ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แม่ที่ผมจำจำ โดยสรรณ์ญา กระสังข์




แม่ที่ผมจดจำ (๑)
สรรณ์ญา กระสังข์

ในฐานะ ที่เป็นลูกชายคนเล็ก หรือลูกที่กำเนิดขึ้นโดย ไม่ได้ตั้งใจของครอบครัว ผมมีอายุห่างจากพี่ ๆ นับ ๑๐ ปี ด้วยเหตุนี้
จึงทำให้ผมมีอุปนิสัย ที่ติดแม่ กลับจากโรงเรียน สิ่งแรกต้องได้พบหน้า แม่ก่อนลำดับแรก จึงค่อย ๆ ไปทำอย่างอื่น

เมื่ออายุครบเกณฑ์ (๖ ปี) ต้องเข้าโรงเรียน ผมประกาศเจตนาตั้งแต่ ต้นแล้วว่า หัวเด็ดตีนขาดอย่างไร ก็จะไม่ไปเรียน สาเหตุ เท่าที่จดจำได้ คือ ความกลัว และไม่อยากห่าง ครอบครัว
ผมรู้สึกกลัว พระอาทิตย์ขึ้น ไม่อยากให้เช้า ไม่อยากไปโรงเรียน ผมคิดเสมอ และเตรียมการไว้ทุกวันว่า เช้านี้ จะไปเล่นไปหลบ เสียที่ไหน ดี ให้พ้นสายตาของแม่ ที่เดินหาผมทุกเช้า หาข้าวหาน้ำให้กิน เพื่อเตรียมตัว ไปโรงเรียน
บางครั้ง บางที แม่ก็มีไม้เรียว ที่สามารถ หาได้ คว้า มาตีผมเพื่อบังคับ ให้ไปโรงเรียน ชีวิตผมเป็นเช่นนี้ ไม่ยอมไปเรียน นาน นับปี แต่แม่ก็ไม่เคย ลดละ ความพยายาม ที่จะหาวิธีการจัดการให้ผมไปโรงเรียนในทุกๆเช้า

แม่ที่ผมจดจำ(๒)
สรรณ์ญา กระสังข์
ความพยายาม

ชื่อเสียงของผมดังกระฉ่อน ไปทั้งโรงเรียนบ้านขี้นาค
ทุกคนรู้ดีว่าทุกๆเช้า ผมจะถูกถูลู่ถูกังมา โรงเรียน แม่พาผมมาโรงเรียนทั้งคราบน้ำตา เสียทุกวัน

วันไหนที่ พฤติกรรมผมแย่มากๆ จะถูกโบย ด้วยไม้เรียว
ที่หาได้ไกล้มือ กว่าจะยอมเข้าห้อง ก็เล่นเสียเหงื่อตกทีเดียว

แม่เล่าให้ฟังภายหลังว่า หลังจากส่งผมเข้าห้องแล้ว จะออกมานั่งเฝ้าอยู่บริเวณ โรงเรียน อยู่เช่นนั้น เกือบๆ 3 เดือน โดยนำงานบ้านมาทำที่นี่ เช่น งานถักเย็บผ้า ต่างๆ เหตุที่ต้องนั่งเพราะถ้า ผมไม่เห็นแม่ จะวิ่งกลับบ้านทันที
ความพยายามของแม่ นั้นสูงมาก ถ้าแม่ไม่ทำเช่นนั้น โอกาสทางการศึกษาของผม คงจบ ไปตั้งแต่ต้นเสียแล้ว

