ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการหนี้สินครัวเรือน



การจัดการหนี้สินครัวเรือน

          กล่าวถึงปัญหาหนี้สินในชนบท เป็นปัญหาหนักอกของผู้คนเป็นอย่างยิ่ง นับวันหนี้สินจะเพิ่มพูนงอกเงยขึ้น พิจารณาถึงสาเหตุของการเป็นหนี้ นั้น แต่ละครอบครัวอาจมีที่มาของมูลหนี้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพและบริบทที่ครัวเรือนเป็นอยู่ ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่าสภาพหนี้สินและวิถีการจัดการหนี้สินเข้าข่ายที่น่าเป็นห่วงและกังวลยิ่งนัก 

          หมู่บ้านในชนบทไทย ในวันนี้ มีองค์กรทางการเงินชุมชนขนาดเล็กที่อยู่ในชุมชนจำนวนไม่น้อย ที่มาขององค์กรการเงินขนาดเล็กเหล่านี้ เกิดขึ้นใน ๒ ลักษณะ ทั้งที่เป็นองค์กรจัดตั้งโดยรัฐ และองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนในพื้นที่ องค์กรทางการเงินเหล่านี้ ส่วนมากเป็นกองทุนหมุนเวียน ที่ส่งเสริมเรื่องราวการออมเงิน การกู้ยืมเงิน และการนำเงินกู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเอง ท้ายที่สุดองค์กรเหล่านี้เองที่เป็นเจ้าหนี้ของชาวบ้านในพื้นที่ นี่ยังไม่นับรวมถึงเจ้าหนี้รายใหญ่ ที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ รวมถึงหนี้สินนอกระบบอีกต่างหาก ถ้าพิจารณาในแง่ปริมาณของเม็ดเงินเงินหมุนเวียนในชุมชน กองทุนหมู่บ้านมีเงินที่ปล่อยกู้ไปเป็นพื้นฐานหมู่บ้านละ ๒.๒  ล้านบาท บางแห่งไปขอกู้เพิ่มจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)ได้อีกกองทุนละ ๑ ล้านบาท แล้งยังมีเงินที่รัฐบาลให้กู้ยืมเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ    ล้านบาท กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.) ๒.๘ แสน/หมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตำบลละประมาณ  ๕ แสนบาท เป็นต้น   ในฐานะที่ผู้เขียนคลุกคลีอยู่กับงานภาคสนาม จึงเห็นถึงสภาพการจัดการหนี้สินครัวเรือน เมื่อถึงรอบการชำระแต่ละปี จึงเป็นภาระที่ยากยิ่ง บางพื้นที่มีนายทุนมาตั้งโต๊ะปล่อยกู้ ให้แก่คณะกรรมการกองทุนต่างๆ ในอัตราดอกเบี้ยมหาโหด ปล่อยกู้ไปเพียงไม่กี่วัน คณะกรรมการกู้หมุนเงินจากกองทุนกลับคืนมาให้  นายทุนเหล่านี้ ไม่มีความเสี่ยงแถมได้กำไรงาม ชาวบ้านก็สมัครใจเพราะถือว่าได้แก้ไขปัญหาหนี้สิน  ให้พ้นตัวไปในแต่ละปี 

          สภาพปัญหาและสถานการณ์เหล่านี้เอง จึงเป็นที่มาของ แนวคิดการจัดการหนี้สินครัวเรือน ตามแนวทางหนึ่งครัวเรือนหนึ่งสัญญา ที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดแนวทางให้มีการดำเนินการขับเคลื่อนงาน โดยเจาะจงไปที่การจัดการหนี้สินที่เกิดจาก  องค์กรการเงินชุมชนขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งผู้เขียนเอง มีโอกาสไปจัดเวทีเรียนรู้ร่วมกับชุมชน โดยเริ่มต้นจากการนำข้อมูลสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่ผู้นำชุมชน ร่วมกับผู้นำกลุ่มองค์กรทางการเงิน จัดเก็บข้อมูลมา วิเคราะห์  ให้เห็นสภาพความเป็นจริง พบว่า หนี้สินที่มีอยู่ อยู่ระหว่าง  ๖,๐๐๐  -  ๑๒๐,๐๐๐ บาท  แต่ละครัวเรือนมีแหล่งหนี้สิน อยู่ ๒-๓  แห่ง ระยะเวลาการชำระ อยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม ,มกราคม ,กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งจะเห็นว่า  ในช่วงปลายปีเป็นช่วงปิดงบดุลขององค์กรทางการเงินชุมชน ทุกครัวเรือนต้องนำเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย มาส่งชำระในห้วงนี้  ซึ่งบางสัญญา ก็ต้องส่งพร้อมๆ กัน เมื่อเคลียร์หนี้สินก้อนนี้  เสร็จเรียบร้อย ก็จะทยอยไปจัดการหนี้สินขนาดใหญ่ของเกษตรกร  คือหนี้สินกับทางธนาคารต่าง ๆ ในราวเดือนมีนาคมของทุกปี  





             จากข้อมูลที่มีอยู่ และเวทีการพูดคุย จะเห็นว่า ส่วนมาก ผู้นำชุมชนจะเห็นด้วยว่า ควรยุบรวมสัญญาเงินกู้จากองค์กรการเงินชุมชนขนาดเล็กให้เหลือ    สัญญา  ซึ่งเป็นการจัดการหนี้สินในลักษณะลดภาระหนี้สินของครัวเรือน แต่เป็นหมุดหมายหนึ่ง ที่อย่างน้อยกลุ่มเป้าหมายก็ได้มาทบทวนหนี้สินของตัวเอง ในอนาคตอาจจะมีรูปแบบการจัดการ แผนพัฒนาชีวิต เพื่อปลดหนี้สินกันต่อไป 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้