ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จับตา ก้าวย่าง กองทุนหมู่บ้าน



กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เดินทางก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ๑๓  ในปีนี้ ทันทีที่อัศวินดิจิตอล อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านละ ๑ ล้าน เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เรียกได้ว่า เป็นต้นธารของนโยบายประชานิยมในสังคมไทย ความรู้สึกและอารมณ์ร่วมของคนชนบท ต่างมองเห็นโอกาสและความหวัง  ว่าวันนี้แหละความอยู่ดีกินดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะเดินทางมาทักทายและกระจายจนถึงหัวบันไดบ้าน  สร้างรายได้ ขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน   คือสโลแกนที่นำมาขับเคลื่อน  นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  

 



          กองทุนหมู่บ้านมีฐานะ  เป็นกองทุนหมุนเวียน  มีปรัชญาหลัก ในการดำเนินการเพื่อ เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน ทั้งนี้การดำเนินการตามโครงการนี้  มีความมุ่งหมายให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน  

 



          ผลจากการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ พบว่า  ในรอบ ๑  ทศวรรษ ที่ล่วงมาชุมชนท้องถิ่นต่างร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการในระดับหมู่บ้าน  โดยมีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน  จำนวน  ๙ – ๑๕  คน  ที่แต่ละหมู่บ้าน บริหารจัดการสับเปลี่ยนหมุนเวียน เข้ามาจัดการ  เงินทุนที่รัฐบาลชุดต่าง ๆ  จัดสรรมาให้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า  หมู่บ้านต่าง ๆ  มีเงินทุนหมู่บ้านละ  ๒.๒  ล้านบาทต่อหมู่บ้าน เป็นการจัดสรรเพิ่มทุนให้  ในระยะที่     นอกจากนั้นในบางชุมชน ยังไปขอเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่มีนโยบายปล่อยเงินกู้ให้กองทุนหมู่บ้าน  นำไปบริหารจัดการต่ออีก   บางแห่งกู้ไปถึง ๑-๒  ล้าน  เมื่อรวมเข้ากับเงินล้านที่รัฐบาล จัดสรรให้  จึงเท่ากับว่า  บางชุมชนมีเงินบริหารจัดการถึงบ้านละ     -    ล้าน   ซึ่งสถานการณ์นี้เอง  ที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ภาครัฐเปิดเผยออกมาถึง  สถานการณ์หนี้สิน  ในครัวเรือนของคนไทยที่มีสูงขึ้นตามลำดับ  

 



          การกู้ยืมเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน  ส่วนใหญ่มีการดำเนินการตามระเบียบที่รัดกุม  คือ มีระบบบัญชี  การปิดงบดุล  การทำสัญญาเงินยืม  และการบริหารจัดการแบบระบบชุมชนที่ใกล้ชิด  จึงสังเกตเห็นว่า  ปัญหาหนี้ค้างชำระจึงมีค่อยข้างน้อย   แต่จากการสัมผัสข้อมูลเชิงลึกแบบคลุกคลีตีโมง  กับงานกองทุนหมู่บ้านจึงมองเห็นประการหนึ่งว่า  ในเบื้องลึกของการชำระหนี้ตามกำหนดเวลาและเป็นหนี้ที่ดี  นั้น   แท้จริง  สมาชิกกองทุนส่วนหนึ่งกำลังมีปัญหาที่เรียกว่าวัวพันหลักบริหารจัดการหนี้แบบหมุนหนี้  ให้รอดพ้นไปเป็นรายปี โดยมีคณะกรรมการไปกู้ยืมเงินนายทุน  มาชำระหนี้ให้  และ ให้สมาชิกกองทุน  จ่ายออกเบี้ยให้นายทุน  เป็นลักษณะหมุนเวียนหนี้สิน  ซึ่งการดำเนินการลักษณะนี้  เอง  สาเหตุเนื่องจากสมาชิกมิได้นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์การกู้ยืม  มิได้นำเงินไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจ มิได้เกิดรายได้จริง  คนที่รับประโยชน์ ได้ประโยชน์จริง ๆ  คือนายทุนเงินกู้  