แม่ที่ผมจดจำ(๓)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน นักปลูก

วิถีชีวิต โดยส่วนใหญ่ ของแม่ จะอยู่ที่สวนหลังบ้าน นับตั้งแต่ เด็กจวบจน โต ผมเห็นแม่มุ่งมั่นมาก กับการปลูกพืชผักสวนครัว
สวนหลังบ้านของแม่ เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่ออกแรงออกกำลังกาย เป็นแหล่งรายได้ จุนเจือครอบครัว เลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ ด้วยวิถีนักปลูก
กล้วย ฟักทอง ผักบุ้ง มะเขือ แตงกวา มัน คะน้า เผือก หมาก. พลู พืชเหล่านี้ สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่ทั้งปี มีรายได้ จากพืชนี้ เกือบทุกวัน
หลายๆ คนยอมรับ ในความขยัน อดทน ของแม่ แปลงของแม่ ไม่มีหญ้า ไม่มีวัชพืช เพราะแม่ไม่ปล่อยให้มี แม่ทำงาน นักปลูกจนวาระสุดท้ายของชีวิต
แม่ คือ นักปลูกที่ยิ่งใหญ่ ของลูกหลาน

แม่ที่ผมจดจำ(๔)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน นักขาย

เวลาตอนสาย ๆ ของวันหยุด ผมจะไปวิ่งเล่น กับกลุ่มเพื่อน ๆ ในทุ่งนาข้างบ้าน บ้างก็ชะเง้อทาง รอคอยการกลับมาของแม่
ในหนึ่งสัปดาห์ แม่จะรวบรวมผลผลิต ไปขาย ประมาณ 3 วัน ภาษาบ้านเราเรียกกันว่า "จีเคราะ " แม่หาบตะกร้านำ สินค้า. พวก ขิง ข่า กล้วย มัน เผือก ไปขาย ลัดเลาะตามหมู่บ้านระยะทาง ไปกลับ ราว 4-5 กิโลเมตร มีรายได้ ครั้งละ 1-3 ร้อยบาท
แม่เป็นทั้ง คนผลิต และคนขาย ในคราวเดียวกัน เมื่อแม่กลับถึงบ้านแน่นอนว่า จะมีขนม อร่อย ๆ มาฝากเราทุกครั้ง ดังนั้น ทุกๆ วันหยุด ผมจะรอแม่ หาบตะกร้า กลับบ้าน
แม่ เป็นนักขาย คนเก่งหัวใจแกร่งของลูกๆ

แม่ที่ผมจดจำ(๕)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน งานราชการ

ครอบครัวของเรา มีฐานะยากจน เป็นพื้นฐานมาตั้งแต่ต้น ญาติพี่น้องของแม่ โดยเฉพาะผู้ชาย นิยมกินเหล้าเมายา ทะเลาะเบาะแว้ง กันจนเป็นเรื่องปกติ จนผู้คนปรามาส ว่า ญาติพี่น้องของเรา เป็นกลุ่มนักดื่ม
ด้วยเหตุนี้ แม่จึงไม่ชอบอบายมุข ทั้งมวล แม่ไม่กินเหล้า ไม่ซื้อหวย ไม่เล่นการพนันทุกชนิด จึงพยายามปลูกผังไ่ม่ให้ลูกหลาน ติดอบายมุข
เมื่อแม่ตัดสินใจส่งผมเรียนระดับปริญญาตรี ทั้งที่รู้ว่าเป็นภาระที่หนักหน่วงสำหรับครอบครัวที่ยากจน แม่พยายามหาเงิน ส่งผมไปเรียนที่เมืองหลวง. จนจบ
ตลอดระยะเวลา นั้น ก็พยายามปลูกผังแนวคิด ให้ผมทำงานราชการอย่างไม่ลดละ คงคิดว่างานราชการ จะนำความแน่นอนมาให้ชีวิต ของลูก เมื่อเรียนหนังสือจนจบ ผมเอง สอบทำงานราชการ ตามที่ แม่คาดหวังทุกประการ
วันนี้ หลานของแม่ (ลูกสาวพี่ชายคนโต) สอบบรรจุเข้ารับราชการครู ได้อีกคน ถ้าแม่ยังอยู่ แม่คงยิ้มแก้มปริ ดีใจ และพอใจ อยากมาก แน่ ๆ ที่ลูกหลาน ทำในสิ่งที่แม่ เคยวางแนวทางไว้ให้

