ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปผลการดำเนินการโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี ร่วมกันจัดการปัญหาขยะในชุมชน




สถานการณ์ชุมชน
                     บ้านโพธิ์สามัคคี หมู่ที่ ๘  ตำบลพิมายเหนือ  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ มีประชากรอาศัย   จำนวน ๓๓๒ คน แยกเป็น ชาย ๑๔๙  คน  หญิง  ๑๘๓  คน    ครัวเรือน จำนวน ๑๘๓ ครัวเรือน ลักษณะการประกอบอาชีพของคนในชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน ๑๒๐  ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ๙๕.๒๓    อาชีพเลี้ยงโค-กระบือ จำนวน  ๑๐๐  ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ  ๗๙.๓๖ และการปลูกพืชผักสวนครัว  การปลูกยางพารา  มันสำปะหลัง  เป็นอาชีพเสริม นอกจากนั้นประชากรในวัยแรงงานส่วนหนึ่งได้ไปประกอบอาชีพรับจ้างการกรีดยางที่จังหวัด ระยอง และจันทบุรี ตามลำดับ  ลักษณะทางสังคมชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคีเป็นชุมชนในกลุ่มชาติพันธ์ชาวกูย พูดภาษากูย ในการสื่อสารภายในชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านนิยมไปทำบุญตามวัด ตามประเพณีวัฒนธรรมชุมชน โดยมีหลวงพ่อพุธ  วัดบ้านโพธิ์สามัคคี เป็นเจ้าอาวาสเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชุมชน

 
                    หมู่บ้านโพธิ์สามัคคีเป็นชุมชน ที่ประสบปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ของชุมชนยังไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เนื่องจาก ขาดการวางแผนร่วมกันทั้งลักษณะของผังหมู่บ้าน ขาดการวางแผนร่วมกันในการทำทางระบายน้ำในหมู่บ้าน  ขาดการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด ขาดการจัดการขยะของเสียในชุมชนร่วมกัน ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดจิตสำนึกส่วนรวม ในการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ยังคงมีปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง การเผาขยะไม่เป็นที่เป็นทาง และขาดระบบในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี ทั้งในพื้นที่ระดับครัวเรือน และในระดับพื้นที่สาธารณะของชุมชน นอกจากนั้นยังขาดการวางแผนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน ชุมชน ร่วมกัน สัตว์เลี้ยงและที่อยู่อาศัยไม่แยกส่วนกัน บ้านเรือนยังจัดการไม่ถูกสุขลักษณะ ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านโพธิ์สามัคคี และส่งผลกระทบต่อชุมชน ได้แก่ปัญหาด้านขยะมูลฝอยในชุมชน จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา พบว่า ปัญหาขยะในชุมชน มีมูลเหตุสำคัญ มาจากพฤติกรรมของคนในชุมชน  โดยส่วนใหญ่ผู้คนในชุมชนขาดจิตสำนึก ในการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน มีปัญหาด้านการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง มีขยะในชุมชน ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชน ไม่สบายตา และประชาชนในหมู่บ้านขาดความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี โดยส่วนมากประชาชนจะนิยมใช้วิธีการจัดการขยะโดยการกวาดรวบรวมแล้ว นำไปเผาซึ่งการเผาขยะนี้เอง ก็เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน  จากการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน พบว่า มีขยะในชุมชน ดังนี้  ขยะประเภทขวด/แก้ว ปริมาณ     ตัน   / เดือน  ประเภท ถุงพลาสติกโฟม   ปริมาณ     ตัน  / เดือน ประเภทเศษกระดาษ เศษผ้าและของเหลือใช้   ๑.๕   /เดือน   ประเภท ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร และน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมงานบุญประเพณีของชุมชน ซึ่งแหล่งที่มาของขยะในชุมชน พบว่า  มาจากรถแร่ขายกับข้าว ซึ่งมีรถขายกับข้าวในชุมชนทุกวัน ๆ ละ ๒  คัน นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มขยะในชุมชน   ร้านค้าชุมชนในหมู่บ้าน มีจำนวน ๖  ร้านค้า  ซึ่งพฤติกรรมของคนในชุมชน เมื่อซื้อสินค้าเล็ก ๆ  น้อย ก็นิยมนำใส่ถุงพลาสติกและโฟม นำสู่การเพิ่มปริมาณขยะในชุมชน  

          ดังนั้น ชุมชนจึงมีแนวคิดในการขับเคลื่อนการดำเนินการจัดการปัญหาขยะในชุมชนโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม 

กระบวนการจัดการปัญหาขยะของชุมชน โครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี
          จากการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อสรุปบทเรียนในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี พบว่า มีมาตรการสำคัญ ดังนี้ 
         ๑)มีการจัดแบ่งระบบคุ้ม และเสริมบทบาทคุ้ม ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุ้มบ้าน จำนวน    คุ้ม ดังนี้
                   ๑.๑)คุ้มสันติภาพ                    ๑.๒)คุ้มรวมพลังสามัคคี
                   ๑.๓)คุ้มรู้รักสามัคคี                  ๑.๔)คุ้มสามัคคีธรรม
                   ๑.๕)คุ้มประชาสามัคคี               ๑.๖)คุ้มเที่ยงธรรม


