ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เวที วางแผนการขับเคลื่อนงานวิจัยในระยะที่ ๒

บันทึกผลการจัดกิจกรรม 
เวทีวางแผนการดำเนินงานโครงการวิจัยชุดสัมมาชีพชุมชนในระยะที่ ๒ 
วันที่  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๖๑  ณ  บ้านริมห้วย 

เมื่อเวลา ๐๙ .๐๐ น. 
ที่ประชุมมาร่วมกัน  จากแต่ละพื้นที่  ประกอบด้วย  ทีมวิจัยห้วยยาง ,  ทีมวิจัยหนองสะมอน  ,  ทีมวิจัยโพธิ์สามัคคี  , ทีมวิจัยหนองแวง ,  ทีมวิจัยหนองเชียงทูน   รวมกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  ๒๕  คน 

วัตถุประสงค์การประชุม 
(๑) เพื่อสร้างการเรียนรู้การผลิตเตาถ่านคุณภาพสูง 
(๒)  เพื่อสรุปบทเรียนและวางแนงานวิจัยในระยะที่  ๒  ของทีมวิจัยภายใต้ชุดโครงการสัมมาชีพชุมชนฯ

ภาคเช้า  ทางชุดวิจัยสัมมาชีพชุมชน  ได้เชิญ  คุณ  มิตร  คนกล้าคืนถิ่น  มาบรรยายให้ความรู้  กระบวนการเผาถ่าน  เพราะเล็งเห็นว่า  การเผาถ่านจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถหนุน ให้ทีมวิจัยแต่ละพื้นที่สามารถประยุกต์ใช้  ในการต่อยอดให้เกิดการสร้างรายได้ลดรายจ่าย  ตามแนวทางสัมมาชีพ  ส่วนหนึ่งเพราะ  เห็นว่าในพื้นที่วิจัย  จะมีงานในด้าน  การปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ  ในกระบวนการเรียนรู้  ในเรื่องการตัดแต่งกิ่ง นั้น  จะทำให้มีกิ่งไม้เหลือ  ดังนั้น   การต่อยอดให้เอากิ่งไม้ขนาดเล็กมา  เผาถ่าน  น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม  สอดคล้องกัน 

คุณ   มิตร  คนกล้าคืนถิ่น  ได้บรรยาย  เรื่องถ่าน  ใน  ๒  ภาคคือ  ภาคแนวคิดทฤษฎี  และภาคปฏิบัติการ  จริง 



ในภาคทฏษฎี   ได้ได้ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 
-ความสำคัญของการเผาถ่าน 
-ความเป็นมาของถ่าน 
- การเผาถ่าน  ในแบบต่างๆ 
-วิธีการทำเตาเผาถ่าน 






ในภาคปฏิบัติการ  ได้ทดลองติดตั้ง เตาเผาถ่าน  โดยให้กลุ่มเป้าหมายร่วมกัน   เรียนรู้และทดลองติดตั้งร่วมกัน     


ภาคบ่าย  นายสรรณ์ญา กระสังข์  หัวหน้าชุดโครงการสัมมาชีพชุมชน  ได้  นำเสนอข้อมูล  และเส้นทางการเดินของการทำงาน  ในระยะที่  ๒  ซึ่ง  กำหนดระดับผลลัพธ์  ไว้  ๓   ขั้น  ๓  ระดับดังนี้ 
                             ระดับทีี  ๑  ทีม  สามารถจัดทำแผนปฎบัติการ  ได้อย่างชัดเจน 
                                                      -มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน  ว่าจะดำเนินการกับใคร 
                                                      -มีกิจกรรมปฏิบัติการวิจัยชัดเจน
                                                      -วางแผนปฏิบัติการได้  และขับเคลื่อนแผนงานได้ 
                                                       -มีฐานข้อมูล  บุคคลที่เกี่ยวข้อง 
                                                      -มีภาคีการพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