แม่ที่ผมจดจำ(๖)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน คำประกาศ

ตลอดระยะเวลา ๔-๕ ปีที่ผ่านมา เมื่อได้ร่วมวงคุยกัน แม่จะมีคำประกาศ และยืนยันเช่นนั้น อย่างเด็ดเดี่ยว แม่ประกาศว่า พร้อมเผชิญความตายทุกเมื่อ วันนี้ หรือพรุ่งนี้ ก็ได้ ผมตีความว่า แม่คง หมดห่วง และคลายกังวัล ลูกๆ ของท่าน มีครอบครัว มีลูกหลาน พอที่จะพึ่งพาตนเอง ได้ครบทุกคน แล้ว
อีกอย่างหนึ่ง คือ แม่ ประกาศ ว่า จะทำงาน จนวันตาย เพราะมีความสุข กับการทำงาน งานปลูกผัก ทำสวน ทุกครั้งที่ผมไปหาแม่ ที่บ้าน ถ้าไม่นั่ง จัดแจง มัดผัก เตรียมไปขาย ก็จะขลุกอยู่สวนหลัง บ้าน นี่คือความสุขขแงแม่
แม่สอน หลักไตรลักษ์ ให้พวกเรา แล้ว ชีวิต ไม่เที่ยงแท้ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แม่จากพวกเราไป โดย ไม่ให้ ตั้งหลัก ไม่มีโอกาส ได้ทำใจ เลย
นี่ ล่ะคำสอน สุดท้ายของแม่ ชีวิตคนไม่เที่ยงแท้ แน่นอน การเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง

แม่ที่ผมจดจำ(7)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน ผูกแขนคำอวยพร

วิถีวัฒนธรรมชาวกูย เมื่อผ่านเหตุการณ์ ใดๆ ก็ตามแม้ในทางดี ทางร้าย มักมีการผูกแขน ต่อด้วยคำอวยพร จากผู้อาวุโส มันรู้สึกอบอุ่น แบบบอกไม่ถูก
แม่ก็สืบสานวิถีแบบ นี้ จนเป็นวิถีปกติ ทุก ๆ ครั้ง ที่มีกิจกรรมสำคัญ ๆ แม่ก็จะมาผูกแขน พร้อมคำอวยพร
วันที่ เราผ่านเรื่องร้าย ๆ ญาติผู้ใหญ่เราเสีย จำได้ว่า แม่จะเป็นคนเรียกญาติๆ ไปผูกแขน อวยพร เรื่องดี ๆ ก็ไม่ต่างกัน
วันสุดท้าย ของงานศพแม่ ญาติผู้ใหญ่ ของเรา ที่เหลืออยู่ไม่คน เป็นฝ่ายเรียก พวกเราไปผูกแขนอวยพรให้กำลังใจกัน และกันชีวิตต้องเดินหน้า
แม่เคยผูกแขน และอวยพร ให้เรา แบบนี้ เสมอ แม้เจอเรื่องดีร้าย ใดๆ ในชีวิต

แม่ที่ผมจดจำ(8)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน นักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้

บ่อยครั้ง ที่เด็กน้อยอย่างผม นั่งฟังเรื่องเล่า จากปากของแม่อย่างออก รสชาติ
แม่เล่าเรื่อง ด้วยแววตาที่มีประกาย แห่งความภาคภูมิใจเสมอ ครอบครัวของแม่ เป็นครอบครัวยากจน

ในวัยเด็ก ชีวิตแม่ ต้องระหก ระเหิน. ไปไกลบ้าน ด้วยต้องไปรับจ้าง ทำนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เพื่อแลกเปลี่ยน กับข้าวสาร ให้ครอบครัวของแม่ได้ กินจนครบตลอดทั้งปี
ด้วยความเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ ทำให้ แม่ถูกเพาะบ่ม ให้มีบุคลิก ของผู้นำ
แม่ใช้ความจน เป็นพลัง สำคัญในการขับเคลื่อน ชีวิต อย่างไม่ย่อท้อ จนสามารถ สร้างครอบครัว ให้พึ่งตนเอง ได้ตาม สมควร

ผมนั่งแม่เล่าเรื่อง อย่างเพลิดเพลิน ทุกครั้ง และพยายาม นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ให้มากที่สุด
แน่นอน ว่า แม่คือบุคคลต้นแบบ ในใจลูกเสมอ
แม้วันนี้ จะไม่มีแม่ แล้ว แต่ความทรงจำเรื่องแม่ของผมยิ่งคมชัดขึ้น


