ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร


          ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นั้น  ในแนวคิดการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ  กำหนดกลุ่มงาน หรือแนวทางในการพัฒนาไว้    กลุ่มก้อนใหญ่  นับตั้งแต่งาน  ด้านการเกษตร  การแปรรูป  และการท่องเที่ยวชุมชน  เป็นเส้นทางสู่หมุดหมายเรื่องการสร้างรายได้ให้ชุมชน  อย่างเป็นกระบวนงานเป็นขั้นเป็นตอน 

          ผู้เขียนเห็นว่า งานการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนนั้น  ดูเสมือนจะเป็นเรื่องที่เป็นจุดมืดบอด  เท่าที่ลงพื้นที่ทำงานชุมชน  พบว่าคนในพื้นที่ส่วนใหญ่  จะไม่ค่อยใส่ใจในการนำผลผลิตต่างมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจมากนัก  ทั้งๆ  ที่ภูมิปัญญาหรือชุดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของคนในชุมชนก็มีอยู่ไม่น้อย  แต่เราจะคุ้นชินกับการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรออกไปสู่ตลาดโดยตรงมากกว่าการนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน 


          ดังนั้น ผู้เขียน  จึงการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  โดยความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน เครือข่ายพัฒนากรคนกล้าคืนถิ่น  คุณมิตร  คนกล้าคืนถิ่น  และชุดโครงการวิจัยสัมมาชีพชุมชน   โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้  เรื่องการเผาถ่านจากเศษไม้หรือกิ่งไม้ขนาดเล็ก  ให้เป็นถ่านที่มีคุณภาพ  ซึ่งในการจัดงานดังกล่าว  มีกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรม  กว่า  ๓๐  คน  ซึ่งคุณมิตร  คนกล้าคืนถิ่น  เป็นวิทยากรบรรยาย แนวทาง และแนวคิดการเผาถ่าน  หลักสำคัญคือการนำกิ่งไม้ที่เรามีอยู่  หรือเศษไม้  มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นถ่านที่มีคุณภาพสูง สามารถสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้ครอบครัวอีกด้วย
          นายธนวัฒน์ ยงกุล  หนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม  สะท้อนหลังการอบรมว่า  
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ และตอบโจทย์ของตนเองได้ดี  เพราะ คุณธนวัฒน์  ยงกุล  มีแปลงไม้เศรษฐกิจที่ปลูกมาหลายปี  มีต้นยางนาเป็นหลักและมีพื้นอื่นๆ  ด้วย  หลังอบรมก็ได้ไปทดลองเผาถ่านด้วยตนเอง  และได้ถ่านที่มีคุณภาพดี ได้ใช้ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ จริง


          เมื่อผ่านหลักสูตรการเผาถ่านแล้ว  เรายังมีการให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง  โดยขยับไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าของถ่านไปอีกขั้นหนึ่ง  โดยผู้เขียนได้ประสานวิทยากรมาอบรมให้ความรู้  เพิ่มเติม รอบนี้  เป็นหลักสูตรว่าด้วยการผลิตสบู่ จากถ่าน และผลไม้ตามฤดูกาล   โดยให้พื้นที่เตรียมวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมา  อาทิ  ถ่านจากลำไผ่  ว่านหางจระเข้  แก้วมังกร  โดยกระบวนการในการทำสบู่ ก็เป็นความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ทั่วไป  สามารถสืบค้นจาก สื่อต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  คุณสมถวิล  ทวีชาติ  วิทยากรชุมชน  ได้นำพาพี่น้องเรียนรู้เปิดใจรับความรู้ใหม่ เรียนรู้จากการลงมือทำ  ได้ทั้งความรู้  ความสนุกสนาน  ได้สบู่ไปใช้กันด้วย   สบู่จากไผ่ให้สีดำมันวาว  สบู่จากแก้วมังกร ออกสีชมพู  พี่น้องได้ความรู้ไปต่อยอดในการทำสบู่ใช้เองอย่างง่ายๆ  บางคนสะท้อนว่าจะต่อยอดการผลิตสบู่เพื่อเป็นของที่ระลึกในงานต่าง ๆ   แต่ที่แน่ๆ  คือ  เราสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้  ถ้าใส่ใจนำผลผลิตหรือวัตถุดิบในชุมชน  มาแปรูปเพิ่มมูลค่า 




          สิ่งที่ผู้เขียนบอกกล่าวเล่าแจ้ง  เป็นกระบวนการเรียนรู้ เรื่องงานแปรรูปอย่างง่าย ที่สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน  บนพื้นฐาน การที่ชุมชนมีทรัพยากรหรือวัตถุดิบใกล้ตัวแล้วนำมาเสริมเพิ่มมูลค่า  ให้เกิดการสร้างรายได้  การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ  ให้เกิดขึ้นในชุมชน  ถ้าชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  นำองค์ความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมาสู่ชุมชน  เชื่อแน่ว่า  เราจะมีผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกหลากหลายชนิด  และจะเกิดการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ในท้องถิ่น   



       

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้