                              ระดับที่  ๒   ทีมนำแผนไปสู่ปฏิบัติการได้อย่างชัดเจน 
                                                  -มีแผนงาน  และนำแผนไปสู่การปฏิบัติการได้ 
                                                   -สามารถประเมินความเสี่ยงของโครงการได้ 
                                                   -จัดเก็บข้อมูลจากการปฏิบัติการได้อย่างเป็นระบบ
                                                   -มีการจัดเก็บข้อมูลเรื่องรายได้  การเพิ่มขึ้นของรายได้
                                                      ของกลุ่มเป้าหมาย 
                          ระดับที่  ๓      งานวิจัยสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 
                                                 -มีการตรวจสอบกิจกรรมการวิจัยว่าสามารถทำให้บรรลุผลลัพธ์
                                                     ได้หรือไม่ 
                                                -สรุปผลการดำเนินงานวิจัยได้
                                                -จัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูณณ์ 
                                                -นักวิจัยได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ 


                           แผนปฏิบัติการของ  ชุดโครงการสัมมาชีพที่จะหนุนงานพื้นที่  ประกอบด้วย 
                           (๑) การประชุมวางแผนงาน  และประชุมสัญจรแต่ละพื้นที่  เดือนละ  ๑  ครั้ง 
                            (๒) การติดตามการปฏิบัติการระดับพื้นที่ จำนวน  ๕  พื้นที่ 
                          (๓)เวทีเรียนรู้สรุปผลการปฏิบัติการวิจัย แต่ละพื้นที่ 
                            (๔)การนำเสนอความก้าวหน้า ฉบับสมบูรณ์ ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ 
                           (๕)ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ 

                        หลังจากนั้น  ได้จัดแบ่งให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง  ๕  พื้นที่ ได้ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทบทวน และวางแผนปฏิบัติการวิจัย  ในระยะที่  ๒  รายพื้นที่  ว่าแต่ละพื้นที่  จะมีกิจกรรม  ในการปฏิบัติการวิจัยอย่างไร   บ้าง   ให้เวลา  สนทนากลุ่มย่อย  ๓๐  นาที  และ    มีตัวแทน  นำเสนอ  ที่ประชุมใหญ่ 


                          แผนปฏิบัติการวิจัยรายพื้นที่   มีรายละเอียด  ตามภาพ  ดังนี้



                           แผนปฏิบัติการวิจัยบ้านโพธิ์สามัคคี 


                       แผนปฏิบัติการวิจัย  บ้านหนองเชียงทูนใต้


                      แผนปฏิบัติการวิจัย  บ้านหนองแวง



                      แผนปฏิบัติการวิจัยบ้านห้วยยาง



                      แผนปฏิบัติการวิจัย  บ้านหนองสะมอน 


                         เมื่อแต่ละทีมนำเสนอผลเสร็จ  แล้วจึงได้เติมเต็มข้อมูลร่วมกันโดยมีจุดเน้นสำคัญสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่  ๒  คือการ  เน้นสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน  เคลื่อนชุมชนบนฐานการเรียนรู้ร่วมกัน   โดยกิจกรรมสำคัญที่ควร  ดำเนินการ  คือ 
                        (๑)  การประชุมทีมวิจัยเพื่อติดตามงาน  เดือนละ  ๑  ครั้ง 
                        (๒)การพัฒนา  ให้มีกลไกชุมชน   หรือติดตั้งงาน  ในกลไกชุมชน  ในระบบปกติชุมชน  อาจผลักดันให้มี  กลุ่มกิจกรรม  กลุ่มองค์กร  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  OTOP  SME  หรือ ธุรกิจชุมชน  เพื่อเป็น  แกนหลักในการสร้างความยั่งยืน   ให้เกิดแก่ชุมชน 

                            (๓)  ให้ขับเคลื่อน  ครัวเรือน  ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม  ก้าวไปสู่การพึ่งพาตนเอง  มีกิจกรรมการพึ่งพาตนเอง  เป็นครัวเรือนต้นแบบ  ที่สามารถขยายองค์ความรู้  สู่คนอื่นๆ  ได้ 



      ปิดประชุมเวลา  ๑๖.๓๐  น. 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้