ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เราต่างขัดเกลา ซึ่งกันและกัน

ผมสนทนา กับอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่เคยร่วมกันทำงาน  ในประเด็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น  ปัจจุบันท่านผันตัวเอง ไปเป็นอาจารย์สอน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขาการพัฒนาสังคม  ใจความสำคัญของการสนทนา  ท่านมีความประสงค์ที่จะส่งลูกศิษย์ของท่าน  มาฝึกประสบการณ์กับผม ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่  ด้วยความที่ผมเป็นเพียง พนักงานในระดับปฏิบัติการ  ในองค์กรเท่านั้น   จึงแบ่งรับแบ่งสู้  ไม่กล้ารับปากไป ได้แต่  บอกว่า  ขอไปปรึกษาผู้บังคับบัญชาก่อน 



กาลเวลาผ่านไป นานพอสมควร  ผมจึงได้รับสายโทรศัพท์  จากน้อง ๆ  นักศึกษาที่ ม.ราชภัฎบุรีรัมย์ มาติดต่อพูดคุย  เรื่องการฝึกประสบการณ์  ที่ อ.ปรางค์กู่ จำนวน  ๕  คน  ซึ่งผมปรึกษาท่านผู้บังคับบัญชา แล้ว  มีความเห็นร่วมกันว่า   นักศึกษาฝึกงาน  ๕  คน  นั้น  มีปริมาณมากเกินกว่า  ที่สำนักงานจะรับได้  ดังนั้น   จึงเสนอท่านไปว่า   ขอออกแบบงานให้นักศึกษา  ทำงานในพื้นที่  นอนในหมู่บ้าน  โดยท่าน  ให้ผมเป็นพี่เลี้ยง  ดูแล  กำกับ ติดตามสนับสนุนการทำงาน  ของน้องให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการฝึกประสบการณ์   ที่นี่    ตลอดระยะเวลา   ๒   เดือน  ซึ่งเงื่อนไขการนอนพื้นที่  น้อง ๆ ก็ยอมรับได้   จึงตกลงปลงใจ  มาทำงานร่วมกัน   กระทั่งปัจจุบัน



ผมได้ออกแบบ  ให้น้อง  นอน ทำงานในชุมชน  ศึกษางานจากชุมชนเชิงลึก  ตามแนวทางของนักมานุษยวิทยา  ที่ต้องคลุกคลีตีโมง กับชุมชน  เรียนรู้พร้อมๆ  กันกับประชาชน  ซึ่งหลักสูตรนี้  เพื่อพัฒนากร ที่สำนักงานพัฒนาชุมชน   ต่าง  บอกว่า  เป็นหลักสูตรที่ค่อนข้างโหด  ลำบากลำบน  ไม่รู้จะอยู่จะกิน  หรือนอน  แบบไหน  อย่างไร  แต่ผมก็ใจแข็ง  และคิดว่า  ไม่หนักจนเกินไป  เพราะ  ผมเองก็เคยผ่านสถานการณ์ เช่นนี้  มาบ้าง  เมื่อครั้ง  เป็นนักศึกษา

ตลอดระยะเวลา  ๒  เดือน  น้อง ๆ  ได้เรียนรู้  กับชุมชน   ถึง   ๕  ชุมชน   และได้ใช้เครื่องมือ  ๗  ชิ้นของ ดร.โกมาตร   จึงเสถียรทรัพย์  เป็น  เครื่องมือ   ในการทำความเข้าใจกับชุมชน  การอยู่การกินของน้อง ๆ  จึงผูกพันธ์  กับ  สภาพของชุมชน  ชุมชนบางแห่งดูแลน้องอย่างดี  บางแห่ง ก็ให้ดูแลตัวเอง  บางแห่งให้กินนอนที่  ศาลาประชาคมหมู่บ้าน  บางแห่งก็ให้นอน  ในครัวเรือน   แต่อย่างไรก็ตามคงจัดว่า  ไม่ลำบากมากนัก  แต่พวกเขา  กับบอกว่า  ชื่นชอบ  ชีวิต  แบบนี้   ผมแอบดู  และสังเกต ความเป็นอยู่น้อง ๆ  โดยส่องเฟสบ้าง  ตั้งกลุ่มลาย  บ้าง  เพื่อสื่อสาร  กันระหว่างผม  กับน้อง ๆ  บางคนบอกว่า  ชอบชีวิตแบบนี้    มันลูกทุ่ง  อินดี้    มีเรื่องเรียนรู้  ใหม่  ๆ   ตลอดระยะเวลา  ของการฝึกงาน    ทั้งนี้  สามารถสรุปเนื้อหา  การทำงานได้ดังนี้



