ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คุณภาพชีวิตคนปรางค์กู่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙



            ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ในรอบปีหนึ่ง ๆ ว่า มีคุณภาพชีวิต ในขณะนั้น เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งมีตัวชี้วัดในการจัดเก็บข้อมูล แบ่งเป็นด้าน ๕ หมวด  ๓๐ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย หมวดที่ ๑ สุขภาพดี หมวดที่ ๒ มีบ้านอาศัย หมวดที่ ๓ ฝักใฝ่การศึกษา หมวดที่ ๔ รายได้ก้าวหน้า และหมวดที่ ๕ ปลูกฝังค่านิยม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูล  จปฐ. นั้น นับว่า เป็นกระบวนการสร้างระบบข้อมูลชุมชน ให้เกิดขึ้นในชุมชน พัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบล ก็จะทำหน้าที่ประสานการจัดเก็บข้อมูล เป็นประจำทุกปี โดยมีอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ที่คัดเลือกมาจาก  ผู้นำ อช.  / อช. /อสม. และผู้นำอื่น ๆ รับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด    คนรับผิดชอบ  ๔๐  ครัวเรือน เมื่อดำเนินการจัดเสร็จเรียบร้อย แล้ว ก็ส่งต่อข้อมูลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บันทึกข้อมูลลง  โปรแกรมและประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ ข้อมูล ในการพัฒนาชุมชน  ต่อไป  

          ในส่วนอำเภอปรางค์กู่ ดำเนินการตามกระบวนการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว และดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานในระดับอำเภอเพื่อรับรองผล การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ในระดับอำเภอ  นายชัยวรรณ นิยม นายอำเภอปรางค์กู่ เป็นประธานในการจัดประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ นายกเทศมนตรีตำบลปรางค์กู่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล ร่วมให้การเสนอแนะและรับรองข้อมูล เพื่อใช้เป็นระบบข้อมูลในการชี้เป้าหมายการพัฒนา ในระดับ  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน ต่อไป 
 
          นายอำพล เข็มแก้ว พัฒนาการอำเภอปรางค์กู่ กล่าวว่า ถึงข้อมูลในฐานด้านเศรษฐกิจว่า ในภาพรวมของอำเภอปรางค์กู่  มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อปีเป็นเงิน ๓๙,๙๔๓  บาท  ตำบลตูม เป็นตำบลที่มีรายจ่ายเฉลี่ยของประชากรสูงสุด  มีรายจ่ายเฉลี่ย  ๔๗,๖๑๘ บาทต่อคนต่อปี  รองลงมาคือตำบลพิมายเหนือ    มีรายจ่ายเฉลี่ย ๔๕,๙๑๓ บาทต่อคนต่อปี และตำบลสวาย เป็นตำบลที่มีรายจ่ายเฉลี่ยน้อยที่สุดของอำเภอปรางค์กู่ มีรายจ่ายเฉลี่ย  ๒๖,๙๔๘  บาทต่อคนต่อปี (๑) รายจ่ายเพื่อการซื้อของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเฉลี่ยต่อครัวเรือน  ๔๑,๕๗๑  บาทต่อปี (๒) รายจ่ายเพื่อการซื้อของอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นเฉลี่ยต่อครัวเรือน  15,317  บาทต่อปี (๓) ค่าใช้จ่ายด้านทุนการผลิตเฉลี่ยต่อครัวเรือน  ๓๖,๕๗๘  บาทต่อปี (๔) หนี้สินของครัวเรือนเฉลี่ยต่อครัวเรือน           ๔๒,๑๓๒  บาทต่อปี

          ทางด้านผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ตามตัวชี้วัด พื้นที่อำเภอปรางค์กู่  พบว่ามีตัวชี้วัดที่ร้อยละไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด ๕  ลำดับแรก คือตัวชี้วัดที่ 26. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ จำนวนที่สำรวจ 39,152 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3,461 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8  ตัวชี้วัดที่ 2๕. คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ) จำนวนที่สำรวจ ๓๙,๑๕๒ คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน ๓,๔๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๗๕   ตัวชี้วัดที่ ๓ เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน จำนวนที่สำรวจ 268 คน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 6.34 ตัวชี้วัดที่ 21. คนอายุ 15 – 60 ปีเต็ม มีอาชีพและมีรายได้   จำนวนที่สำรวจทั้งหมด จำนวน ๒๐,๓๘๐ คน  ไม่ผ่านเกณฑ์หรือต้องแก้ไข จำนวน  457 คน  คิดเป็นร้อยละ  2.24  ตัวชี้วัดที่ 24. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน จำนวนที่สำรวจ ๑๑,๕๓๓ ครัวเรือน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน ๒๑๒ ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๑.๘๔





          ฐานข้อมูล จปฐ.ชุดนี้  เป็นฐานที่ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดเก็บข้อมูลขึ้นมา เพื่อเป็นข้อมูลหลัก ในการใช้ตัดสินใจเพื่อพัฒนาตำบลหมู่บ้าน ให้มีความเข้มแข็ง และใช้ ข้อมูล จปฐ.ชี้เป้าหมายการพัฒนาให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ ใช้เป็นฐาน ในการพัฒนางานตามประเด็นงานของแต่ละองค์กร  สำหรับท่านใดสนใจข้อมูล  จปฐ. ท่านสามารถติดต่อ ขอรับข้อมูล ได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทุกอำเภอ  ครับ 



  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้