ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสียงจาก....นักวิจัยท้องถิ่น


ในชีวิตการทำงานนักพัฒนาภาครัฐ  ที่มีชื่อย่อเรียกว่า พัฒนากร เรามีเครื่องมือการทำงานชุมชน กันอย่างหลากหลาย มากมายที่กรมการพัฒนาชุมชน ลงทุนอบรมสร้างความรู้  ติดอาวุธทางปัญญาให้ ก่อนลงไปทำงานจริงกับพื้นที่  ราวปี พ.ศ.๒๕๔๙  ผมจำได้ว่า กรมการพัฒนาชุมชน  คิดหลักสูตรนักพัฒนามืออาชีพ ให้พัฒนากรไปเรียนรู้ ในหลักสูตรระยะยาว  ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ  เนื้อหาสำคัญในหลักสูตร คือการเรียนรู้ แนวคิด  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (Par) ในช่วงหลังมักเรียกขานกันว่า  งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(CBR) ในปัจจุบัน




พี่ทวีศักดิ์   บัวพร 
นักวิจัยท้องถิ่น บ้านห้วยยาง  ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน  

นายแสง  สีตะวัน  ผู้ใหญ่บ้านหนองเชียงทูน นักวิจัยท้องถิ่น
นำน้องเยาวชน  ทำวิจัยท้องถิ่น  
     

          นับตั้งแต่นั้นมา ผมก็วนเวียน กับการใช้เครื่องมือชิ้นนี้ กับการทำงานชุมชน เสมอมา จนกระทั่งปัจจุบัน ถ้านับฐานข้อมูลสาระบบการวิจัย  ที่ผมร่วมขับเคลื่อนกับชุมชน  ทั้งในฐานะ นักวิจัยร่วม หัวหน้าโครงการวิจัย  หัวหน้าชุดโครงการวิจัย  ผมรับทุนวิจัยจาก กองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายการวิจัยเพื่อท้องถิ่น มาทำงานกับพื้นที่  เกือบ  ๑๐  พื้นที่  เกิด ผลผลิต  ผลลัพธ์ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชน มากมาย  ทั้งนักวิจัยชาวบ้าน  ที่มีความรู้  ทักษะ  มีทัศคติที่ดีต่อการทำงานเพื่อชุมชน  เกิดพื้นที่ต้นแบบ พื้นที่รูปธรรมในประเด็นต่าง ๆ  ที่สามารถศึกษาดูงานได้  มีรูปแบบการจัดการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างหลากหลาย   ซึ่งแน่นอนว่า  เครื่องมือ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  นั้น  มีประโยชน์ต่อชุมชน  เพราะชุมชน หรือชาวบ้าน  ในฐานะเจ้าของพื้นที่  ก็มีศักยภาพเพียงพอ  ที่จะบริหารจัดการวิจัยในแบบฉบับงานวิจัยไทบ้านได้ งานวิจัยไทบ้าน  สร้างชาวบ้าน  ให้เป็นคนเก่ง เป็นคนที่รู้รากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชนเอง  และเกิดความภาคภูมิใจ ในความเป็นชุมชนท้องถิ่น  บางพื้นที่สามารถขยับงาน  และข้อค้นพบจากการวิจัย  สู่การเกิดนโยบายสาธารณะ  ในระดับต่างๆ ได้อย่างดี  และเกิดคุณูปการต่อสังคมไทย   อย่างมากมาย 

          จากข่าวสารบ้านเมือง  ที่กำลังเกิดขึ้น   พบว่า  ตามที่ได้ทราบจากถ้อยแถลงของ รมว. กระทรวงวิทย์ฯว่า ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นไปตามร่าง พรบ.ดังกล่าว โดยจะนำส่วนราชการในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สนง.คกก.อุดมศึกษา คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ ซึ่งจะสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือการเตรียมความพร้อมประเทศเข้าสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ตามแนวนโยบาย Thailand ๔.๐ และกำลังจะนำเรื่องนี้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)   ความห่วงกังวล  ก็คือ  งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอาจหายไปจากสาระบบวิจัย  การควบรวมเป็นกระทรวงฯจะทำให้เป้าหมายและระบบการสนับสนุนการวิจัยเพื่อคนเล็กคนน้อย(CBR)เปลี่ยนไป ส่งผลการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนองค์ความรู้ในการพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชนท้องถิ่น 
          ผมในฐานะ  นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น คนหนึ่งที่เคยมีส่วนร่วมกับการวิจัยท้องถิ่น  และใช้เครื่องมือ
CBR ตลอดระยะเวลา  ๑ ทศวรรษ  ที่ทำงานด้านการพัฒนาชุมชน  ขอเป็นอีกเสียง  ที่ สนับสนุน ให้ชาวบ้าน  นักวิจัยไทบ้าน  มีพื้นที่ในการทำงาน และให้งานวิจัยชาวบ้านอยู่คู่กับชาวบ้าน  ให้คนตัวเล็กตัวน้อย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนวิจัย เป็นวิจัยไทบ้าน โดยไทบ้าน  เพื่อไทบ้าน  เป็นงานวิจัยกินได้  ไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหิ้ง
                                         นายศราวุฒิ  ยงกุล  นักวิจัยท้องถิ่น
                               บ้านหนองสะมอน ตำลเมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน





ความคิดเห็น

  1. น่าสนใจมากครับ ไม่ว่ากระทรวงอุดมศึกษาและวิจัยจะเป็นอย่างไรก็ขอให้กำลังใจนะครับ กระบวนการได้มาซึ่งความรู้ที่เกิดจากการตั้งคำถามในการศึกษาหาความรู้และการสร้างระบบระเบียบและวิธีวิจัยที่อาจารย์ฝังไว้ให้กับชุมชนเป็นเรื่องที่ดีมากครับ ดัดแปลงให้นำมาสู่การเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือให้คนภายนอกเข้ามาใช้ชีวิตในพื้นที่เลยคัรบ ส่วนตัวก็กำลังตื่นตัวกับการระเบิดจากข้างในออกไปสู่ภายนอก และกำลังดำเนินการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ครับ ชื่นชมวิจัยไทบ้านสู่การพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้