ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วัดนาครินทร์ : ที่พึ่งทางใจของชุมชน


วัดนาครินทร์ : ที่พึ่งทางใจของชุมชน

          วัดนาครินทร์  เป็นชื่อวัดแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านขี้นาค อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ มี พระครูวรรณสารโสภณ  รองเจ้าคณะอำเภอปรางค์กู่  เป็นเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน  หากกล่าวถึงวัด สาธุชนทั้งหลาย   มักจะมอง   ว่า วัด  คือคำเรียก สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ในประเทศไทยกัมพูชา และลาว ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ 


          วัดนาครินทร์ที่ข้าพเจ้าสัมผัสนั้น  วันนี้ได้ยกระดับขึ้นเป็นวัด อันเป็นพี่พึ่งของประชาชน  อย่างแท้จริง ไม่เพียงเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่ญาติโยม ในพื้นที่บริเวณการให้บริการเท่านั้น  แต่ ยังขยายแนวคิดสู่ชุมชนรอบๆอีกด้วย ด้วยแนวคิดของ  หลวงพ่อที่ท่านให้ความสำคัญกับการศึกษา ท่านจึงพยายามส่งเสริมการเล่าเรียนของลูกศิษย์ลูกหา  ให้ได้เรียนตามความสนใจ และตามศักยภาพที่แต่ละคนมี  เมื่อหลายสิบปีก่อน หลวงพ่อได้ส่งเสริมให้ลูกศิษย์ได้เรียน จนสำเร็จเปรียญธรรมประโยค ๘-๙ ในการศึกษาทางโลกมีลูกศิษย์ของท่านสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา และส่งต่อการเรียนรู้จากรุ่นสู่กระทั่งปัจจุบัน นอกจากนั้นยังได้จัดทำกองทุนส่งเสริมการศึกษา  โดยในช่วงวันเข้าพรรษาของทุกปี  หลวงพ่อจะมีการมอบทุนการศึกษา แก่ นักเรียนนักศึกษา ธรรมะศึกษา เป็นประจำทุกปี ๆ ละ  มากกว่า  ๓๐๐  ทุน   ซึ่งนับว่า เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์มองโลกมองการณ์ไกล และให้ทานที่ประเสริฐที่สุด  คือการให้  วิทยาทาน ให้ความรู้แก่มนุษย์  ให้คิดได้คิดเป็น

          ทางด้านโลก หรือความสัมพันธ์ต่อชุมชน  หลวงพ่อ ได้  สร้างกิจกรรมสำคัญในการที่จะเข้าไปสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเอง เมื่อหลายปีก่อน วัดนาครินทร์ ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมที่ส่งผลด้านบวกต่อชุมชน คือการร่วมกัน  ระหว่างชุมชนกับวัด ในการพัฒนา งานศพพอเพียงไม่เลี้ยงเหล้า ปลอดการพนัน  โดยชุมชนนำไปถือปฏิบัติ ซึ่งสามารถลดรายจ่าย ให้เจ้าภาพงานศพแต่ละงาน ได้เป็นอย่างดี ในระยะหลังทางวัดจึงได้ต่อยอดกิจกรรม โดย พัฒนาระบบการให้บริการในงานศพแบบครบวงจร  เช่น การบริหารโลงเย็น  เครื่องเสียง เต็นท์ ตะเก้าอี้  ระบบไฟต่าง ๆ  ดอกไม้จันทน์  เรียกได้ว่าที่วัดนาครินทร์  มีให้บริการแบบครบวงจร  จบที่นี่ที่เดียว  ผลการดำเนินงานในระยะหลายปีที่ผ่านมา นับว่าทางวัดได้แบ่งเบาภาระของทางชุมชนลงไปอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ที่เจ้าภาพงานศพต้องแบกภาระค่าใช้จ่าย  ต่างๆ  มากมาย งานศพในอดีตอาจเข้าสุษาภิตที่เคยกล่าวไว้ว่า  คนตายขายคนเป็นในพื้นที่เขตบริการวัดนาครินทร์  ได้ก้าวข้ามจุดนั้นมาได้แล้ว การดำเนินการดังกล่าวนับว่า เป็นที่พึงพอใจ อย่างยิ่งของญาติโยมในพื้นที่บริการ  


          การเคลื่อนตัวของวัดนาครินทร์ โดยการนำของหลวงพ่อ ได้ กระตุ้นชุมชนและหนุนโรงเรียน ให้มีการเรียนรู้อยู่เสมอ และเกิดความร่วมมือกันในหลายๆ ด้าน จนเรียกได้ว่า วันนี้  หลวงพ่อได้ ฟื้นฟู ระบบการทำงานแบบเดิม  ที่เรารู้จัก ภายใต้ชื่อ สามเสาหลัก
บวร  บ้านอยู่ได้  วัดอยู่ได้   โรงเรียนอยู่ดี  เพียงแค่นี้ก็เกิดชุมชนที่น่าอยู่ขึ้นได้แล้ว    

  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้