ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นักพัฒนา : สะพาน

ปี พ.ศ ๒๕๕๕  ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ โครงการสะพาน ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี เนื่องจาก ม.อุบล ฯ  เปิดโอกาสให้ชุมชน เสนอรับทุนวิจัยขนาดย่อย ผมก็ ไม่ละทิ้งโอกาส  นั้น  เพราะเป็นโอกาสหนึ่งในการทำงานชุมชน  ในพื้นที่   

ผมชอบ คำว่า  สะพาน  เสมือนเป็นข้อต่อ หรือทางผ่าน เชื่อมโยงให้ใครต่อใคร หรือตัวเอง  เข้าถึงโอกาส   ทำตัวเป็นสะพาน  อาจถูกเหยียบถูกย่ำบ้าง  ถูกลืมบ้าง  ก็ ไม่เป็นไร   ถ้าเขาไปพบโอกาสที่ดี  จริงมั้ย  

สะพาน หมายถึง

น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง เป็นต้น บางทีทํายื่นลงในนํ้าสําหรับขึ้นลง ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสองของอาคารที่เป็นตึกโบราณ โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว ตะพาน ก็ว่า.

พวกเรา เลือกเสนอ  โครงการวิจัย  ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนบ้านรงระ   เนื่องจากเราเล็ง  เห็น  ถึงความสำคัญของป่าชุมชน  ที่มีอยู่จำนวน  ๒๐๐  ไร่ ที่ชุมชนรักษาไว้  ถ้า  ไม่สืบสาน  การทำงาน  ให้เยาวชนคนรุ่นหลัง   เด็กอาจมอง  ป่าชุมชนเป็นเพียงต้นไม้    หลายต้น มารวมกัน  อาจมองไม่เห็นความสำคัญ  อื่น  ที่ซ่อนอยู่แน่นอน  


พวกเราได้เรียนรู้ถึงความรู้ใหม่ ๆ  จากการเติมเต็ม  ของนักวิชาการ  หนุ่มสาวชาว  มหาวิทยาลัยอุบล ฯ  ที่สนใจ  ทำงานสนับสนุนชุมชนอย่างเป็นระบบ และผมเอง ก็ชื่นชม  อาจารย์ หนุ่มสาวเหล่านี้  อย่างยิ่ง  ว่า   นี่ คือ มหาวิทยาลัยที่พยายาม  มาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น  เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อปวงชน  ไม่อยู่บนหอคอยงาช้าง   ช่วงหลัง ๆ  มหาลัยทุกแห่ง  ก็จะเริ่มมีทิศทางการทำงานลักษณะนี้  ซึ่ง  เป็นเรื่องที่ดีมาก   เพราะที่นั่น  เป็นที่รวมของปัญญาชน  ถ้าพวกเขาลงมาอย่างจริงจัง   ชุมชนจะได้ประโยชน์มาก  (หรือบางทีเขาลงนานแล้ว  แต่เราไม่รู้  5555)


 

ซึ่งผลงานการวิจัย  ชิ้นเล็กนี้  นายสรรณ์ญา กระสังข์ เป็นหัวหน้าโครงการ ฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากน้อง ๆ เยาวชน  และทีมผู้นำชุมชนบ้านรงระ เป็นอย่างดี  ผลส่วนหนึ่งจากโครงการวิจัย  ของเรา  เรานำข้อมูลมาปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมโดยเยาวชนบ้านรงระ  จัดกิจกรรม    "บวชป่า สืบชะตาป่าชุมชน"    

 

และทีมสื่อจากไทยพีบีเอส  ก็ได้มา  ถ่ายทอดบทเรียนของเราออก  สู่สาธารณะในรายการ  ทุกทิศทั่วไทย  อีกด้วย   .............   

(๑)บทคัดย่องานวิจัย

(๒)บทที่ ๑ บทนำ

(๓)บทที่ ๒ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

(๔)บทที่ ๓  ระเบียบวิธีการวิจัย

(๕)บทที่ ๔ ผลการศึกษา

(๖) บทที่  ๕ สรุปและข้อเสนอแนะ

ภาคผนวก ภาพกิจกรรม

ภาคผนวกรายชื่อทีมวิจัย

ข่าวช่วงทุกทิศทั่วไทย

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้