ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัฒนากรสายเลือดใหม่

ปีนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับโอกาสที่สำคัญ ในการเป็นพื้นที่ฝึกงานภาคสนาม ให้แก่พัฒนากรก่อนประจำการ รุ่นที่ ๑๐๔ จำนวน  ๑๐๐  คน กระจายลงพื้นที่ฝึกงานภาคสนาม ทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งสิ้น  ๑๘ อำเภอ พวกเราในฐานะพัฒนากรรุ่นเก่า ก็อดตื่นเต้นไปกับน้อง ๆ  ฝึกงานไม่ได้ เพราะทุกคนต่างได้รับมอบหมาย ให้สมบทบาทพี่เลี้ยง  ที่คอยสอนแนะงาน ให้แก่รุ่นน้อง  เพื่อให้น้องๆ   มีทัศนคติที่ดี ต่อการทำงานพัฒนาชุมชน เพื่อทำงานรับใช้ประชาชนอย่างสุดจิตสุดใจ  มีน้ำอดน้ำทน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานร่วมกับประชาชน ตามหลักการปรัชญา วิธีการพัมนาชุมชน บนพื้นฐาน การใช้หลักวิชามาประยุกต์  ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่

การทำงานพัฒนากร   นั้น  เป็นงานที่มีความยุ่งยากพอสมควร ต้องเข้าไปทำงานร่วมกับประชาชน ในตำบล หมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่ความเข้มแข็ง ตามหลักการปรัชญาการพัฒนาชุมชน  ดังนั้น  กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย จึงให้ความสำคัญ เป็นพิเศษ ในการพัฒนาคน  ด้วย หลักสูตรพัฒนากรก่อนประจำการ  ที่อบรมกันอย่างยาวนาน  ถึง  ๔๐  วัน แบ่งการอบรม  ออกเป็น  ๓  ภาค ประกอบด้วย  ภาควิชาการ  ภาคสนาม  และภาคสรุป  แน่นอนว่า  กรมการพัฒนาชุมชน  หวังผลเป็นอย่างยิ่ง ว่าหลักสูตรนี้  จะพัฒนาคนของเรา  ให้มีอุดมการณ์การพัฒนาชุมชน  มีความรู้  ทักษะในการทำงาน  และมีทัศนคติที่ดี  ต่อการทำงานในตำบลหมู่บ้าน มุ่งหวังที่จะให้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็น กำลังสำคัญของหน่วยงาน  ในการรับภารกิจสำคัญในการ ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ  ไปสู่การปฏิบัติ  ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ประชาชนได้ประโยชน์

นายอุทัย  หอมนาน พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ  ได้มอบแนวทางการปฏิบัติให้แก่พัฒนากร  ในเวทีการประชุมเตรียมความพร้อม สนับสนุนการศึกษาภาคสนามของพัฒนากรใหม่  ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  ว่า  ให้พัฒนากรพี่เลี้ยงทุกคน  ให้ความสำคัญกับดูแล  และสอนแนะงานแก่พัฒนากรฝึกงานภาคสนามอย่างดี  และให้เป็นแบบอย่างที่ดี  เป็นต้นแบบในการทำงาน  ให้แก่น้อง  ๆ เพราะเชื่อว่า  ถ้ามีต้นแบบที่ดี ถือว่า เป็นการสร้างตัวอย่างแบบอย่างที่ดีในการทำงาน  ให้แก่น้อง  ๆ  ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ผู้เขียนเอง ในฐานะ  ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่  พัฒนากรพี่เลี้ยง ก็มีแรงใจใฝ่ฝัน ปรารถนา  ที่จะเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่น้อง ๆ  แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน ทั้งได้เรียนรู้  จากเพื่อนนักพัฒนาใหม่ในหลายๆ  เรื่อง  หลายๆ  ประเด็น  เปิดมุมมอง  และเปิดโอกาส  เปิดพื้นที่  ให้ได้  ขัดเกลา  ตัวเอง  ไปพร้อม  ๆ  กับพัฒนากร  ใหม่  ได้เติมพลังชาร์ตไฟ  ให้ตัวเอง  ไม่ต่างกันกับเพื่อนพัฒนากร   รุ่น  ๑๐๔   เลย

