ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางการสนับสนุนการเพิ่มทุนสำหรับกองทุนหมู่บ้าน ที่มีปัญหาการบริหารจัดการ



                    กองทุนหมู่บ้าน เป็นองค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่ง ที่เกิดจากการจัดตั้งตามแนวนโยบายของรัฐ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุน พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือ เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วน ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถ จัดระบบเงินกองทุน บริหารจัดการเงินกองทุน  เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต จากการพัฒนากองทุนหมู่บ้านในระยะ ๑ ทศวรรษที่ผ่านมา ปรากฏว่าการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน หลาย ๆ แห่ง ประสบปัญหาในมิติต่าง ๆ หลากหลายด้าน เช่น การบริหารจัดการเงินทุน การใช้เงินทุนกองทุนหมู่บ้านผิดวัตถุประสงค์  และการเป็นหนี้นอกระบบของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน  




                   ภาระเหล่านี้ นับเป็นงานที่มีความท้าทาย อย่างยิ่งของนักพัฒนาทั้งหลาย ที่มีภารกิจโลดแล่นอยู่ในพื้นที่ทำงานตำบลหมู่บ้าน งานกองทุนหมู่บ้านในตำบลหนองเชียงทูน ซึ่งเป็นตำบลที่ผมรับผิดชอบ นั้น ประสบปัญหาที่สำคัญ หลายประการ โดยปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องจัดการ ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุน ให้ กองทุนหมู่บ้านเพิ่มทุนจากรัฐบาล ในระยะที่ ๓ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้กองทุนหมู่บ้านได้รับการเพิ่มทุน หมู่บ้านละ  ๑  ล้าน ให้ครบทุกหมู่บ้านเต็มพื้นที่  แต่ทั้งนี้ ต้องมีแผนงานการพัฒนาฟื้นฟู ให้กองทุนหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ที่กำหนด



                   บ้านน้ำอ้อม หมู่ที่ ๑๔  ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่ไม่สามารถเพิ่มทุนในระยะที่ ๓ ได้  ดังนั้น ผมจึงได้ดำเนินการมาตรการ ในการสนับสนุน ให้มีการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ให้เรียบร้อยลุล่วง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 
                   ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหากองทุนหมู่บ้าน
                   ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ในกองทุนหมู่บ้านสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือการรับรู้ปัญหาและสถานการณ์ที่แท้จริงของกองทุนหมู่บ้านว่า ณ วันนี้มีสถานการณ์ปัญหาและความติดขัดอันใดบ้างที่เป็นมูลเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้ลุล่วงได้  วิธีการที่มีพลังที่สุดน่าจะเป็น การสร้างเวทีการมีส่วนร่วม โดยการเชิญ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน  มาพูดคุยกันเสนอปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งสำหรับกองทุนบ้านน้ำอ้อม นั้น ก็มี ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การขนาดช่วงในการบริหารจัดการของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และการค้างชำระหนี้สิน ตลอดจนขาดการปิดงบดุลบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ติดต่อกันมาหลายปี 

                   ขั้นตอนการกำหนดแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
                   ในขั้นตอนนี้ เป็นการนำสถานการณ์ปัญหาที่รวบรวมมาได้ทั้งหมด มาจัดระบบเป็นประเด็น และชวนให้ที่ประชุมได้ มองถึงมูลเหตุของปัญหา ในแต่ละปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาด้วยว่า จะให้แล้วเสร็จ ในช่วงไหน มีใครรับผิดชอบ ในปัญหาแต่ละด้าน ถ้าร่วมกันคิดแบบมีส่วนร่วมแบบนี้ ชุมชนก็จะยอมรับ และมีสำนึกร่วมกัน ว่าปัญหาเหล่านี้ ชุมชนนั้น ๆ เป็นเจ้าของปัญหา เขานั่นล่ะ จะเป็นผู้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่คนนอกชุมชน  คนนอกชุมชนมีหน้าที่ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน แนะนำ เท่านั้นเอง

                   ขั้นตอนการให้ความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
                   จากเวทีการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เราทราบว่า กองทุนหมู่บ้านนั้นๆ  มีปัญหาอย่างไร ก็จะได้เติมความรู้อย่างเหมาะสมสำหรับชุมชนแต่ละแห่ง ที่นี่ จึงมีการให้ความรู้ ในด้านการทำงบดุล และงบการเงินการบัญชีของกองทุนให้เข้าระบบถูกระเบียบตามที่ทางราชการกำหนด นอกจากนั้น ยังมีการให้แนวคิดในการจัดการปัญหา การกู้หนี้ยืมสิน นายทุนนอกระบบมาหมุนเวียนหนี้สิน โดยแนะนำให้สมาชิกจับกลุ่มในการชำระหนี้ เป็นกลุ่ม ไม่ต้องรอให้ชำระพร้อมกัน โดยกู้นายทุนนอกระบบ มาชำระหนี้  การจัดการดังกล่าว ก็เป็นการลดภาระสมาชิก ในอีกรูปแบบหนึ่ง 

                   ขั้นตอนการติดตามสนับสนุน
                   การติดตามสนับสนุน นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่า ชุมชนท้องถิ่น ยังเห็นความสำคัญของเจ้าหน้าที่ที่มีบทบาทในการทำงานในพื้นที่ ว่ามีความจริงจัง ในการดูแล ถามไถ่และติดตามผลงาน การลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องแบบกัดไม่ปล่อย ก็เป็นวิธีการทำงานหนึ่งที่ ทำให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ขยับขับเคลื่อนกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่ได้กำหนดไว้ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่กำกับติดตาม ชุมชนก็ละเลย ไม่ต่างกัน  





                   บทเรียนนี้ เป็นข้อค้นพบหนึ่ง ในการค้นหาแนวทางการสนับสนุนการเพิ่มทุนสำหรับกองทุนหมู่บ้านที่มีปัญหาการบริหารจัดการ ให้สามารถจัดการตนเองได้ ซึ่งได้ทดสอบใช้กับกองทุนต่าง ๆ หลายแห่งแล้ว ก็สามารถสร้างแรงจูงใจในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และเดินไปด้วยกันระหว่าง ทีมเจ้าหน้าที่ชุมชน และทีมชุมชน เพื่อจัดการปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย และมีวิธีการที่เหมาะสม   




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้