๒๓     อาชีพเลี้ยงโค-กระบือ จำนวน   ๑๐๐   ครัวเรือน   คิดเป็นร้อยละ   ๗๙.๓๖ และการปลูกพืชผักสวนครัว   การปลูกยางพารา   มันสำปะหลัง   เป็นอาชีพเสริม นอกจากนั้นประชากรในวัยแรงงานส่วนหนึ่งได้ไปประกอบอาชีพรับจ้างการกรีดยางที่จังหวัด ระยอง และจันทบุรี ตามลำดับ   ลักษณะทางสังคมชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคีเป็นชุมชนในกลุ่มชาติพันธ์ชาวกูย พูดภาษากูย ในการสื่อสารภายในชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านนิยมไปทำบุญตามวัด ตามประเพณีวัฒนธรรมชุมชน โดยมีหลวงพ่อพุธ   วัดบ้านโพธิ์สามัคคี เป็นเจ้าอาวาสเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชุมชน                         หมู่บ้านโพธิ์สามัคคีเป็นชุมชน ที่ประสบปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ของชุมชนยังไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เนื

เยาวชนบ้านพงพรต ทวนเข็มนาฬิกาย้อนเวลาหาความหลัง

ฉบับนี้ มีเรื่องราวของการทำงานเยาวชนมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเนื้องานหนึ่ง  ซึ่งเด็กและเยาวชน ได้ลุกขึ้นมาทำงานร่วมกัน เพื่อศึกษาเรื่องราวของชุมชน  ของพวกเขาเอง เป็นพื้นที่ของการดำเนินโครงการเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ที่ดำเนินโครงการโดย ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พวกเขาคือ  เยาวชนบ้านพงพรต ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รวมตัวกันทำงานเพื่อชุมชนบ้านเกิด การรวมตัวกันในครั้งนี้ นับว่าเป็นการรวมกันของเยาวชนในครั้งแรก ที่มีการคิดอ่านร่วมกันเพื่อทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ ในชุมชน   โครงการ “ ทวนเข็มนาฬิกาย้อนหาเวลาหาความหลัง ” เป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนชาวบ้านพงพรต ร่วมกันคิดค้นขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกันในชุมชน ในครั้งนี้             ที่มา ของการทำกิจกรรมนี้ว่า เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจ ที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ชุมชนอื่น ๆ  ที่มีกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน จนเกิดความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ในหลาย ๆ แห่ง จึงได้ร่วมกัน จัดทำโครงการนี้  ขึ้