          ๒)กำหนดบทบาทให้แต่ละคุ้มรับผิดชอบเชิงพื้นที่ ในการจัดการปัญหาขยะ  ทั้งในพื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่สาธารณะ โดยให้มีหลักเกณฑ์ในการพัฒนาคุ้ม ดังนี้
                   ๒.๑)ให้แต่ละคุ้มมีคณะกรรมการบริหารคุ้ม
                   ๒.๒)ให้คุ้มมีระบบข้อมูล แสดงข้อมูลของคุ้ม และขอบเขตเชิงพื้นที่ที่มีความชัดเจน
                   ๒.๓)ให้คุ้มมีแผนการพัฒนาในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของแต่ละคุ้ม
                   ๒.๔)ให้มีการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบ ครัวเรือนตัวอย่าง  ในการจัดการปัญหาขยะและการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
                   ๒.๕)ให้แต่ละคุ้มส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการประหยัดอออม และออมเงินกับ  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในชุมชน  
                             ๒)กำหนดหลักเกณฑ์ในการพัฒนาคุ้ม ดังนี้
                             ๒.๑)ให้แต่ละคุ้มมีคณะกรรมการบริหารคุ้ม
                             ๒.๒)ให้คุ้มมีระบบข้อมูล แสดงข้อมูลของคุ้ม และขอบเขตเชิงพื้นที่ที่มีความชัดเจน
                             ๒.๓)ให้คุ้มมีแผนการพัฒนาในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของแต่ละคุ้ม
                             ๒.๔)ให้มีการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบ ครัวเรือนตัวอย่าง  ในการจัดการปัญหาขยะและการดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


          ๓) การประกวดคุ้ม ในการจัดการขยะ เป็นมาตรการหนึ่ง ที่ทำให้ชุมชนสามารถจัดการปัญหาขยะในชุมชน   ซึ่งส่งเกิดผลต่อชุมชน  ดังนี้
                             ๓.๑)แต่ละคุ้มมีความรับผิดชอบ  ในการจัดการขยะมูลฝอยทำให้ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น 
                             ๓.๒)ชุมชนรู้รักสามัคคี  มีกิจกรรมทำงานร่วมกัน  บ่อย ๆ  มีความรักความผูกพัน และสนุก กับการทำกิจกรรมร่วมกัน
                             ๓.๓)ชุมชนมีรูปแบบกิจกรรมในการจัดการปัญหาขยะ ดังนี้
                                      -แบ่งพื้นที่รับผิดชอบในระดับคุ้มบ้าน
                                      -มีสภาผู้นำชุมชนกำกับ  ให้มีการดำเนินงานร่วมกัน  จนบรรลุวัตถุประสงค์
                                       -มีการจัดการขยะ เช่น  การเผาถ่านชีวภาพ  การทำโคมไพจากเศษไม้และกะลา  การทำกระเป๋าจากซองกาแฟ  เป็นต้น  
การรวมตัวกันลงแขกจัดการขยะในชุมชนและปลูกเสริมต้นไม้ในระดับคุ้ม โครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี
          เมื่อวันที่   วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙  นายสมคิด คำเสียง พัฒนาการอำเภอปรางค์กู่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี ประกอบด้วยกิจกรรม หน้าบ้านหน้ามอง และลงแขกสร้างครัวชุมชน และจัดการขยะในชุมชน   ณ บ้านโพธิ์สามัคคี หมู่ที่ ๘ ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลพิมายเหนือ โรงเรียนบ้านโพธิ์สามัคคี สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ 
          ผลของการจัดกิจกรรม ส่งผลให้เกิด การจัดกิจกรรม  หน้าบ้านหน้ามอง และลงแขกสร้างครัวชุมชน และจัดการขยะในชุมชน   ณ บ้านโพธิ์สามัคคี หมู่ที่ ๘ ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ขึ้นประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ทุกประการ


สรุปผลจากการจัดกิจกรรม
          จากมาตรการการดำเนินงานของชุมชน บ้านโพธิ์สามัคคี พบว่า  มาตรการต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนจนชุมชนสามารถจัดการขยะในชุมชนโครงการชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี ล้วนเกิดจากความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ  ร่วมพลัง  ของคนในชุมชน  ที่มองเห็น  เป้าหมายร่วมกันว่า จะจัดการปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน  ให้มีความสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย  เป็นชุมชนน่าอยู่ที่ปลอดขยะ  เป็นต้นแบบ ในการปัญหาขยะ  ในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการสำหรับชุมชนอื่น ๆ  ต่อไป  


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้