(๑)  การสนับสนุนหมู่บ้านห้วยฆ้อง  ตำบลพิมาย  ประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
(๒)  การจัดทำโครงการของบประมาณ  จากกองทุน  สสส.  บ้านก่อ  ตำบลพิมายเหนือ  โครงการผ่านได้รับเงินอุดหนุน   ๑.๙  แสนบาท   น้องได้ช่วยทำอย่างเต็มกำลัง  
(๓)  การขับเคลื่อนโครงการต้นกล้าพันธุ์ดีศรีสะเกษ  โดยเก็บข้อมูล  จากเครื่องมือ  ๗  ชิ้น  และจัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้าน   ชุมชนแห่งนี้  ผ่านการคัดเลือก  เข้ารอบ   ๘  หมู่บ้าน  จาก  ๒๒  หมู่บ้าน  นี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลงาน  ของ  น้อง  ๆ  ที่ช่วยกันทำงาน
(๔)  การขับเคลื่อนบูรณาการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  บ้านโพธิ์สามัคคี   ทำกิจกรรมเพาะกล้านาโยน   เพื่อสร้างการเรียนรู้ของประชาชน   จนประสบผลสำเร็จ  
(๕)  การสนับสนุน  หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  บ้านรงระ  เป็น  งานสุดท้าย  ก่อนที่จะครบระยะเวลา   ในการฝึกประสบการณ์


ผมได้เรียนรู้  อะไร   บ้างจากการรับ  น้องมาฝึกงาน  ผมเชื่อว่า  เราได้เรียนรู้  และเติมเต็มซึ่งกันและกัน ผมได้โอกาส  คิดค้น  งาน  ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ  ในพื้นที่  และมีน้อง  ๆ   ช่วยกันไปลงมือทำ   ให้งานได้บรรลุเป้า  ตามแผนงานที่กำหนด   งานเป็นไปได้ด้วย ดี    ผมก็เบาแรง  ในงาน  บางงานก็มีทีมงานช่วยกันคิดค้น   และลงมือทำ    จนประสบผลสำเร็จ   ผมคิดเสมอว่า   การฝึกงานที่มีคุณค่า  ควรเป็นการฝึกงานที่ได้ทำงาน   ไม่ใช่การมา  นั่งประจำที่สำนักงาน  เพื่อทำงานธุรการเล็ก ๆ น้อย ๆ  เช่น พิมพ์งาน  เสริฟน้ำ  กาแฟ   แล้วรอเวลา  กลับบ้าน  แต่ในมิติที่กล่าวมา  ก็  มิใช่ว่า ไม่มีประโยชน์  เพียงแต่ผมมอง   ว่า   แบบนี้   เป็นการทำงาน  ที่ีได้ประโยชน์   ได้เรียนรู้  มากกว่า  


ในช่วงปลายของการฝึก  งาน  ผมกับน้อง  วางแผนงานร่วมกัน   ๔  ฝ่าย  คือ  ผม   น้องเยาวชน  และนักศึกษาฝึกงาน    ผู้นำชุมชน  กำหนด  แผนร่วมกัน  อย่างชัดเจน  ในระยะเวลา  ๑๐  วันสุดท้าย  ตารางงานถูกวาง  ไว้อย่างแน่น  หนา   แบบเล็งผลสำเร็จ   อย่างมีความคาดหวัง  มีความหมาย  น้อง ๆ   ก็ทำหน้าที่  ตัวเอง ได้อย่างดี    






แต่แล้วเหตุการณ์  ที่สะเทือน ใจทุกคนก็เกิดขึ้น  เมื่อ  อุบัติเหตุ ได้ นำความสูญเสีย  มาสู่ น้องฝึกงาน เขาได้สูญเสีย  บิดา มารดา  ไปอย่างไม่มีวันกลับ  ในเหตุการณ์เดียวกัน   พร้อมกัน ทั้ง  ๒   ท่าน  ผมรู้สึกเสียใจ  และสงสาร  น้องเขา  จับใจ  ถึงแม้  เราจะร่วมงานกันไม่นาน  แต่พูดได้เต็มปาก  ว่าผมรักน้อง ๆ  ทั้ง  ๕  คน  เหมือนน้องชาย  คนหนึ่ง   ผมเสียใจกับเขา



และอยากให้เขา  ได้หยัดยืน  เข้มแข็ง  และก้าวไปข้างหน้า   ให้ได้   ถึงแม้จะทำใจ  ลำบาก  แต่นั่นล่ะมันเป็น  สัจธรรมของชีวิต   ที่   เราทุกคน   ไม่สามารถ  หนีพ้นได้เลย  


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้