แม่ที่ผมจำจำ(9)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน ทำงานมุ่งต่อผล

ในยุคที่การทำนาใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อถึงฤดูกาลเกี่ยวข้าว ครอบครัวของเรา จะทำการ เองทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ เกี่ยวข้าว มัดข้าว ขนข้าว มาไว้ที่ลาน จนถึงขั้นตอนการทุบข้าว และนำข้าวขึ้นฉาง
ผมในวัยเด็ก จำความได้ ว่า เคยสัมผัสบรรยากาศนั้น เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว. ผมจะไปนอนที่นา ปักหลักอยู่ ราว 15-20 วัน ภาพการลำเลียงข้าวของเครื่องใช้ วัวควาย ไปนอนนา ยังชัดเจน พ่อสร้างเพิงพัก จากฟาง ใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นที่นอน
วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ผมจะรีบบึ่งไปนอนนา แม่ตื่นมาเกี่ยวข้าวแต่เช้ามืด ทุกวัน ในภาคกลางคืน เดือนหงาย ที่ แสงจันทร์ ส่องลงมา แม่ก็เกี่ยวข้าว ใต้แสงจันทร์ นั้น
สาเหตุที่แม่ พามานอนนา แม่หวังผลต่องาน ที่จะให้ เกิดผลสำเร็จ มานอนนา ได้ทำงานเร็วทำงานกลางคืน ถ้าอยู่บ้านกว่า จะจัดแจงภาระ เสร็จ ในแต่ละวัน ก็นาน ตะวันสาย. ได้งานน้อย
แม่คิดละเอียด ทุกขั้นตอน และวางแผนการ ทำงาน ไว้ล่วงหน้าเสมอ

แม่ที่ผมจดจำ(10)
สรรณ์ญา กระสังข์
ตอน เรียนเล่นไพ่

ผมเป็นเด็กเลี้ยงควายยุคท้ายๆ ของยุคนั้น ก่อนที่จะปิดตำนานเด็กเลี้ยงควายไป คนหนุ่มสาว ยุคก่อนถือวิทยุทรานสิตเตอร์ ไปตามท้องทุ่งเพื่อเลี้ยงดูวัวควายให้กินอย่างอิ่มหนำ
กิจกรรมระหว่างเลี้ยงควาย แตกต่างกันบ้างตามสมัครใจ ผู้หญิงจับกลุ่มแยกไปตากหาก ส่วนมากเห็นว่า ชอบเอานิยายไปอ่าน. ด้วยฆ่าเวลา
ส่วนผู้ชาย ผมสังเกตเห็นรุ่นใหญ่ ชอบหาจับตั๊กแตน. ที่มีในทุ่งนาจำนวนมาก ได้มาแล้ว ก็จับกลุ่มเล่นไพ่ บ้าง ฝึกหัดสูบบุหรี่บ้าง ผมชอบไปนั่งดูกลุ่มรุ่นพี่เล่นไฟ่ คิดว่าดี เป็นการฝึกคิดเลข กลับจากเลี้ยงควาย บางที ก็จับกลุ่มเล่นไฟ่ ในป่ากล้วย ด้วยก็มี ส่วนมากผมไปนั่งดู มากกว่าเล่นเอง
แน่นอน ว่า พฤติกรรมของผม ไม่มีทาง ที่จะพ้นสายตาของแม่ไปได้ แม่เรียกไปพบในเย็นวันหนึ่ง เพื่อไต่สวน ถึงพฤติกรรม. ของผม พร้อมคำอธิบาย ถึงสิ่งที่ไม่ควร. ให้ฟัง และไม่พลาดที่จะโดนฟาดด้วยไม้เรียว
แม่ไม่ข้องเกี่ยวอบายมุขใด ๆ คำพูดของแม่จึงดูมีพลังมาก ท่านสอนด้วยการทำให้ดู นับแต่นั้นมา ผมก็ ไม่ได้ ไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขตามคำแม่ ทุกประการ มีเพียง กินเหล้าเท่านั้น ที่ ผมยังทำตามแม่สอนไม่ได้