นายเกียรติศักดิ์   นิลมณี   พัฒนากรหนุ่ม  วัย  ๓๑  ปี  จากจังหวัดเพชรบุรี  เขามาฝึกงานภาคสนาม  มาประจำการที่  บ้านเมืองน้อย  ตำบลเมืองหลวง  อำเภอห้วยทับทัน  เล่าว่า  เขามาสอบทำงานพัฒนากรเพราะอยากมีงานทำ  และอยากทำงานราชการ  เมื่อมา  ฝึกอบรมในหลักสูตร  พัฒนากรก่อนประจำการ  เขาได้รับการปลูกฝังแนวคิดอุดมการณ์  ให้มีใจรักในงานพัฒนาชนบท  การฝึกงานภาคสนาม  ในระยะแรก  รู้สึกเกร็ง ๆ  บ้าง  เมื่อมาสัมผัสงานที่ชุมชน  กลับพบว่า  คนในชุมชนให้ความร่วมมือ  ในการทำงานพัฒนาเป็นอย่างดี  ทำให้รู้สึกภูมิใจ  ที่ได้ทำงาน  เพื่อชุมชน  เพื่อประเทศชาติ

ด้าน  นางสาวนงเยาว์  ทองบ่อ พัฒนากรก่อนประจำการ  จากจังหวัดยโสธร   ลงพื้นที่ภาคสนามฝึกประสบการณ์  ที่บ้านโนนสำโรง  ตำบลกล้วยกว้าง  อำเภอห้วยทับทัน   กล่าวว่า  ก่อนหน้านี้ทำงานภาคเอกชนมาตลอด ครั้งล่าสุด ได้โอกาสทำงาน  ในบริษัทประชารัฐรักสามัคคี  ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกับ พัฒนากร  ได้สัมผัสกับชุมชน ชาวบ้าน รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานชุมชน  การได้เห็นรอยยิ้มของคนในชุมชน  ทำให้พัฒนากรมีความนุขไปด้วย   การมาฝึกงานภาคสนามครั้งนี้  ทำให้รู้จักมองโลกให้กว้างมาก ขึ้น ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน เรียนรู้จากชุมชน และพัฒนาความรู้ของตนเอง ไปพร้อม ๆ  กัน  การทำงานพัฒนากร ทำให้ได้เรียนรู้  อย่างหลากหลายมิติ

จากเสียงสะท้อน   ของ  น้องพัฒนากรฝึกงานภาคสนามที่มีต่อ พื้นที่การทำงานที่นี่ศรีสะเกษ  คงเป็นสื่อสะท้อนมุมมอง  อย่างหนึ่งว่า  หลักสูตรพัฒนากรก่อนประจำการ ได้สร้างความรู้  และทักษะ  ตลอดจนทัศนคติที่ดี  ให้เกิดขึ้นแก่  น้อง  ๆ  และบทเรียนที่ดี  ๆ  จากพื้นที่  การทำงานที่มีความหลากหลาย  ประสบการณ์  ของพี่นักพฒนากร  ที่มีอยู่อยากหลากหลาย  คงจะ  สร้างแรงบันดาลใจ   สร้างภาคพิมพ์แห่งความประทับใจ ให้เกิดขึ้น แก่พัฒนากรใหม่ทั้ง  ๑๐๐  ชีวิต เพื่อเป็นพลัง  ในการพัฒนาตนเอง  และพัฒนางานในพื้นที่  ในอนาคต  ได้อย่างแน่นอน   ทั้งนี้  ภาพความประทับใจ ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนามที่นี่  ศรีสะเกษ  จะสร้างความทรงจำที่ดี  ๆ  ให้น้องพัฒนากรใหม่ สืบไป

                 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้