ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

อบรมเชิงปฏิบัติการย้อมสีมะดัน ห้วยทับทัน

จังหวัดศรีสะเกษ   ได้มอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ในด้านผ้าไหม เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย หลากหลาย และเกิดการต่อยอดผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น    จากเดิมที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้สนับสนุนให้กลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์   OTOP  ประเภทผ้าไหม ผ้าไหมแก็บย้อมมะเกลือสีดำ และการปักแซวลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้น ในปีนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้มอบหมาย ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในทุกระดับ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน การพัฒนาผ้าเอกลักษณ์ของศรีสะเกษ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ให้พัฒนาผ้าไหมย้อมสีธรรม ตามลักษณะภูมินิเวศของแต่ละพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ โดย จำแนกเป็น ผ้าย้อมสีธรรม ๔ สี ได้แก่    ผ้าย้อมศรีลาวา หมายถึง ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาตอที่ย้อมจาก ดินภูเขาไฟของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจะได้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติที่ มีสีน้ำตาลสวยงาม ดำเนินการในพื้นที่แถบอำเภอกันทรลักษ์    อำเภอศรีรัตนะ และ อำเภอขุนหาญ    ผ้าย้อมศรีมะดัน ได้แก้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ที่เกิดจากการนำไม้มะดัน ซึ่งเป็นพืชชุ
โพสต์ล่าสุด
ปีนี้ นับเป็นปีทอง ของนักส่งเสริมสุขภาพอย่างแท้จริง กระแสความตื่นตัวของคนรักสุขภาพ เกิดขึ้นอย่างสูงและมีความต่อเนื่อง การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกาย นั้น แน่นอนว่าจะเป็นกิจกรรมที่จะนำผู้คนไปสู่พื้นฐานการมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางตรงและทางอ้อม การวิ่งก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้คนสุขภาพดี การวิ่งเป็นการออกกำลังกาย ที่มีต้นทุนต่ำมาก ทุกคนสามารถออกวิ่งได้ทันที ดังนั้นในพื้นที่สาธารณะในหลายๆ แห่ง ถูกปรับสภาพแวดล้อมให้เมาะสมกับการวิ่งและมีนักวิ่งจำนวนมาก ออกไปสู่ลู่การวิ่งโดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างสุขภาพที่ดี การจัดงานวิ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่กลายเป็นกระแสสังคม ในเวลานี้   จะติดตามในสื่อสังคมออนไลน์ จะพบเห็น การประกาศรับสมัครวิ่งการกุศล รายการต่าง ๆ จำนวนมากมีเกือบทุกเดือน และนักวิ่ง ก็มีจำนวนมาก เช่นกัน              ครั้งนี้ ก็เช่นกันครับ ผมกำลังจะชวนท่านผู้อ่าน ไปร่วมวิ่งการกุศล ที่คณะผู้จัดเรียกขานงานวิ่งครั้งนี้ ว่า “ ห้วยทับทัน รัน ๒๐๑๙” ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่   ๑๑   สิงหาคม ๒๕๖๒   ณ   บริเวณที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ของเรานี้เอง              นาย

การพัฒนา ผ้าเอกลักษณ์ศรีสะเกษ ๔ ศรี

สำงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การนำของ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจ การขับเคลื่อนยุทธสาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ไตรมาสที่ ๓-๔ โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ พัฒนากรจากทุกอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนงาน ให้สามารถยกระดับการทำงานในตำบลหมู่บ้าน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ให้บรรลุ และก้าวสู่ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่งคง ประชาชนพึ่งตนเองได้              นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ในด้านผ้าไหม เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย หลากหลาย และเกิดการต่อยอดผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น   จากเดิมที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้สนับสนุนให้กลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าไหม ผ้าไหมแก็บย้อมมะเกลือสีดำ และการปักแซวลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะ

