ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัฒนากร พัฒนางาน

"ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง"  เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  ที่ขับเคลื่อนการทำงาน ในตำบลหมู่บ้าน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตาม วิสัยทัศน์การพัฒนา ดังกล่าว  ผมเองทำหน้าที่ ในบทบาท "พัฒนากร" มาเป็นระยะเวลามากกว่า  ๑  ทศวรรษ  (ซึ่งก็คือชื่อเรียกขาน  นักพัฒนาที่สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน  )   คลุกคลีตีโมง กับคนชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุน  ให้พี่น้องประชาชน  เกิดการเรียนรู้  ผ่านบทเรียนการพัฒนา  ในรูปแบบต่าง ๆ  เพื่อสร้างคน  สร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 


ผมมีบทเรียนการทำงานในระดับพื้นที่  ที่น่าประทับใจมาแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของชุมชน บ้านไฮน้อย  หมู่ที่ ๕   ตำบลกู่  อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ  หมู่บ้านไฮน้อย เป็นหมู่บ้านชาวกูย ที่ใช้ภาษากูย  ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน   เป็นหมู่บ้านขนาดกลางมีครัวเรือนอาศัยอยู่ประมาณ  ๑๒๐  ครัวเรือน   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้  ห่างจากที่ว่าการอำเภอปรางค์กู่  ประมาณ  ๘  กิโลเมตร   หมู่บ้านแห่งนี้  มีชื่อเสียงในการผลิตไม้กวาดจากก้านตาล  ประชากรของหมู่บ้านทุกครัวเรือน   ทำไม้กวาดก้านตาล  จำหน่าย  เป็นการสืบทอดความรู้ภูมิปัญญา การจักสาร จากบรรพบุรุษ ที่ส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น  จนถึงปัจจุบัน   จนสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างงดงาม  

 


ด้วยการที่ทำหน้าที่  พัฒนากร  จึงมีโอกาสได้ลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ  ผมมาที่ชุมชนแห่งนี้  เพื่อสอบถาม ติดตามข่าวสาร  และให้กำลังใจ สมาชิกกลุ่มผลิตบ้านไม้กวาดก้านตาล ที่ได้จดทะเบียน ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  จากการสนทนาพูดคุย  กับ  แม่น้อย  เตชะ  ผู้ผลิตไม้กวาดก้านตาล  ท่านเล่าว่า    ได้เริ่มลงมือผลิตไม้กวาดก้่นตาล  มายาวนาน  ในราวประมาณ  พ.ศ  ๒๕๑๐     แต่เป็นการทำเพื่อใช้สอยในครอบครัว  ในอดีตส่วนมาก  เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ  ทำเป็นส่วนใหญ่  ทำง่าย  มีวัตถุดิบในท้องถิ่น เกือบทั้งหมด  ไม่ต้องซื้อหามาจากที่ไหน    

 

ต่อมาในปี พ.ศ  ๒๕๕๔  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่  ได้เข้ามาส่งเสริมการเรียนรู้  ในชุมชน  โดยการจัดเวทีเรียนรู้   เพื่อวิเคราะห์  ทุนในชุมชน  ในด้านต่าง ๆ ประกอบกันเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้าน  ซึ่งหมู่บ้านไฮน้อย   ได้นำเสนอถึงการต่อยอด  ภูมิปัญญาการผลิตไม้กวาดก้านตาล เพื่อสร้างงาน  สร้างรายได้  สร้างอาชีพให้ชุมชน  ซึ่งชุมชนมีทุนเดิมในด้านนี้อยู่แล้ว  เพียงแต่  มีอุปสรรคบ้างในบางขั้นตอนการผลิต  ที่มีความยุ่งยาก   โดยเฉพาะขั้นตอนการ   แปรรูปก้านตาล  ให้เป็นเส้นใย  ที่จะนำไป  ถักทอเป็นไม้กวาด  ดังนั้น  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่  จึงได้สนับสนุน  เครื่องทุบก้านตาลเพื่อแปรรูป  ให้เป็นเส้นใย   ให้แก่ชุมชน   

การปลดล็อก  ความยุ่งยาก ในขั้นตอนการผลิต ส่วนนี้เอง  ที่เป็นการจุดประกายความคิดให้ชุมชน  และมีการขยายผล  รูปแบบการผลิตดังกล่าวออกไปอย่าง  กว้างขวาง  และมี  การขยายปริมาณการผลิตมากขึ้น   จนครบทุกครัวเรือน  ในวันนี้

นายตอย  ทองก่ำ  ผู้ใหญ่บ้านไฮน้อย  กล่าวว่า   ในปัจจุบันชาวบ้านไฮน้อย ทุกครัวเรือนจะทำการผลิตไม้กวาดก้านตาล เป็นอาชีพเสริม   ซึ่งใน ๑ ครอบครัวสามารถ  ผลิตไม้กวาด  ได้ประมาณ  ๓-๕  ด้ามต่อวัน  โดยกำหนดราคาขาย  ที่ราคา  ด้ามละ   ๗๐  บาท  ทำให้แต่ละครอบครัวมีรายได้  เฉลี่ยวันละ ๓๐๐ -๕๐๐  บาท  ต่อวัน  ทั้งนี้  จะทำการตลาดโดยส่งขายในร้านค้าในตังอำเภอปรางค์กู่  และอำเภอข้างเคียง  และมีคนในชุมชนออกแร่ขายไม้กวาดไปในที่ต่าง  ๆ   นับเป็น  ต่อยอดความรู้ ภูมิปัญญา  สู่การสร้างงานสร้างรายได้   ให้ชุมชน   มีการหมุนเวียนเงินในชุมชน  และระบบเศรษฐกิจฐานรากมีความมั่นคง  

 

สำหรับ ท่านใด  ที่สนใจ  ศึกษาเรียนรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการคิดเพิ่มต่อยอด  นำทุนทางธรรมชาติ  มาใช้ให้เกิดการเพิ่มมูลค่าในทางเศรษฐกิจ สามารถลงมาศึกษาที่พื้นที่ชุมชนบ้านไฮน้อยได้โดยตรง  หรือ ติดต่อ ที่  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่  ได้ทุกวัน ในเวลาราชการ  ครับ  

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้