ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อบรมเชิงปฏิบัติการย้อมสีมะดัน ห้วยทับทัน


จังหวัดศรีสะเกษ  ได้มอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ในด้านผ้าไหม เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย หลากหลาย และเกิดการต่อยอดผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น  จากเดิมที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้สนับสนุนให้กลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าไหม ผ้าไหมแก็บย้อมมะเกลือสีดำ และการปักแซวลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้น ในปีนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้มอบหมาย ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในทุกระดับ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน การพัฒนาผ้าเอกลักษณ์ของศรีสะเกษ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ให้พัฒนาผ้าไหมย้อมสีธรรม ตามลักษณะภูมินิเวศของแต่ละพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ โดย จำแนกเป็น ผ้าย้อมสีธรรม ๔ สี ได้แก่  ผ้าย้อมศรีลาวา หมายถึง ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาตอที่ย้อมจาก ดินภูเขาไฟของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งจะได้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติที่ มีสีน้ำตาลสวยงาม ดำเนินการในพื้นที่แถบอำเภอกันทรลักษ์  อำเภอศรีรัตนะ และ อำเภอขุนหาญ  ผ้าย้อมศรีมะดัน ได้แก้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ที่เกิดจากการนำไม้มะดัน ซึ่งเป็นพืชชุ่มน้ำ ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในบริเวณลุ่มน้ำต่าง ๆ  ของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งผ้าศรีมะดัน จะได้ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ สีเขียวอ่อน ผ้าศรีลำดวน ได้แก่ ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ที่ได้จากกลีบลำดวน มาเข้าสู่กระบวนการย้อม จะได้ผ้าสีเหลือง สีเหลืองอ่อน ส่วนผ้าสีกุลา คือการนำผ้าไหมเข้าสู่กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ ด้วนดินทุ่งกุลา ในแถบอำเภอ ราศีไศล อำเภอศิลาลาด และอำเภอยางชุมน้อย  ซึ่งการดำเนินการผ้าย้อมธรรมชาติ    ศรี  ตามลักษณะภูมินิเวศของจังหวัดครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความหลากหลายของผ้าไหมศรีสะเกษ ที่มีเอกลักษณะและความโดดเด่นเฉพาะถิ่น เมื่อนำมาปักแซวด้วยลวดลายที่สวยงาม แล้วจะทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอด ไปสู่การเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในจังหวัดศรีสะเกษ


                อำเภอห้วยทับทัน  โดยการนำของ นางสาว ธนพร ขจิตเวทย์ พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน ได้วางแผนขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาโดย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การขับเคลื่อน การย้อมผ้าด้วยกระบวนการย้อมผ้าแบบสีธรรมชาติ ซึ่งมีนางฉลวย ชูศรีสัตตยา ปราชญ์ชาวบ้าน จากศูนย์เรียนรู้การย้อมผ้าไหมแก็บบ้านเมืองหลวง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การเสาะแสวงหา ไม้มะดันซึ่งเป็นพืชชุ่มน้ำ ที่มีอยู่ทั่วไป ในพื้นที่ลำน้ำห้วยทับทัน มาเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการย้อมผ้า ซึ่งสามารถนำเปลือกไม้มะดัน และแก่นไม้มะดัน เข้าสู่กระบวนการต้มและย้อมสี ผลจากการย้อมสี พบว่า ไม้มะดัน เปลือกและแก่นมะดัน ให้สีธรรมชาติเป็นสีน้ำตาลทอง เงางามมีความสวยงาม เหมาะสำหรับสวมใส่ ไร้สารเคมี เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น เมือได้สีจากมะดันแล้ว ก็สามารถ พัฒนาสีใหม่ ๆ ต่อไปได้อีก อีกสีหนึ่งที่ได้ คือ การนำสีไม้มะดัน มาทับโคลน ก็ถือว่า เป็นลูกเล่น ที่สามารถต่อยอด ได้ให้เส้นผ้ามีสีสันสวยงาม ตามต้องการ 




          กิจกรรมในวันนี้ นับว่า เป็นการสร้างรูปแบบการขยายความรู้ของคนในชุมชน ที่มีการต่อยอด แนวคิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนำทรัพยากรใกล้ตัว มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต่อยอดไม้มะดัน ซึ่งใช้ในการย่างไก่ย่างไม้มะดัน อันเป็นอัตลักษ์ของคนห้วยทับทัน ดังนั้น การต่อยอดไม้มะดันมาสู่ การย้อมสีธรรมชาติ ในเส้นไหม ต่อไปนี้ คนห้วยทับทัน จะมีผ้าไหมเอกลักษ์ใหม่ ให้สวมใส่อย่างมีความภาคภูมิใจ ในลักษณะ คนห้วยทับทัน ต้องสวมไส่เสื้อผ้าย้อม ศรีมะดัน ให้เกิกคุณค่า และมีมูลค่าในการสร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป   
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้