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี

  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย มีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจฐานรากให้มั่งคง ชุมชนพึ่งตนเองได้   บทบาทภารกิจหลัก มุ่งเน้นไปที่การ แปลงนโยบายของหน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ภารกิจนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติการ   ให้บรรลุผล เกิดผลลัพธ์ผลกระทบ ต่อชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งงานพัฒนาชุมชนในแต่ละปี   ถือว่ามีภารกิจค่อยข้างหนัก             แต่อย่างไรก็ตามบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชน   ก็ไม่ละเลยที่จะสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ให้มีเวลาผ่อนหนักผ่อนเบา สร้างความสุข   เสริมสุขภาพ หลังจากสู้งานหนักตามบทบาทภารกิจ   กิจกรรมที่อยากบอกกล่าวเล่าเรื่อง   ในที่นี้ คือ   การพัฒนาทีมฟุตบอลพัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี เพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคลากรในสังกัดได้ร่วมกันออกกำลังกาย   จริง ๆ พัฒนากรศรีสะเกษ นั้น มีกลุ่มคนที่หลงกลิ่นลูกหนัง อยู่เป็นทุนเดิมอยู่บ้างแล้ว ย้อนหลังไปราว ๔-๕ ปีที่แล้ว มีการริเริ่ม ให้มีการเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง วันก่อตั้งกรมการพัฒนาชุมชน หรือวันเกิดกรม ฯ ก็จ

วัดนาครินทร์ : ที่พึ่งทางใจของชุมชน

วัดนาครินทร์ : ที่พึ่งทางใจของชุมชน            วัดนาครินทร์   เป็นชื่อวัดแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านขี้นาค อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มี พระครูวรรณสารโสภณ   รองเจ้าคณะอำเภอปรางค์กู่   เป็นเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน   หากกล่าวถึงวัด สาธุชนทั้งหลาย    มักจะมอง    ว่า วัด     คือคำเรียก สถานที่สำหรับประกอบ กิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ   ในประเทศ ไทย ,  กัมพูชา   และ ลาว   ภายในวัดจะมี   กุฏิ   ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของ นักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ   พระสงฆ์   อีกทั้งยังมี เจดีย์ พระอุโบสถ   ศาลาการเปรียญ   เมรุ   ซึ่งใช้สำหรับประกอบ ศาสนพิธีต่างๆ เช่น   การเวียนเทียน   การสวดมนต์   การทำสมาธิ              วัดนาครินทร์ที่ข้าพเจ้าสัมผัสนั้น   วันนี้ได้ยกระดับขึ้นเป็นวัด อันเป็นพี่พึ่งของประชาชน   อย่างแท้จริง ไม่เพียงเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่ญาติโยม ในพื้นที่บริเวณการให้บริการเท่านั้น   แต่ ยังขยายแนวคิดสู่ชุมชนรอบๆอีกด้วย ด้วยแนวคิดของ   หลวงพ่อที่ท่านให้ความสำคัญกับการศึกษา ท่านจึงพยายามส่งเสริมการเล่าเรียนของลูกศิษย์ลูกหา   ให้ได้เรียนตามความสนใจ และตามศักยภาพที่แต่ละค

เสียงจาก....นักวิจัยท้องถิ่น

ในชีวิตการทำงานนักพัฒนาภาครัฐ   ที่มีชื่อย่อเรียกว่า พัฒนากร เรามีเครื่องมือการทำงานชุมชน กันอย่างหลากหลาย มากมายที่กรมการพัฒนาชุมชน ลงทุนอบรมสร้างความรู้   ติดอาวุธทางปัญญาให้ ก่อนลงไปทำงานจริงกับพื้นที่   ราวปี พ.ศ.๒๕๔๙   ผมจำได้ว่า กรมการพัฒนาชุมชน   คิดหลักสูตรนักพัฒนามืออาชีพ ให้พัฒนากรไปเรียนรู้ ในหลักสูตรระยะยาว   ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ   เนื้อหาสำคัญในหลักสูตร คือการเรียนรู้ แนวคิด   การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ( Par ) ในช่วงหลังมักเรียกขานกันว่า   งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น( CBR ) ในปัจจุบัน พี่ทวีศักดิ์   บัวพร  นักวิจัยท้องถิ่น บ้านห้วยยาง  ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน   นายแสง  สีตะวัน  ผู้ใหญ่บ้านหนองเชียงทูน นักวิจัยท้องถิ่น นำน้องเยาวชน  ทำวิจัยท้องถิ่น                    นับตั้งแต่นั้นมา ผมก็วนเวียน กับการใช้เครื่องมือชิ้นนี้ กับการทำงานชุมชน เสมอมา จนกระทั่งปัจจุบัน ถ้านับฐานข้อมูลสาระบบการวิจัย   ที่ผมร่วมขับเคลื่อนกับชุมชน   ทั้งในฐานะ นักวิจัยร่วม หัวหน้าโครงการวิจัย   หัวหน้าชุดโครงการวิจัย   ผมรับทุนวิจ