ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หยุดซ้ำเติมชาวนา

การผลิตข้าวในฤดูกาลผลิต นี้ของชาวนาบ้านเรา เรียกว่าหนักหนาสาหัส มีปัญหาสารพัดสารเพ ไหน  จะเรื่องต้นทุนการผลิตที่ชาวนา ต้องแบกรับภาระ ค่าจ้างรถไถนา  ค่าปุ๋ยเคมี   ยาปราบศัตรูพืช   ค่าจ้างหว่านข้าว   ค่าจ้างหว่านปุ๋ย  ค่าจ้างรถเกี่ยว ค่าขนส่งไปโรงสี  ฯลฯ  ชาวนาคือกระดักสันหลังของชาติ  คำพูดที่ดูเสมือน จะยกย่องชาวนา  ว่าเป็นคนสำคัญของชาติ  แต่แท้ที่จริงชาวนากลับไม่ได้รับการเหลียวแลมากนัก ปีนี้รัฐไม่มีมาตรการใด ๆ  มาช่วยพยุงราคา หรือสนับสนุนชาวนาเลย   ไม่เพียงการประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงเท่านั้น  ชาวนายังเจอภาวะความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของสภาพภูมิอากาศฝนทิ้งช่วง  ได้ผลผลิตน้อยกว่าฤดูกาลผลิตก่อน ๆ   แล้วยังมาเจอกับราคาข้าวที่ตกต่ำ และการเอารัฐเอาเปรียบ ของพ่อค้าคนกลาง  และบรรดาเถ้าแก่โรงสี  อีกด้วย   

 

            ปัญหาใหญ่ที่ชาวนา โดนบรรดาเถ้าแก่โรงสีน้อยใหญ่ มักนำมาเป็นข้ออ้างในการกดราคาข้าวของชาวนา นั้นก็คือ เรื่องคุณภาพข้าว  ข้าวของคุณไม่ได้มาตรฐาน  จะขายหรือไม่ขาย  ถ้าขายจะได้ราคาต่ำ เมื่อชาวนา  ขนข้าวมาเต็มคันรถแล้ว  ยากนักที่จะนำข้าวกลับไปบ้าน  จึงเข้าสุภาษิตที่ว่า  ผีถึงป่าช้าต้องเผา  เพราะหากขนกลับไปบ้าน  ก็จะมีต้นทุนอื่นที่งอกเงยขึ้นมาอย่างเลี่ยงไม่ได้  

 

            ปัญหาข้าวปน  หรือข้าวชื้น  ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่โรงสีสร้างเงื่อนไขมาหยิบยื่นให้ชาวนา ข้าวของเขาไม่ผ่าน มาตรฐาน ไม่ได้ตามเปอร์เซ็นต์ข้าวตามกรัมที่กำหนด   โรงสีไม่ซื้อข้าวจากชาวนาที่ขนข้าวเต็มรถบรรทุกพร้อมจะขึ้นตาชั่ง  ในกรณีแบบนี้ โรงสีว่าแนวทางในการซ้ำเติมชาวนา  ด้วยการหักน้ำหักข้าวของชาวนา เขาบอกว่ามีข้าวเหนียวปนมาด้วยจากเล็กน้อยถึงมากจะต้องถูกหัก 250 ก.ก./ตัน ลอง นึกภาพดูว่าชาวนาต้องเสียน้ำหนักข้าวให้โรงสีฟรีๆ  250 ก.ก. ถ้าข้าวผม10 ตัน หละต้องเสียข้าวถึง2,500 ก.ก. หรือ 2.5 ตันเลยนะ   หรืออีกแบบหนึ่ง  ก็คือการกดราคาซื้อข้าวของชาวนาลง  ตามปริมาณ ของข้าวที่ปน  จากราคามาตรฐานของปีนี้  ที่ขายข้าวในกิโลกรัมละ  10 -11   บาท  โรคสีก็จะกดราคาข้าวลงมาอยู่ที่  8-9   บาท  ซึ่งมาตรการทั้ง 2  แบบที่โรงสีวางเงื่อนไขไว้  ชาวนาต่างกล้ำกลืนฝืนทน  ยอมรับชะตากรรมอย่างเลี่ยงไม่ได้    

 

            ซึ่งส่วนใหญ่พอถึงฤดูกาลจำหน่ายข้าว  ชาวนาก็นิยมเลือกในแนวทางในการขายข้าวชื้น  ส่วนมากขายได้ในราคากิโลกรัมละ    8-9  บาท   บางรายหนักหน่อยก็ เจอทั้งหักน้ำหนักข้าว  และกดราคา  ก็มี  แต่เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่า  ข้าวทุกคุณภาพที่โรงสีรับซื้อไป  ไม่เคยมีโรงสีแห่งใด  แบ่งแยกข้าวคัดเกรด จำแนกชนิดไว้เลย  มีแต่เทรวมข้าวทุกคุณภาพไว้ที่เดียวกัน  ซึ่งก็พอทราบว่า   โรงสีคงมีเทคโนโลยีระดับสูงในการจัดการปัญหาข้าวปน  และความชื้นอยู่  แล้ว   เหตุไฉนรัฐ  ถึงไม่มาดูแล  ในเรื่องนี้   บ้าง  ถ้าแทรกแซง  เรื่องกลไกราคาไม่ได้  ก็ช่วยควบคุมมาตรการ  การกดราคา  ข้าว โดยการอ้างเหตุคุณภาพมาตรฐานราคาข้าวด้วยเถิดเจ้านายยยยยยยยยยยยส์.

    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้