ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เยาวชนบ้านพงพรต ทวนเข็มนาฬิกาย้อนเวลาหาความหลัง



ฉบับนี้ มีเรื่องราวของการทำงานเยาวชนมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเนื้องานหนึ่ง  ซึ่งเด็กและเยาวชน ได้ลุกขึ้นมาทำงานร่วมกัน เพื่อศึกษาเรื่องราวของชุมชน  ของพวกเขาเอง เป็นพื้นที่ของการดำเนินโครงการเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ที่ดำเนินโครงการโดย ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พวกเขาคือ  เยาวชนบ้านพงพรต ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รวมตัวกันทำงานเพื่อชุมชนบ้านเกิด การรวมตัวกันในครั้งนี้ นับว่าเป็นการรวมกันของเยาวชนในครั้งแรก ที่มีการคิดอ่านร่วมกันเพื่อทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ ในชุมชน   โครงการ ทวนเข็มนาฬิกาย้อนหาเวลาหาความหลังเป็นสิ่งที่เด็กและเยาวชนชาวบ้านพงพรต ร่วมกันคิดค้นขึ้นมา เพื่อทำงานร่วมกันในชุมชน ในครั้งนี้  





          ที่มา ของการทำกิจกรรมนี้ว่า เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจ ที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้ชุมชนอื่น ๆ  ที่มีกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน จนเกิดความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ในหลาย ๆ แห่ง จึงได้ร่วมกัน จัดทำโครงการนี้  ขึ้นมา  เพื่อรวมกลุ่มน้อง ๆเยาวชนในหมู่บ้าน ให้มีกิจกรรมการทำงานร่วมกัน  โดยกิจกรรมนี้   มีวัตถุประสงค์ในการทำงาน เพื่อเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของประวัติศาสตร์ชุมชนอย่างแท้จริง และให้น้อง ๆ กลุ่มเยาวชนในชุมชนสร้างกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ร่วมกับชุมชน สาเหตุที่เลือกประเด็นทางด้านประวัติศาสตร์ชุมชนเพราะว่า อยากให้ได้เรียนรู้ ที่มาที่ไปของชุมชนของเราเอง และเกิดสำนึกในการรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง 


          กระบวนการทำงานและเครื่องมือ ที่ เด็กและเยาวชนเลือกใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน ของบ้านพงพรต นั้น เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยา ๗  ชิ้น ของ ดร.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ อันประกอบด้วย แผนที่เดินดิน แผนผังเครือญาติ ภาพตัดขวางภูมิประเทศ ปฏิทินฤดูกาล เป็นต้น โดยมุ่งใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาข้อมูลชุมชนของบ้านพงพรต โดยอาศัยเด็กและเยาวชน ไปค้นหาข้อมูลจากผู้ใหญ่ในชุมชน ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านและ พี่เลี้ยงโครงการ เป็นเจ้าหน้าที่ อบต. และพัฒนากรร่วมสนับสนุนการทำงานดังกล่าว 




          นายประจักษ์  สุทโท แกนนำโครงการ ได้กล่าวถึง ผลของการทำโครงการนี้ว่า ทำให้เด็กและเยาวชนชาวบ้านพงพรต มีการรวมกลุ่ม รวมตัวกันในการทำโครงการนี้ และได้ใช้เครื่องมือทางมานุษยวิทยา ในการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน  สิ่งที่ได้คือ ระบบข้อมูลของชุมชนที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และความร่วมมือร่วมใจเด็กและเยาวชน น้องมีความรับผิดชอบในการทำงาน รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง กล้าแสดงออกในทางที่ดี กล้าคิดกล้าพูด และมีภูมิใจที่ได้ทำงานให้กับชุมชนบ้านเกิด  โดยเฉพาะ กิจกรรมที่เด็กและเยาวชน ได้จัดเวทีเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน ให้ชุมชนได้รับทราบร่วมกัน  ในครั้งนั้นจัดงานที่ วัดบ้านพงพรต มีเวทีเสนอข้อมูลสู่ชุมชน คนเฒ่าคนแก่  ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชน เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทุกคนมีความสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้พูดคุยกันถึงที่มาของชุมชน ได้ดูผลงานที่เด็กเยาวชนมานำเสนอ เวทีนี้ ทีมงานเยาวชนมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ทำ  ให้ชุมชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนของตนเอง  และอาจเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ  ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านต่อไป  




          จากเรื่องราวที่กล่าวถึงเบื้องต้น เป็นบทเรียนหนึ่งที่เยาวชนมีโอกาสได้ทำงานเพื่อชุมชนบ้านเกิดของตนเอง เป็นบทเรียนหนึ่งที่ช่วยยืนยันได้ว่า เยาวชนหรือคนทุกคนสามารถพัฒนาได้รับโอกาสที่เหมาะสม และมีการหนุนเสริมงาน อย่างเหมาะสม ปัญหาเด็กและเยาวชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายฝ่าย เป็นห่วงกังวลก็อาจคลีคลายได้ด้วย การสนับสนุนพื้นที่การแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ ให้แก่เด็กและเยาวชน ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ของแต่ละแห่ง ....     



           



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้