ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2016

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในสายตาข้าพเจ้า

                                    เช้าวันที่ ๒๔  มีนาคม ๒๕๕๙ ผมในฐานะ นักศึกษาปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ได้รับการประสานงาน จากท่านอาจารย์ ให้เข้าร่วมงาน  " ราชภัฎศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ ๓ " ซึ่งจัดขึ้นภายใน หมาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ  งานวันนี้  เป็นงานเชิงวิชาการ ปีนี้  เจ้าภาพ จัดงาน ได้เชิญท่าน ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ  เป็นองค์ปาฐก บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "การปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปบัณฑิตไทย ในศตวรรษที่  ๒๑" ผมคุ้นเคยชื่อท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ  ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ติดตามผลงานมากนัก  รู้เพียงว่า เป็นนักการเมืองน้ำดี  มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง และ ในรอบที่ผ่านมา  มีข่าวสารอยู่พักหนึ่ง ว่า  ท่าน มีโอกาส  เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ  ปรากฏตัว  ในที่ประชุมสัมมนา ด้วยท่าทีที่อ่อนนุ่ม  และถ่อมตัวเสียด้วยซ้ำว่า ท่านเป็นคนแก่  ที่มีอายุ ถึง  ๖๖  ปี  วันนี้  จึงมาฟังคนแก่พูดคุย  ให้ฟัง  เป็นคนแก่ที่ไปทำงานข้างนอกประเทศมานาน  ท่านทำหน้าที่เลขาธิการอาเซียน  เป็นเวลา  ๑  สมัย  รวมเวลา  ๕  ปี  ประสบการณ์ที่ท่า

แนวทางการสนับสนุนการเพิ่มทุนสำหรับกองทุนหมู่บ้าน ที่มีปัญหาการบริหารจัดการ

                         กองทุนหมู่บ้าน เป็นองค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่ง ที่เกิดจากการจัดตั้งตามแนวนโยบายของรัฐ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุน พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือ เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วน ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถ จัดระบบเงินกองทุน บริหารจัดการเงินกองทุน  เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต จากการพัฒนากองทุนหมู่บ้านในระยะ ๑ ทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฏว่าการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน หลาย ๆ แห่ง ประสบปัญหาในมิติต่าง ๆ หลากหลายด้าน เช่น การบริหารจัดการเงินทุน การใช้เงินทุนกองทุนหมู่บ้านผิดวัตถุประสงค์  และการเป็นหนี้นอกระบบของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน                      ภาระเหล่านี้ นับเป็นงานที่มีความท้าทาย อย่างยิ่งของนักพัฒนาทั้งหลาย ที่มีภารกิจโลดแล่นอยู่ในพื้นที่ทำงานตำบลหมู่บ้าน งานกองทุนหมู่บ้านในตำบลหนองเชียงทูน ซึ่งเป็นตำบลที่ผมรับผิดชอบ นั้น ประสบปัญหาที่

ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ:ราชินีผ้าไหมปรางค์กู่

           อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับหน่วยงานราชการ ในระดับต่างๆ เข้ามาสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน จนกระทั่งในปัจจุบัน ผ้าไหมทอมือปรางค์กู่ เริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้นิยมผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ด้วยเอกลักษณ์ผ้าไหมทอมือที่มีความโดดเด่น ด้วยเนื้อผ้าที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้สวมใส่               แม่สุขุมา จำปาพันธ์ ผู้หัวเรือใหญ่ ในการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ กล่าวว่า   กลุ่มฯ ได้พัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือมาอย่างยาวนาน ผ่านการสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่น จนถึงทุกวันนี้   ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ ผลิตผ้าไหม หลากหลายชนิด เช่น ผ้าขิต ผ้าโสร่ง   ผ้าขาวม้า เป็นต้น และในปัจจุบันได้ต่อยอด ไปสู่การผลิตตามความต้องการของตลาด จากภายนอก เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้ามัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ   ซึ่งเป็นจุดเด่นของกลุ่มที่ เน้นเป็นพิเศษ ในการพัฒนาทักษะ การทอสีย้อมธรรมชาติ มาอย่างยาวนาน   นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ มหาวิทย

คุณภาพชีวิตคนปรางค์กู่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙

             ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ในรอบปีหนึ่ง ๆ ว่า มีคุณภาพชีวิต ในขณะนั้น เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งมีตัวชี้วัดในการจัดเก็บข้อมูล แบ่งเป็นด้าน ๕ หมวด   ๓๐ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย หมวดที่ ๑ สุขภาพดี หมวดที่ ๒ มีบ้านอาศัย หมวดที่ ๓ ฝักใฝ่การศึกษา หมวดที่ ๔ รายได้ก้าวหน้า และหมวดที่ ๕ ปลูกฝังค่านิยม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูล   จปฐ. นั้น นับว่า เป็นกระบวนการสร้างระบบข้อมูลชุมชน ให้เกิดขึ้นในชุมชน พัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบล ก็จะทำหน้าที่ประสานการจัดเก็บข้อมูล เป็นประจำทุกปี โดยมีอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ที่คัดเลือกมาจาก   ผู้นำ อช.   / อช. /อสม. และผู้นำอื่น ๆ รับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด   ๑   คนรับผิดชอบ   ๔๐   ครัวเรือน เมื่อดำเนินการจัดเสร็จเรียบร้อย แล้ว ก็ส่งต่อข้อมูลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   บันทึกข้อมูลลง   โปรแกรมและประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ ข้อมูล ในการพัฒนาชุมชน   ต่อไป               ในส่วนอำเภอปรางค์กู่ ดำเนินการตามกระบวนการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว และดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานในระดับอำเภอ