ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนน่าอยู่ ที่บ้านหนองเชียงทูนใต้

สร้างพลังชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนน่าอยู่ ที่บ้านหนองเชียงทูนใต้
          บ้านหนองเชียงทูนใต้ หมู่ที่ ๑๕  ตำบลหนองเชียงทูน  อำเภอปรางค์กู่   จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นบ้านแฝด มีอยู่ ๒ หมู่บ้านตามเขตการปกครอง ขนาดครัวเรือน จำนวน  ๑๑๙  ครัวเรือน ที่นี่ผู้นำชุมชน และพี่น้องในหมู่บ้านแห่งนี้   ลุกขึ้นมาสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ผู้เขียนในฐานะอดีตพัฒนากรผู้รับผิดชอบตำบลนี้ (ปัจจุบันย้ายไปทำงานที่อำเภออื่นแล้ว) เคยเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมชนแห่งนี้มาค่อนข้างบ่อย แต่ในสายตาคนนอก โดยเฉพาะคนทำงานภาครัฐกลับมองไม่เห็นศักยภาพของชุมชนแห่งนี้เลย

 
          ปีนี้ผู้เขียน ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมกับชุมชนแห่งนี้อีกครั้ง ในหลายครั้งที่เข้ามาร่วมสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน จะมองเห็นถึงความตั้งใจที่จะร่วมมือกันพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น วงคุยเล็ก ๆ ของชุมชน ที่เรียกกันว่า สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ภายใต้โครงการชุมชนน่าอยู่ สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ถูกพัฒนาและก่อตัวขึ้นจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จากทุกภาคส่วน  ได้ทำหน้าที่ชวนคิดชวนคุย แลกเปลี่ยนสถานการณ์ในทุกมิติของชุมชน  จากที่ในระยะแรกยังดูแข็งตัว ไม่เข้าถึงไม่เข้าใจถึงความสำคัญว่า  ทำไมต้องมาคุยกัน มากมายยาวนานขนาดนั้น  จนกระทั่งแนวคิดของสภาผู้นำชุมชนหนองเชียงทูนใต้ เริ่มสุกงอมจึงได้ร่วมกันกำหนดแผนงานในการจัดการปัญหาของชุมชน กิจกรรมการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน เป็นปัญหาคาราคาซัง ที่มีมาอย่างยาวนาน ในฤดูฝน คนในชุมชนต้องประสบปัญหาน้ำท่วมขังระบายไม่ออกเป็นประจำทุกๆ ปี แต่ปัญหานี้ไม่ได้รับการคลี่คลาย

 
          จนกระทั่ง สภาผู้นำชุมชน ภายใต้การนำของนายแสง  สีตะวัน ผู้ใหญ่บ้านหนองเชียงทูนใต้  ได้นำพาคณะในหมู่บ้าน ร่วมกันขุดลอกคูคลอง แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นระยะเวลามากกว่า  4   วัน  โดยชุมชนลงมือทำงานร่วมกัน และเกิดปรากฏการณ์สำคัญของชุมชน  ที่ทำออกมาร่วมด้วยช่วยกันทั้งออกแรงงาน  ออกเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ อาหารการกิน  แม้กระทั่งสมทบเป็นเงินทุน ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้


          นายสุพัฒน์  ยงกุล พัฒนากรประจำตำบลหนองเชียงทูนใต้  ในฐานะลูกหลานชาวบ้านหนองเชียงทูนใต้ ได้โพสต์ข้อมูล ทาง Facebook บอกล่าวถึงความภาคภูมิใจร่วมกัน  ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า  การต่อยอดจากเวทีการพูดคุยกันของไทบ้านหนองเชียงทูนใต้ เกิดการพัฒนาอย่างจริงจัง จาการอยากเห็นชุมชนบ้านเกิดน่าอยู่ ทุกครัวเรือนนำ จอบ บุ๋งกี๋ รถไถนาเดินตาม  รถแทรคเตอร์ ตู้เชื่อม เครื่องมือตัดเหล็ก ที่สำคัญแรงกายแรงใจ บ่งบอกว่าทุกคนไม่อยากเห็นชุมชนของตนเองไม่น่าอยู่ ทุกคนร่วมกันขุดลอกคูคลองในหมู่บ้าน ซึ่งไม่ทำมานาน ตั้งแต่มีองค์การบริหารส่วนตำบล เพราะปัจจุบันคนในชุมชนมักมองว่า นี่เป็นภารกิจที่ อบต.ต้องดำเนินการ  แต่ที่นี่หนองเชียงทูนใต้ เราไม่รอ แต่เราร่วมกันลงมือทำเพื่อบ้านของเราให้น่าอยู่



                ผลสะท้อนดังกล่าว จากการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน ถือว่าเป็นการปรับระบบวีคิดใหม่ๆ ให้ชุมชน เปลี่ยนมุมมองใหม่ ในการมองปัญหาของชุมชนว่า เรื่องต่างๆ  ที่ชุมชนสามารถจัดการตัวเองได้ นั้นไม่จำเป็นต้องรอ แต่สามารถระดมพลังชุมชน  เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนได้ด้วยชุมชนเอง การพัฒนาโดยชุมชนร่วมลงมือทำเองแบบ นี้ ถือว่าเป็นการฟื้นฟูวิถีเดิม ๆ  ที่ชุมชนเคยจัดการตัวเองได้ เหมือนสมัยเมื่อ ๓๐ ปีก่อนที่มีภาพการร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ร่วมกันจัดการปัญหาของชุมชน  โดยอาศัยพลังความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นสำคัญ ผลงานการถอดรื้อพลังชุมชน และการปรับระบบวิธีคิดของชุมชนครั้งนี้  เป็นดอกผลหนึ่งจากการที่ชุมชนมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเวทีสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ กลไกการทำงานหนึ่งในชุมชนที่เป็นตัวกลางในการสร้างสรรค์ปัญญา  เพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ต่อไป            

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้