ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ:ราชินีผ้าไหมปรางค์กู่




          อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับหน่วยงานราชการ ในระดับต่างๆ เข้ามาสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน จนกระทั่งในปัจจุบัน ผ้าไหมทอมือปรางค์กู่ เริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้นิยมผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ด้วยเอกลักษณ์ผ้าไหมทอมือที่มีความโดดเด่น ด้วยเนื้อผ้าที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้สวมใส่  



          แม่สุขุมา จำปาพันธ์ ผู้หัวเรือใหญ่ ในการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ กล่าวว่า  กลุ่มฯ ได้พัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมทอมือมาอย่างยาวนาน ผ่านการสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่น จนถึงทุกวันนี้  ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ ผลิตผ้าไหม หลากหลายชนิด เช่น ผ้าขิต ผ้าโสร่ง  ผ้าขาวม้า เป็นต้น และในปัจจุบันได้ต่อยอด ไปสู่การผลิตตามความต้องการของตลาด จากภายนอก เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้ามัดหมี่ ผ้าคลุมไหล่ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ  ซึ่งเป็นจุดเด่นของกลุ่มที่ เน้นเป็นพิเศษ ในการพัฒนาทักษะ การทอสีย้อมธรรมชาติ มาอย่างยาวนาน  นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาอบรมให้ความรู้ การฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ และตามด้วยหน่วยงานต่าง ๆ  เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และศูนย์หม่อนไหม ร่วมกันบูรณาการในการส่งเสริมความรู้ให้กลุ่ม  ฯ ในด้านการทอผ้าด้วยการย้อมสีธรรมชาติ 



 
          ในด้านการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ก็นับเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ก็เป็นการยากที่จะได้รับการยอมรับจาก ผู้บริโภค กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านน้อยนาเจริญ จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จนได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ หลากหลายชนิด ทั้ง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานตรานกยูง และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ปี พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้รับ    ดาว และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับ   ดาว เหตุดังนี้เอง จึงทำให้กลุ่มได้รับโอกาสทางการตลาด  โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ให้กลุ่มฯ ไปจำหน่ายสินค้า ในมหกรรมสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP  เป็นประจำทุกปี ในงาน OTOP กลางปี โอทอปชิตี้ และโอทอปศิลปาชีพประทีปไทยเทิดไท้ราชินี  ที่เมืองทองธานี สร้างรายได้อย่างมั่นคงให้แก่กลุ่ม ฯ  เพราะสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด  ทั้งนี้  ในการจำหน่วยสินค้าในแต่ละครั้ง  สามารถจำหน่ายสินค้าในโดยเฉลี่ยอยู่ที่  ๑ – ๒  แสนบาท ต่อการจำหน่ายในแต่ละครั้ง  

          แม่สุขุมา  จำปาพันธ์  กล่าวว่า  นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นนโยบายที่สำคัญที่ให้โอกาส กลุ่มอาชีพในชุมชนมีการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ได้เปิดหูเปิดตา มองโลกกว้าง แล้วย้อนกลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง อย่างสม่ำเสมอ  ทศวรรษใหม่ สินค้าไทย พัฒนาไม่หยุดยั้ง  ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลุ่มประสบผลสำเร็จ คือการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์  ที่มีคุณภาพ และเรียนรู้อยู่เสมอในการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  













          บทเรียนดังกล่าว นับเป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนากร ในฐานะนักพัฒนาภาครัฐ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการกระตุ้นให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อยอด สู่การเกิดการสร้างงานสร้างรายได้  สร้างอาชีพ ให้มั่นคง ส่งเสริมครอบครัวแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็ง และเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง .       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้