ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สนั่น ชูสกุล : มนุษย์พันธ์อุดมการณ์

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ -  ๒๕๔๕  เป็นปีที่ผมเรียน หนังสือจบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง  มาอยู่บ้านแบบเก้ๆ กัง ๆ  ไม่รู้  จะทำอย่างไรต่อกับชีวิต ดี  อีกห้วงหนึ่งความคิด  ก็  ยังคิดถึง บรรยากาศ การทำกิจกรรมนักศึกษา  การเคลื่อนไหวทางสังคมบ้าง  ที่ ม.รามคำแหง  มีอะไร  ต่อมิอะไร  ให้เราเรียนรู้เปรียบเสมือน  หนังสือเล่มใหญ่  ที่ยิ่งอ่านยิ่งสนุก   แต่เพราะความยากจน  ประการเดียวเท่านั้น   ที่ทำให้ผม  ไม่มีเวลา  อ้อยอิ่ง  ค้นหาคำตอบ  กับชีวิต  มากนัก  


ปลายปี  พ.ศ.  ๒๕๔๕  เป็นปีที่  พวกเรา  ชาวรงระบุรี   จำนวน  ๘  คน  ทดสอบ  ต้มกลั่นเหล้าพื้นบ้านเพื่อจำหน่าย  ภายใต้วาทกรรม  "เหล้าไม่เถื่อน  แต่กฏหมายเถื่อน "  การทำเหล้าขายในคราวครั้งนั่น  นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่  วิถีชีวิต  ผมตามลำดับ  จากนักต้มเหล้า  สู่ นักเคลื่อนไหว  เรียกร้องสิทธิชุมชน  ตามรัฐธรรมนูญ  ในขณะ  นั้น   จนท้ายที่สุด  ผมจึงได้รับทาบทาม  ให้มาทำงานประเด็นงานเหล้าพื้นบ้าน  ที่จังหวัดสุรินทร์   ในปี นั้น  เอง  

ผมถูกชักชวน  มาทำงานประเด็นเหล้าพื้นบ้าน  ให้รับผิดชอบ  งานผู้ประสานงานเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์   ในขณะเดียวกัน  ก็ทำงาน  วิจัยเพื่อท้องถิ่น (PAR) ในประเด็น การจัดการกากของเสียจากการผลิตเหล้าพื้นบ้าน  งานนี้  นี่เอง  ที่ทำให้ผมได้รู้จัก  อ.สนั่น  ชูสกุล  ในฐานะ  คนทำงานร่วมชายคาเดียวกับท่าน  ที่ มูลนิธิชุมชนอีสาน  ที่ซอย สระโบราณ  


อ.สนั่น  ชูสกุล  ที่ผมสัมผัส  ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่  ที่น่าเคารพนับถือ  บุคลิกท่าท่าง เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน  พูดจาไพเราะ  สุภาพ  และเป็นนักพัฒนา  นักเขียนที่มาผลงาน  เป็นที่ประจักษ์  ในขณะนั้น ผมไม่ค่อยได้พูดจา  กับท่านมากนัก  เพราะ  เกรงอกเกรงใจ  บางที  ผมก็เป็นคนใหม่ที่  รู้สึก  เกร็งๆ  ค่อย เรียนรู้งาน  ไป   ท่ามกลาง  ความมึน งง   ของบทบาทหน้าที่  การทำงาน  ซึ่ง  ในยุคนั้น  ก็ยอมรับว่า  ยังจัดระบบ  ความคิดกับ  งาน  ได้ไม่ชัดเจน  นัก   ผมอยู่ที่  มูลนิธิชุมชนอีสานเพียง ๑  ปี ก็มีอันเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำงาน  และเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน   ในปี  พ.ศ.  ๒๕๔๗  

เมื่อมาทำงานที่บ้าน  ผมติดตามผลงานของท่านสนั่น  ชูสกุล  สม่ำเสมอ  ในยุคที่  การสื่อสาร  ทันสมัย  มีสังคมออนไลน์  ทางเฟส  ยิ่งทำให้ได้ติดตามผลงาน  ได้อย่าง  ไกล้ชิด  ยิ่งขึ้น   เมื่อครั้งท่าน เขียน เรื่องสั้น   พันธ์อุดมการณ์  ผมก็ใช้พื้นที่ออนไลน์   ซื้อหนังสือท่าน  มาอ่าน   

ก่อนหน้านั้น   ผมได้รับการประสาน  จากพี่สนั่น  ชูสกุล  ทางโทรศัพท์  ถึงการขับเคลื่อน ประเด็นงานในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ   ท่านชวนผม  ให้กลับมาทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น   (CBR)   อีกครั้ง  เมื่อเกิด ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ในราวปี  พ.ศ.  ๒๕๕๓   และ ช่วงหลังมานี้  ได้ก่อรูปแนวคิด  ในการขับเคลื่อน  งาน  เกษตรอินทรีย์  และตลาด  นัดสีเขียว ร่วมกัน  ในศรีสะเกษ  เมื่อครั้งสมาคมทามมูน   จัดงานกุ้มข้าวใหญ่  พี่สนั่น  ได้ชักชวนให้ผม  ไปร่วมงาน  ที่เขื่อน  ราษีไศลเพื่อมองแนวทาง  ทำงาน   ผมรับปากว่าจะไป   แต่มีอันคลาดเคลื่อน ไป  เพราะ  เกิดมีภาระงานสำคัญมาแทรกซ้อน  เสียก่อน    


เมื่อวานนี้  ผมตั้งใจ  ไปส่ง  พี่แต  ไปสู่สรรค์   ที่วัดศาลาลอย  ผู้คนเนืองแน่น  บริเวณวัดดูคับแคบ  ผลงาน  และคุณงามความดี  ที่ทำมา  ทั้งชีวิต  ได้ประจักษ์  และพิสูจน์   คน  อย่างแท้จริง  ในงานศพของ  พี่สนั่น   มี มุมมอง  แนวคิดใหม่  ๆ  เสมอ   แม้กระทั่ง  รูปแบบ  การจัดการงาน  ก็เป็นการสร้างการเรียนรู้   ให้แนวคิด  แก่คนอยู่  ได้อย่าง  ชัดเจน   


พี่แต  สนั่น  ชูสกุล  สามัญจน  ที่ยิ่งใหญ่ จริง ๆ  ผมดีใจนัก  ที่ได้สัมผัสชีวิต  คนจริง  แม้  เพียงระยะสั้น  ก็ถือว่า  ได้เห็นทาง  ที่ท่านวางแนว  ในการทำงาน  ท่านคือครู   บนเส้นทาง  นักพัฒนา  ที่บู๊  บุ๋น ทั้งงานร้อน   งานเย็น  ขอคารวอาลัย  ด้วยใจจริง    

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้