ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี


 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย มีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจฐานรากให้มั่งคง ชุมชนพึ่งตนเองได้  บทบาทภารกิจหลัก มุ่งเน้นไปที่การ แปลงนโยบายของหน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ภารกิจนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติการ  ให้บรรลุผล เกิดผลลัพธ์ผลกระทบ ต่อชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งงานพัฒนาชุมชนในแต่ละปี  ถือว่ามีภารกิจค่อยข้างหนัก 


          แต่อย่างไรก็ตามบุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชน  ก็ไม่ละเลยที่จะสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ให้มีเวลาผ่อนหนักผ่อนเบา สร้างความสุข  เสริมสุขภาพ หลังจากสู้งานหนักตามบทบาทภารกิจ  กิจกรรมที่อยากบอกกล่าวเล่าเรื่อง  ในที่นี้ คือ  การพัฒนาทีมฟุตบอลพัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี เพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคลากรในสังกัดได้ร่วมกันออกกำลังกาย  จริง ๆ พัฒนากรศรีสะเกษ นั้น มีกลุ่มคนที่หลงกลิ่นลูกหนัง อยู่เป็นทุนเดิมอยู่บ้างแล้ว ย้อนหลังไปราว ๔-๕ ปีที่แล้ว มีการริเริ่ม ให้มีการเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง วันก่อตั้งกรมการพัฒนาชุมชน หรือวันเกิดกรม ฯ ก็จะมีการแข่งขันกีฬา ภายใน โดยแบ่งทีม แข่งกีฬาในลักษณะ ทีมสิ่งห์เหนือ เสือใต้ ทีม พช.ศรีสะเกษ เอฟซี จึงถูกสถานปนาขึ้น และมีแม็ตซ์แข่งขัน อย่างสม่ำเสมอ  แต่ไม่ต่อเนื่องการเดินทางมารับตำแหน่ง ของท่าน จรินทร์ รอบการพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ที่มีความชื่นชอบ กีฬาฟุตบอล จึงเป็นเสมือนหนึ่ง ผู้ปลุกกระแส ให้พัฒนากร ผู้คลั่งไคล้ กีฬาฟุตบอล ได้มีชีวิตชีวา คึกคักขึ้นมา อีกครั้ง  นายจรินทร์ รอบการ ในฐานะ โค้ชและผู้เล่น ได้เข้ามา สร้างสีสัน ให้ทีมในทันที ที่ย้ายมาทำงานที่นี่ ภาพพัฒนากร รุ่นเก่า กลางเก่า กลางใหม่ ที่ใส่ใจสุขภาพ จึงบังเกิดขึ้น


          ท่านพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ศรีสะเกษเป็นนครแห่งความสุข บุคลากรต้องทำงานอย่างมีความสุข เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แห่งความสุข ไปสู่ประชาชน การเล่นฟุตบอล คือการพัฒนาตัวเอง ให้มีสุขภาพดี ได้เพื่อน ภายในองค์กร และต่างองค์กร เป้าหมายของการสร้างทีมฟุตบอล อยูที่ การสร้างสุขภาพ สร้างมิตรภาพ และสร้างความสุขนี่คือปรัชญาการทำทีม ฟุตบอลพัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี ที่วันนี้ เริ่ม มีความคึกคัก จำนวน นักพัฒนามราคลั่งไคล้ กลิ่นสาบลูกหนัง เริ่มมี จำนวนเพิ่มขึ้น เรื่อย

          กองทุนพัฒนากีฬา ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เกิดขึ้น จากการระดมทรัพยากร ระดมทุน เพื่อจัดกิจกรรม กีฬาสร้างสุข กีฬาสร้างสุขภาพ ให้เกิดขึ้น ไม่เฉพาะ กีฬา ฟุตบอล เท่านั้น ที่จะส่งเสริม ให้บุคลากร ได้มีส่วนร่วม แต่ ยังมีแผน ที่จะขยับขยายไปสู่ชนิดกีฬาอื่น ตามความถนัด ของบุคลากรทั่วทั้งองค์กร นอกจากกิจกรรมภายในองค์กร แล้ว   พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี ยังแบ่งปันโอกาสให้น้องเยาวชน ในพื้นที่ ที่สนใจการเล่นฟุตบอล โดยการสนับสนุนลูกฟุตบอล ให้แก่น้องเยาวชน ในตำบลหมู่บ้าน ที่สนใจรวมตัวกันเล่นกีฬา แต่ยังขาดลูกฟุตบอล เพื่อให้น้องๆ  ได้เล่นกีฬาที่ตนเองรัก  โดยมีพัฒนากร  ในแต่ละพื้นที่ เป็นผู้ทำหน้าที่สะพานแห่งโอกาส  ให้แก่น้องเยาวชนในตำบลหมู่บ้านอีกด้วย 


          นี่คือจังหวะก้าวสำคัญที่น่าสนใจ ยิ่งของ ทีมฟุตบอลพัฒนาชุมชนศรีสะเกษ เอฟซี และกองทุนพัฒนากีฬาของพัฒนาชุมชนศรีสะเกษ ที่จะตอบโจทย์ กีฬาสร้างสุขภาพ สร้างคน คนพัฒนาองค์กร ให้มีสมรรถนะสูง เพื่อตอบโจทย์ เศรษฐกิจฐานมั่นคง และประชาชนพึ่งตนเอง ได้ ต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้