ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กระบวนการศึกษาชุมชน เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา

กระบวนการศึกษาชุมชน
          ต้นทางของงานพัฒนาชุมชน คือการศึกษาชุมชน ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ จำนวน  ๑  ใน ๒๓  ประการ  กล่าวถึง หลัก เข้าใจ เข้าถึง  พัฒนาความเข้าใจชุมชนของตนเองในที่นี้ หมายถึงความเข้าใจชุมชนของตนเองทั้งระบบ มองเห็นรากเหง้า อัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของชุมชน  อธิบายได้ว่า เราคือใครมาจากไหน  ดำรงอยู่อย่างไร ในสภาวะปัจจุบัน  จึงจะสามารถกำหนดอนาคตของชุมชนได้อย่างแจ่มชัด ในบริบทของการศึกษาชุมชน  นั้น  ทั้งตัวนักพัฒนาเองและคนในชุมชนควรเรียนรู้และผนึกกำลังร่วมกัน แบบมีส่วนร่วม คือเรียนรู้ชุมชนไปด้วยกัน 


          ที่ชุมชนรอบลำห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน ปีนี้แกนนำชุมชนร่วมกัน ทำโครงการวิจัยศึกษาการเพิ่มผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ ลำห้วยยาง ผู้เขียนในฐานะพัฒนากรประจำตำบล ร่วมดำเนินงานตามโครงการนี้ ทั้งในบทบาทพัฒนากรผู้รับผิดชอบพื้นที่  และยังรับบทหัวหน้าชุมชนโครงการวิจัยการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในพื้นที่แห่งนี้  อีกด้วย  จุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัย แน่นอนว่าเริ่มต้นบนฐานการศึกษาชุมชน ในระยะที่ผ่านมาผู้เขียนจึงร่วมปักหลักทำงานหนุนงานกับชุมชน ในมิติการศึกษาชุมชน ด้วยมุ่งมั่นที่จะทำความเข้าใจคน เข้าใจพื้นที่ และสร้างทีมงานในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง เป็นคนเก่ง ผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติการ จากการทำงานร่วมกัน เครื่องมือในการศึกษาชุมชน  ที่ทีมวิจัยห้วยยางเลือกใช้  นั้นมีหลายชนิด ตามบริบทของข้อมูล ที่ชุมชนสนใจเรียนรู้  โจทย์วิจัยของคนลำห้วยยาง นั้น พวกเขาสนใจที่จะทำความเข้าใจเรื่องไม้ผลเศรษฐกิจที่มีอยู่ โดยทั่วไป ในบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำลำห้วยยาง อาทิ  มะปราง หมาก กล้วย แก้วมังกร ลำไย  มะไพ  ลิ้นจี่ ทุเรียน  โดยทั่วไปจะปลูกพืชเหล่านี้ ในลักษณะผสมผสานกันบนแปลงของตนเอง การเดินสำรวจเพื่อเข้าใจภูมินิเวศรอบ ๆ  ลำห้วยยาง แล้ว เขียนเป็นพื้นที่ทรัพยากรของลำห้วยยาง ทีมนี้ ได้แบ่งกลุ่ม ผู้ศึกษาเป็น ๓  กลุ่มเพื่อลงสำรวจ  เดินทางไปให้เห็นด้วยตา และนำมาวาดเป็น ผังวาด เป็นแผนผังที่ทำด้วยมือ  จุดสำคัญ ๆ   ในมิติต่างๆ  ทั้ง  มิติเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  พื้นที่ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ ได้รับการสำรวจ  และนำมาเขียนลงในวังวาดขนาดใหญ่ เพื่อชี้ให้เห็นศักยภาพที่สำคัญ ของลำห้วยยาง ว่า  มีอะไรบ้าง  มีทรัพยากรอะไรข้าง  ที่จะนำไปต่อยอด  และพัฒนาให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ 


          นอกจากแผนผังทรัพยากรรอบลำห้วยยางแล้ว ยังมีการเดินสำรวจ จัดทำผังวาดแปลงไม้ผลเศรษฐกิจรอบลำห้วยยาง  จำนวน  ๒๕ แปลง ซึ่งเป็นแปลงไม้ผลที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นแปลงเกษตรผสมผสานที่มีความโดดเด่น  สามารถเป็นแปลงต้นแบบ หรือเป็นตัวอย่าง ขยายผลให้แก่ครัวเรือนอื่นๆ  รอบลำห้วยยางต่อไป จากการลงศึกษาชุมชนแห่งนี้  พบว่า มีองค์ความรู้  หลากหลายมาก   ทั้งการจัดการแปลง  จัดการระบบน้ำ  ภูมิปัญญาในการดูแลรักษา  ไม้ผลเศรษฐกิจ ชนิดต่างๆ  ถือว่าเป็นบทเรียนและข้อค้นพบที่สำคัญ  เพื่อเตรียมการในการยกระดับต่อยอด ให้เกิดการรับรู้สู่สาธารณะ  ในวงที่กว้างขึ้น ณ  วันนี้ ถือว่า เป็นบทพิสูจน์หนึ่งว่า  ชุมชนรอบ ๆ  ลำห้วยยาง  มีศักยภาพเพียงพอในการปลูกไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้  เช่น ทุเรียน  ลำไย ลิ้นจี่ มะไฟ มะปราง  เพราะมีลำน้ำห้วยยาง เป็นลำน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน ที่หนุนให้ดินบริเวณนี้ มีความชื้นเพียงพอ  ที่จะทำให้ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจ ได้ผลดีในพื้นที่แห่งนี้


          การศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้  เชื่อว่า จะเป็นกระบวนการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ศึกษาข้อมูลในฐานเจ้าของพื้นที่   มีชุดความรู้  บทเรียนและประสบการณ์  สามารถเข้าใจชุมชนตนเองอย่างถ่องแท้  จนสามารถออกแบบ และกำหนดอนาคตของชุมชน และเกิดแผนยุทธศาสตร์ชุมชน  ที่ตรงกับความต้องการของชุมชน  ตามแนวทางชุมชนเป็นเจ้าของ  ระเบิดจากภายใน พัฒนาไปสู่ความยั่งยืน  ในท้ายที่สุด   

      

       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้