ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี


การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP  นวัตวิถี

          รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  ๑๖  มกราคม  ๒๕๖๑ เห็นให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ  ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  ๑๒  ภายใต้เป้าหมายการนำพาประเทศก้าวข้ามประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ การมีรายได้สูงขึ้น  ก้าวสู่การบรรลุเป้าหมาย มั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืนภายใต้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  หนึ่งในแผนงานที่จะขับเคลื่อนงานดังกล่าว  คือ  การดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน  OTOP  นวัตวิถี 


                   การพัฒนาหมู่บ้าน OTOP นวัติวิถี  นั้นคือการสร้างชุมชนแห่งการท่องเที่ยว ให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวในชุมชน  รายได้หมุนเวียนกระจายสู่ชุมชน  โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้สามารถยกระดับสู่การจำหน่าย ในชุมชน  ได้และเกิดการหมุนเวียนในชุมชน ให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน หลักการสำคัญของการพัฒนาในด้านนี้  ได้แก่  การดึงเสนอเสน่ห์ชุมชน  ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อนำเสนอสู่นักท่องเที่ยว  และค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานให้เกิดคุณค่า  นำไปสู่การมีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ  ด้วยอีกทางหนึ่ง   สำหรับเป้าหมายการดำเนินโครงการ  นั้น  มุ่งเน้นให้มีสร้างตลาดที่ชุมชน ดึงนักท่องเที่ยวเข้าหมู่บ้าน  พัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้พร้อมขายและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  และการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยวให้มีการหมุนเวียนและกระจายตัวของรายได้เพิ่มขึ้น
 

                   สำหรับอำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ   ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว  ซึ่งเมื่อวันที่  ๑๕  พฤษภาคม ๒๕๖๑  นายธวัช  สุวรรณ  นายอำเภอห้วยทับทัน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ  และพี่น้องภาคประชาชน  ได้ร่วมกิจกรรม มหกรรมการนำเสนอผลงานการจัดการขยะโดยชุมชน บ้านหนองฮะ  ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และหมู่บ้านหนองฮะ  หมู่ที่ ๓  ตำบลปราสาท  อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  ยังเป็นหมู่บ้านเป้าหมาย  ในการดำเนินงานตามโครงการ พัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี  ซึ่งหมู่บ้านนี้  ได้กำหนดตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว  ว่าเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต  ซึ่งที่นี่มีการนำเสนอผลงานในด้านต่าง ๆ  เช่น  การเป็นหมู่บ้านสร้างรายได้จากการเลี้ยงโค  การเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนต้นแบบจัดการขยะ และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวปราสาทห้วยทับทัน  นอกจากนั้น  ยังมีการเปิดโอกาสให้ศึกษาวิถีชุมชน โดยมีบ้านพักโฮมสเตย์  จำนวน  ๓๐  ครัวเรือน  เปิดไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่สนใจวิถีการท่องเที่ยวชนบท  อยากหนีความจำแจ  ของชีวิตในเมืองใหญ่  ท่านสามารถมาที่นี่ ได้  ที่นี่หนองฮะ


                   นี่คือส่วนหนึ่งของการเตรียมการ  ขับเคลื่อนโครงการของรัฐบาล  ที่ลงมาขยับขับเคลื่อนถึงพื้นที่  คนทำงานในพื้นที่ต่าง  ทำงานอย่างสุดฝีมือ  เพื่อให้งานของรัฐบาลออกมาดีที่  สุด  เกิดประโยชน์สูงสุด และยกระดับคุณภาพชีวิต  ของประชาชนให้ดีขึ้น  นั่นเอง  
                          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้