ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO)



            เมื่อวันที่ ๙ –๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙  ที่จังหวัดศรีสะเกษ มีการจัด มหกรรม OTOP ศรีสะเกษบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งงานนี้ มี นายกานต์ ธงศรี พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแม่งานในการจัดงานในครั้งนี้  ภายในงานแน่นอนว่า เป็นการรวบรวม คัดเลือก สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่มีความโดดเด่น จากทุกอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ  นอกจากนั้นยังเป็นการผนวกรวมกิจกรรม นิทรรศการโครงการ  ๓๕๖  วัน ศรีสะเกษ พัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มานำเสนอผลงานการทำงานในพื้นที่ ให้ประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมความสำเร็จอีกด้วย 


            ผมมีโอกาสได้เยี่ยมชม งานในครั้งนี้ด้วย  ได้เยี่ยมชมสินค้า OTOP ของแต่ละแห่งที่นำมาเสนอ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  โดยผมไปสะดุดสายตาที่ บูธนิทรรศการกลุ่ม ที่เสนอว่า  KBO แรก ๆ ผมก็งง พอสมควรกับคำว่า KBO  ถึงแม้จะเป็นเนื้องานที่พัฒนาชุมชน หน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบ แต่ด้วยความที่ ผมไม่ได้จับงานทางนี้ มาก่อน  ก็ยากที่เข้าใจ   นายวสันต์   ชิงชนะ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้ขยายความให้ฟังว่า “KBO (Knowledge – Based OTOP : KBO) คือ การส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO เป็นศูนย์กลางในการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตชุมชนในการประกอบการและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีภาคีองค์ความรู้จากภายนอกเข้ามาหนุนงานของ ผู้ผลิตผู้ประกอบการ ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านรูปแบบ ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อการเพิ่มมูลค่าให้มีโอกาสทางการตลาดมากขึ้น  ซึ่งที่จังหวัดศรีสะเกษ ก็จะเป็นการร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ  

   
            นิทรรศการการจัดแสดงของเครือข่าย KBO ในงานนี้ที่ผมสนใจ คือกลุ่มทอผ้าไหมแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งไชย หมู่ที่     ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  ที่นิทรรศการของกลุ่มนี้  เสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายลูกแก้ว หรือผ้าเก็บย้อมมะเกลือ ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดรุ่นต่อรุ่น  จนถึงปัจจุบัน  แต่เมื่อกลุ่มเข้ากระบวนการ KBO ที่สนับสนุนโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ จึงได้นำพากลุ่มเปิดมุมมองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปสู่มิติใหม่ที่มีความ โดดเด่น  ทันสมัย โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนา ได้มา    ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ ผ้าสไบคลุมไหล ที่นำผ้าลายลูกแก้วย้อมมะเกลือแบบดั้งเดิม มามัดย้อม เป็นลวดลายต่าง ๆ  ที่สวย แปลกตา  และปักแซว ให้มีความสวยงาม กำหนดราคาขายที่ผืนละ  ๒,๕๐๐  บาท  ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบบฉีกกรอบ แนวคิดแบบเดิม ๆ  ต่อยอดให้ชาวบ้านมีมุมมองที่หลากหลายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือ การนำผ้าลายลูกแก้วมามัดย้อม และแปรรูปเป็นกระเป๋าถือจากผ้าไหม ที่มีคุณค่ามีความสวยงาม เหมาะสมกับสไตล์คนรุ่นใหม่ ที่มีใจรักและเห็นคุณค่า ของผ้าไหมทอมือ ที่แสนจะปราณีต  สนนราคาใบละ  ๓,๐๐๐  -  ๔,๕๐๐  บาท  เรียกว่า เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ทอมือที่โดดเด่นอีกชนิดหนึ่ง  

            แม่อรพินท์ ศรีบาง ประธานกลุ่ม กล่าว ถึงความรู้สึกที่ได้ผ่านกระบวนการ KBO  เป็นเรื่องที่ดี ที่มีโอกาส ได้ใช้ความรู้ชุมชนท้องถิ่นแบบดั้งเดิม  มาผสมผสาน กับความรู้สมัยใหม่ จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีความน่าสนใจ ซึ่งเมื่อลงมือพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว มีความรู้เพิ่มขึ้น ไม่ยากเพราะเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ และลงมือทำ  เมื่อกลุ่มนำผลิตภัณฑ์นี้ ไปจัดแสดงในงานต่าง ๆ  ก็จะมีผู้ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์  ทั้ง  ๒ ชิ้นนี้  และสั่งจองให้ผลิตสินค้าให้ อยู่อย่างสม่ำเสมอ






            สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ อยากเรียนรู้ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยกระบวนการKBO (Knowledge – Based OTOP : KBO) ท่านสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนทุกอำเภอ ซึ่งจะมีพัฒนากร คอยให้ข้อมูลและเรียนรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กับท่าน  หรือ ท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ   สามารถติดต่อได้ที่ แม่อรพินท์ ศรีบาง ประธานกลุ่ม  เบอร์โทรศัพท์ ๐๙๓๔๑๗๙๐๕๕  ครับ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้