ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผลการดำเนินงานโครงการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ



หัวข้อ/ประเด็นในการรายงาน
(๑)   อำเภอปรางค์กู่ มีรูปแบบ วิธีการขับเคลื่อนโครงการฯ ที่ทำให้เกิดความตื่นตัวในชุมชน/หมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1.)    ชี้แจงรายละเอียดโครงการ ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการร่วมกับผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
2.)    ให้ประชุมฯ ร่วมกำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย ที่จะต้องขับเคลื่อนโครงการ โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ ตามแนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีพื้นที่เป้าหมายระดับอำเภอ ๑ แห่ง คือบ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ และมอบหมายการดำเนินการ สำหรับพัฒนากร    คน  ชุมชนเกื้อกูล    หมู่บ้าน  นอกจากนั้น ยังประชุมเมื่อวันที่  ๓๑  มีนาคม ๒๕๕๙ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ผู้นำ อช. หลังจากนั้นได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนโครงการ ฯ ขยายผลตามแนวทาง  ๑ ผู้นำ อช.    ชุมชนเกื้อกูล รวมเป้าหมายขับเคลื่อน ทั้งอำเภอปรางค์กู่ จำนวน  ๑๐  ตำบล   ๒๔  หมู่บ้าน 
3.)    มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำ อช.  และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ ในเวทีการประชุมในระดับหมู่บ้าน/ตำบล
4.)    ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชี้แจงให้ทราบแนวทาง วิธีการเพื่อให้ขับเคลื่อนโครงการโดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักความสามัคคีให้กับชุมชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป 


(๒)  แนวทางการขับเคลื่อนโครงการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี  บ้านรงระ หมู่ที่ ๘ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ 
           
           อำเภอปรางค์กู่ ได้ดำเนินการ ขับขับเคลื่อนโครงการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี  โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้

(๑)   ขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจ
                   นางสาวบุษดา ไชยภา นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ พร้อมด้วย นางสาวสมถวิล ทวีชาติ ผู้นำ อช.ประจำตำบลตูม ได้จัดประชุมชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการดำเนินโครงการ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม  ๒๕๕๙  ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านรงระ   กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนท้องถิ่นอำเภอปรางค์กู่  ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูม  สำนักงานเกษตรอำเภอปรางค์กู่  ปลัดอำเภอ  พี่น้องประชาชนชาวบ้านรงระ  ทั้งนี้  ได้ ชี้ให้เห็นมีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชน/หมู่บ้านให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความรักสามัคคี มีจิตสำนึกสาธารณะ รวมทั้งนำกลไกประชารัฐมาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในพื้นที่ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เพื่อฟื้นฟูวิถีชุมชน เน้นการทำงานในรูปแบบประชารัฐ ที่ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมทำร่วมตัดสินใจ เพื่อจัดทำแผน/กิจกรรมเกื้อกูล 6 ด้าน ดังนี้ 1. กิจกรรมลงแขก เช่น การปรับปรุงซ่อมสร้าง ทำความสะอาดสถานที่ส่วนรวม 2. กิจกรรมลงคลอง เช่น การบำรุงรักษาแหล่งน้ำ การขุดลอกคูคลอง กำจัดผักตบชวา 3.กิจกรรมถนนสวย 4.กิจกรรมหน้าบ้านหน้ามอง 5.กิจกรรมแยกขยะ และ 6.กิจกรรมครัวชุมชน เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวแลกเปลี่ยนในชุมชนสร้างรายได้ เป็นต้น โดยมีผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) เป็นแกนหลัก ร่วมกับ คณะกรรมการหมู่บ้าน และกลุ่มองค์กรอาสาสมัครในชุมชนร่วมดำเนินการ


          (๒)ขั้นตอนการกำหนดแผนงานการขับเคลื่อนโครงการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี
          ชาวบ้านรงระได้ร่วมกันกำหนดแผนงาน ในการขับเคลื่อนโครงการฯ โดยอาศัยทุนเดิม ที่สำคัญของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดแผนงานการดำเนินงาน ดังนี้ 
ที่
เดือน
กิจกรรม
สถานที่
เมษายน 
การลงแขกไถกลบตอซังข้าว และปลูกพืชบำรุงดิน
แปลงสาธิตโรงเรียนชาวนาบ้านรงระ 
พฤษภาคม
ถนนสวย
บ้านรงระ
มิถุนายน
ถนนสวย
บ้านรงระ
กรกฏาคม
ถนนสวย
บ้านรงระ
สิงหาคม
ลงแขกดำนาอินทรีย์
แปลงสาธิตโรงเรียนชาวนาบ้านรงระ 
กันยายน
ถนนสวย
บ้านรงระ
ตุลาคม
ถนนสวย
บ้านรงระ
พฤศจิกายน
ถนนสวย
บ้านรงระ
ธันวาคม
ลงแขกเกี่ยวข้าวอินทรีย์
แปลงสาธิตโรงเรียนชาวนาบ้านรงระ 
๑๐
มกราคม
ถนนสวย
บ้านรงระ
๑๑
กุมภาพันธ์
ถนนสวย
บ้านรงระ
๑๑
มีนาคม
ถนนสวย
บ้านรงระ


(๓)ผลการดำเนินงานตามโครงการ โครงการสร้างชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี ครั้งที่ ๑
          ชื่อกิจกรรม                การลงแขกไถกลบตอซังข้าว และปลูกพืชบำรุงดิน
          วันที่ดำเนินการ            ๒๖  มีนาคม  ๒๕๕๗
          สถานที่ดำเนินการ         แปลงสาธิตโรงเรียนชาวนาบ้านรงระ 
          กลุ่มเป้าหมาย            
๑๐๐  คน
                                      -หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้นำ อช.    ๓๐  คน 
                                      -ชาวบ้านรงระ  จำนวน   ๕๐  คน
                                      -กำนันผู้ใหญ่บ้าน จำนวน  ๒๐ คน
          ผลที่ได้รับ       
                   ผลเชิงปริมาณ
                   (๑)หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำ อช. หัวหน้าครัวเรือนในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน   ๑๐๐  คน
                   (๒)มีการลงแขกไถกลบตอซังข้าว พื้นที่    ไร่
                   (๓)องค์การบริหารส่วนตำบลตูม สนับสนุนงบประมาณ ดำเนินโครงการ    จำนวน  ๓,๐๐๐ บาท



                   ผลเชิงคุณภาพ
                   (๑)การสร้างกระแสและแบบอย่างที่ดีในการทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งอันเกิดจากความร่วมมือของภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน
                   (๒)รณรงค์ให้พี่น้อง ภาคประชาชน  เห็นความสำคัญของกิจกรรมการลงแขกไถกลบตอซังข้าว และปลูกพืชบำรุงดิน
                   (๓)เกิดรูปแบบ การสร้างกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากจุดเล็กในชุมชน/หมู่บ้านสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมต่อไป.

++++++++++++++++++++++++

                  








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้