แม่ที่ผมจดจำ(11)
ตอน ความอดทน

มนุษย์ยังวนเวียนในวัฏสงสาร ไม่หลุดพ้นความทุกข์ เหล่านี้ เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นกฎเหล็กที่ ไม่มีใครหลุดพ้นแน่ ๆ ถึงแม้จะเข้าใจความไม่เที่ยงนั้น ปานใด ก็มิอาจพ้น ทุกข์ ที่เกิดจากการพบัดพราก บุคคลอันเป็นที่รัก
ปี 2558 ในระหว่าง ที่ผมเข้าร่วมสัมมาร่วมกับชุมชน ที่วังน้ำเขียว เสียงจากปลายสายแจ้งข่าว มาว่า แม่นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ด้วยอาการซีด ขาดเลือด ปีนั้นทั้งปี แม่เข้าเติมเลือด ที่โรงบาล เกือบทุกเดือน แต่ในที่สุด โรคนี้ ก็หายไประยะหนึ่ง
หลังจากนั้น แม่ก็กลับมาทำงานสวนผัก ได้ดังเดิม บางทีบางครั้ง การเจ็บป่วยด้วยอาการ หนัก หรือเบา แม่มิเคย เอ่ยปากบอกใครง่าย ๆ น้ำอดน้ำทน เป็นเลิศ พยายามเก็บอาการ ไว้ เกรงว่า ลูกๆ จะเสียขวัญ กำลังใจ
อาการเจ็บปวยเมื่อ ครั้ง ปี 2558 นั่นล่ะ คือสัญญาณเตือน ให้ลูกหลานทำใจ
แม้จะเข้าใจหลักการ การเปลี่ยนแปลง แต่คือกันเปลี่ยนแปลง ที่ กระทันหันมากจริง ๆ


แม่ที่ผมจดจำ(12)
ตอน หัวไร่ปลายนา

หลายครั้งที่ ผมได้รับเชิญไปบรรยาย แนวคิดการพัฒนาชนบท ผมพยายามเสนอความเปลี่ยนแปลงชุมชนอีสาน ให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็น พัฒนาการสังคม ตั้งแต่อดีต กระทั่งปัจจุบัน พร้อมทั้งตั้งคำถามชวนคิด ให้นำประสบการณ์ร่วม เมื่อครั้ง อดีต มาแบ่งปันกัน มองอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และกำหนด อนาคต นั่นเอง
กรณีศึกษา ที่มักมาใช้ เสมอ คือ การเปิดเพลง อีสานบ้านเฮา ที่ผมคิดว่า
อธิบาย การเปลี่ยนแปลง ได้ชัดเจน

อีกหนึ่ง คือ ความทรงจำเรื่อง แม่ วิถีของแม่ ที่ผมจดจำ ผมอ้างถึงวิถีของแม่
เสมอในการบรรยาย ภาพการพึ่งพาตนเองของแม่ นั้นคมชัดยิ่งนัก นั่นคือสิ่งที่สังคมยุคเรา ขาดหายไป

แม่พาลูกไปนา ทำนา มีเพียงข้าว น้ำพริก น้ำปลา ของอยู่ของกินแทบ ไม่ต้องหาไปจากบ้าน เลย แต่พวกเรา ไม่เคยขาดแคลน เลย ผมจำรูปแบบการปลูกพืช บนพื้นที่ หัวไร่ปลายนา ตรงพื้นที่ โคก โพน แม่วางแผนปลูกทุกอย่างไว้ที่นั่น เราได้ กินตำถั่ว ตำแตง แตงโม ของหวาน พวกแตงไทยสุก. อยู่เสมอ
ความทรงจำหนึ่ง ที่พวกเรา ไม่ลืมเลือน วิถีแบบนี้ ของแม่
แน่นอนว่า ผมต้องสืบสาน เจตนารมย์ นักปลูกแม่ และจะทำให้ชัดเจน
ในวันหนึ่ง