 



          นายปิง   สมเพชร       ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสมอ  อำเภอปรางค์กู่ กล่าวว่า  ตนในฐานะประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลสมอ  ซึ่งดูแลกองทุนหมู่บ้านในระดับหมู่บ้าน  จำนวน  ๑๗  หมู่บ้าน  ทราบดีว่าสถานการณ์กองทุนหมู่บ้านในวันนี้  ล้วนอยู่ในสถานการณ์หมุนหนี้  สมาชิกกองทุนฯ  ที่กู้ไปไม่ได้ลงทุนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  เมื่อสิ้นปี   มีความจำเป็นต้องกู้ยืมนายทุนมาชำระหนี้  ซึ่งเครือข่าย ฯ  มองเห็นจุดอ่อนข้อนี้  จึงพยายามรณรงค์สงเสริมให้สมาชิกดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กู้ยืมไป  จะได้มีเงินใช้หนี้  และในอีกมุมหนึ่งตอนนี้เครือข่ายกำลัง  ริเริ่มสร้างกองทุนเครือข่ายขึ้นมาดูแล  ในส่วนนี้  โดยการระดมเงินออมจากสมาชิก เป็นกองทุนไว้ที่ส่วนกลาง  เมื่อใดที่กองทุนต่าง ๆ  ไม่มีเงินใช้หนี้  ก็จะใช้เงินก้อนนี้  ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดีกว่าไปยืมเงินนายทุนเงินกู้  ซึ่งดอกเบี้ยแพงมาก 



          นายธนสกล  มะลัยทอง  นักวิชาการพัฒนาชุมชน  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนหมู่บ้าน กล่าวว่า  สถานการณ์กองทุนหมู่บ้าน  ณ วันนี้ยอมรับว่า  มีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านบางแห่งได้นำเงินกู้จากนายทุนนอกระบบ  มาบริหารจัดการปล่อยกู้ให้สมาชิกนำไปชำระหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นผลเสียต่อสมาชิกที่ต้องชำระดอกเบี้ย    ทาง  ทั้งดอกเบี้ยเงินกองทุน  และเงินนายทุนเงินกู้   สาเหตุสำคัญที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์นี้ เนื่องจากสมาชิกขาดวินัยในการใช้จ่ายเงิน  ขาดความรับผิดชอบ  ในการชำระหนี้เพราะเงินที่ได้กู้ยืมมา  ไม่มีการลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง แนวทางแก้ไขปัญหาจากกรณีนี้   ควรให้ชุมชนมีการบูรณาการกองทุนในชุมชน  จัดระบบให้มีการนำเงินมาหนุนเสริม  แก้ไขปัญหาร่วมกัน  โดยชุมชน  และในส่วนสมาชิกเอง  ต้องสร้างวินัย  ในการกู้ยืม  การใช้จ่ายเงิน  แบบพอประมาณพอเพียง  มีเหตุผล  และมีภูมิคุ้มกัน   ในตัวเอง  

 

 



          จากสถานการณ์ดังกล่าว  นับว่ากองทุนหมู่บ้านได้เดินทางมาถึงจุด  ที่น่าสนใจว่า  จะออกจากสถานการณ์นี้อย่าง ไร  จะมีหลักคิดแบบไหนมากำกับทิศทางการเดิน และหาจุดที่เหมาะสมลงตัว  ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน  ก่อนที่กองทุนหมู่บ้านจะเดินทางไปสู่จุดที่ทุกคนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้  และหวังว่าคงจะได้ถึงขนาดต้อง  ใช้คำพูดว่า ไม่หนี  ไม่มี  ไม่จ่าย อยากได้ฟ้องเอา  บทเรียนที่เจ็บปวดในอดีต  คงไม่ตามมาหลอกหลอนอีกคำรบ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้