ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิจัยไทบ้าน : ใครใครก็ทำได้

          สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเวทีเรียนรู้ ในการเขียนรายงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และเรียนรู้แนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติการวิจัยเพื่อท้องถิ่น  งานนี้  จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๙ -๑๐ -๑๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๑  จัดขึ้นที่วัดห้วยยาง บ้านห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ   งานนี้  เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ  ชุดโครงการวิจัย ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ร่วมมือกับ   โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยผู้ประสานงานวิจัยระดับโหนดภาคอีสาน(JSN  ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ   ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน   โดยการสนับสนุนของ  กองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ ฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 


                     กิจกรรมตลอดสามวันนี้  ดำเนินกระบวนการ ไปอย่างเข้มข้น ทั้งพี่น้องคนหนุนงานวิจัย ที่มาจากทั่วสารทิศ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ  ประชาสังคม  ร่วมสนับสนุนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน  ตลอดจนทีมงานนักวิจัยท้องถิ่น  จาก ๕  พื้นที่ปฏิบัติการวิจัย  ทั้งในเขตอำเภอปรางค์กู่  และอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ   มากกว่า  ๑๐๐  ชีวิต  ร่วมผนึกกำลัง  ทำงานร่วมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อร่วมกันเคลื่อนงานสานพลัง  ดันความฝันในการสร้างสังคม ที่มีความเข้มแข็ง  ผ่านโจทยกระบวนการวิจัย   และกระบวนการพัฒนาชุมชน  มุ่งไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง ในอนาคต 


                       การจัดกิจกรรมครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้นักวิจัยท้องถิ่น  ภายใต้ชุดโครงการวิจัยสัมมาชีพชุมชน    ได้เรียนรู้การเขียนรายงาน การวิจัยเพื่อท้องถิ่น  นำเสนอมุมมอง และบทเรียนการทำงานในเชิงพื้นที่  สังเคราะห์บทเรียนการทำงานของ แต่ละพื้นที่  ในรูปแบบ  การเขียนรายงานการวิจัย  การทำงานในครั้งนี้   มีความสลับซับซ้อน  พอสมควร  สำหรับชุมชน  เพราะเป็นประเด็นใหม่  สำหรับชุมชน  ที่ต้องลุกขึ้นมา  เขียนรานงานการวิจัย  เพราะแค่เพียงกล่าวถึงคำว่า  "'งานวิจัย"  ก็เสมือนมีความรู้สึกว่ายากไว้ก่อนแล้ว   เป็นเหมือนของสูงที่จับต้องไม่ได้  และเป็นเรื่องไกลตัว 


                   นายธนาวุฒิ  ปิยะวงษ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชน  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศิลาลาด  ในฐานะคนหนุนงานวิจัย  ได้สะท้อนความรู้สึกภายหลังร่วมงานว่า   ภาพแห่งความประทับใจคือการได้เห็นทีมวิจัยที่เป็นชาวบ้านมีอาชีพเกษตกรทำไร่ทำนามือไม่คุ้นกับการจับปากกามาทำงานเป็นทีม  เพื่อช่วยกันศึกษาหาข้อมูลในชุมชนของเขาเองและสามารถวิเคราะห์จัดประเด็นปัญหาสู่การวางแผนพัฒนาชุมชนของเขาด้วยความตั้งใจ เป็นที่น่าชื่นชมและยินดีกับทีมวิจัยทุกท่านครับ ต้องบอกเลยว่านี้หล่ะชุมชน ยุค ๔.๐ ชุมชนที่เรียนรู้ตัวเองเพื่อที่จะพัฒนาตนเองบนฐานของทรัพยากรที่มีอยู่โดยการลดการพึ่งพิงจากภายนอก ชื่นชมมากๆครับ

    


                       ผู้เขียนเอง  แม้จะมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอยู่บ้าง แต่ก็ยังรู้สึกว่างานวิจัย นั้นมีความยากเย็น  ไม่เปลี่ยนแปลง  แต่อย่างไรก็ตาม บทเรียนในอดีต  นั้น  สะท้อน  ให้เห็นว่า  งานวิจัยและงานพัฒนาจำเป็นอย่างยิ่งต้องทำควบคู่กัน  ยิ่งเป็นพื้นที่ทำงานในเชิงพื้นที่  งานวิจัย  จะเป็นบททดลอง บททดสอบ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้นักพัฒนา  นำมาทำความเข้าใจ คนทำงาน  เข้าใจพื้นที่  มองเห็นข้อมูล  วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย ได้อย่างชัดเจน  ในการทำงานพัฒนาในพื้นที่  นับเป็นกระบวนการทำงานพัฒนา คน  ในอีกรูปแบบหนึ่ง  ที่มีความน่าสนใจ   และกระบวนงานเหล่านี้  ได้รับการพิสูจน์แล้ว  ว่า พี่น้องประชาชนถูกยกระดับ ให้เติบโต  ด้วยวิถีทางแบบนี้  ที่ต้องทำงานเชิงลึกเกาะติดกับชุมชนเชิงลึก  แน่นอนว่า  งานยากๆ  มันมีความท้าทายอยู่ในตัว  แต่เมื่อผลออกมา  มันหอมหวน  เสมอ 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้