แม่ที่ผมจดจำ(12)
ตอน กองทุนแม่

ในยุคผมเรียนหนังสือ เป็นยุคต้นๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แต่ผมไม่ได้เข้าโครงการนั้น เพราะหารือกับแม่แล้ว เห็นว่าคงอยู่ในภาวะที่พอส่งเสียให้ ผมเล่าเรียนได้ นั่นเอง
คำพูดเล่น. ๆ ของคนอื่นๆ
ที่ว่า ขายควายส่งควายเรียน อาจฟังแล้วตลก สำหรับผมนั้น
แม่ขายควาย. ส่งให้ผมเรียนจริง ๆ

ด้วย. ความประหยัด อดออม ของแม่ นั่งเอง ทำให้ผมได้เรียนหนังสือ
โชคดีที่ผม ไม่มีปัญญา สอบเข้ามหาวิทยาลัยปิดได้ จึงเรียนรามคำแหง
ที่มีค่าเทอม เพียง ประมาณ 1200 บาท เท่านั้น

เพราะ วิสัยทัศน์ ของแม่ ที่ทำให้ เราไม่ต้องแบกภาระหนี้สิน กยศ. ไม่ต้องทำงานใช้หนี้ กยศ.
ผมเป็นเด็ก กทม. - กองทุนแม่อย่างแท้จริง

ปล.วันนี้ ครบรอบ 30 วันที่แม่จากไป
โดยไม่มีโอกาสได้ ตั้งตัว เตรียมใจ


แม่ที่ผมจดจำ(13)
ตอน ใส่ใจทุกรายละเอียด

เรียนจบรามคำแหง ใหม่ ๆ ผมรีบกลับมาอยู่บ้าน ปีนั้นโชคดี ที่ได้งานบัณฑิตกองทุนหมู่บ้าน มีสัญญาจ้าง 10 เดือน ค่าตอบแทนเดือนละ 6,300 บาท ลักษณะงาน เป็นงานทำระบบ ข้อมูล กองทุนหมู่บ้าน เสาร์ อาทิตย์ ไปเรียนที่ศูนย์ การเรียน ที่กำหนด
ผมเป็นบัณฑิตกองทุนหมู่บ้าน ที่บ้านพล็อง พี่ชาย ลูกพี่ลูกน้อง ครูเพิ่มทำที่บ้านรงระ พ.ศ นั้น 2 หนุ่ม จะไปไหนมาไหนด้วยกัน เพราะได้งานร่วมกัน และเมื่อครบ 10 เดือน ก็ตกงาน ด้วยกันนั่นล่ะ
ครูเพิ่ม นั้น น่า จะตกผลึก ทางความคิด และหมายมั่น ปั้นมือ สอบเข้ารับราชการครู ให้ได้ ส่วนผม ยังไม่มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ช่วงนั้น ก็สนุกสนานไปตามประสา ถึงแม้กิจกรรมภาคกลางวัน ของเรา จะเป็นแบบไหน แต่แน่นอนว่า เช้ามืด ครูเพิ่มคงตื่นอ่านหนังสือ สอบ
ประเด็นนี้ ไม่มีทาง ที่จะเล็ดลอด สายตาแม่ไปได้ ขณะทีผมนอนตื่นสาย ๆ แม่จะเข้ามาคุยเชิงเปรียบเทียบ ให้ฟังตลอดว่า ทำไมไม่ดูครูเพิ่มเป็นตัวอย่าง ตื่นอ่านหนังสือตั้งแต่ ตี 4 ตี 5. ทุกวัน แม่พูดเช่นนีั อยู่แรม เดือน เพราะอยากให้ ลูกชายคนเล็กพึ่งพาตนเอง. ได้ และความหวังลึกๆ ของแม่ก็อยากให้ลูกทำงานราชการ
แม่เป็นคนใส่ใจในรายละเอียด และชี้แนะทาง ที่ควรให้ผมเสมอ

แม่ที่ผมจดจำ
ตอน ท้วงติง แต่รับฟัง(14)

งานบัณฑิตกองทุน ถือเป็นว่า เป็นงานที่ไม่ยาก และไม่ง่าย ค่าตอบแทน หกพันสามในยุคนั้น ก็ไม่น้อย ใช้สอยไม่มีหมด แน่ๆ ชีวิตในยุคเริ่มต้น การทำงานของ ผม จึงดูสบายๆ ไม่เครียดอะไร
มีเพียงเสียงเพรียก จากภายในเท่านั้น ที่เรียกร้องออกมาว่า คุณเป็นปัญญาชน ในหมู่บ้าน กลับมาอยู่ บ้าน เพียงเพื่อเลี้ยงชีพรอด นั้นเพียงพอ หรือ นี่ล่ะมั้งที่เป็นปฐมเหตุ ให้เรา อยากทำอะไร เพื่อบ้านเกิด ขึ้นมา
ผมกับ ครูเพิ่ม จึงมัก นำ ปัญหาชุมชนมาคุย และหาทางออก อยู่เสมอ ครั้งหนึ่งเคยทำ ถุงหนังสือพเนจร นำ กระสอบปุ๋ย มาตัดเป็นย่ามใส่หนังสือ ไปแขวนไว้ในที่สาธารณะ ให้คนอ่าน
จนกระทั่ง ตัดสินใจ ทำเหล้าสาโท ต้มเหล้าขาย สุดท้าย คนคู่ กลายเป็นผู้นำม็อบในที่สุด. แม่ดูเหมือน จะกังวลถึงบทบาท บ้า ๆ บอ ๆ ของเรา ที่ตัดสินใจพาชาวบ้านรงระ ตั้ง 8 คน ต้มเหล้าขาย รู้ทั้งรู้ว่าผิดกฎหมาย แม่ถามข้อมูลผมบ่อย ๆ. ด้วยความกังวล กลัวลูกๆ จะเข้า ตาราง
แต่เมื่อฟังคำอธิบายแล้ว แม่ครุ่นคิด แต่ไม่ทักท้วงใด ๆ
แม่คงเข้าใจภาวะจิตใจ. ของเรา แม้แม่ไม่เห็นด้วย แต่ก็รับฟัง
และ คอยตักเตือนอยู่สม่ำเสมอ ด้วยกลัว ไถลไปนอกทาง


แม่ที่ผมจดจำ(15)
สวนของแม่

วันที่ 1 พ.ค 2560 ผมไปเยี่ยมแม่ ตามปกติวิสัย ที่เคยปฏิบัติ ซื้อขนม นม
ตามที่ท่านชอบกินไปฝาก วันนั้น ผมและครอบครัว ไปพบแม่สนทนากันที่
สวนหลังบ้าน

แม่วุ่นอยู่กับงาน สวนหลังบ้าน ผมเดินเลียบ ไปสังเกตดู ผักและพืชของแม่
แม่ไม่ยอมให้สวนรก แม้หญ้าเพียงเส้นเดียว แม่ก็ไม่ยอมให้มี

"ทำไมแม่ จึงชอบปุ๋ยเคมี "
ผมถามแม่ เพราะสังเกตมานาน แล้วว่า แม่ชอบบำรุงพืชด้วยยูเรีย
แม่ตอบว่า ไม่ใส่ นะ จะใส่ปุ๋ยเคมี เฉพาะผักบุ้ง เท่านั่น พืชชนิดอื่นๆ
ปลอดสารพิษ ทั่งหมด

ผมเอ่ยปาก กับแม่ว่า " ขอพันธุ์เผือกไปปลูกที่บ้าน บ้างนะ "
แม่อธิบายว่า เผือกชอบพื้นที่ชุ่มน้ำ รออีกนิด ค่อยเอาไปปลูก
รอฝนมามากกว่านี้

บทสนทนาสุดท้าย ของผมกับแม่ สุดท้ายจริง ๆ
ผมลาพา ลูกเมียกลับบ้าน คล้อยหลังจากนั้น เพียง 2 วัน
แม่ก็ ได้ จาก ลูกไป สู่นิรันดร์ ในวันที่ 3 พ.ค 2560



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้