ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
 
สรุปผลการดำเนินการโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ประจำปี ๒๕๕๘
กิจกรรม ประชุมเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน สัญจรครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๕๘
บ้านหนองแวง หมู่ที่ ๑  ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
(๑)ความเป็นมาของโครงการ
                   ตามที่ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย  ได้แจ้งแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๗  ของจังหวัดและอำเภอ  ซึ่งแผนงานที่ ๑ การสร้างพลังสังคม และพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด  ได้กำหนดแนวทาง ในการดำเนินการ  เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับทุกหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินและขยายหมู่บ้าน/ชุมชนใหม่
                   กรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ  การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปตามวัตถุประสงค์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่  จึงได้จัดทำโครงการประชุมเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินสัญจร ขึ้น
๒. วัตถุประสงค์
                        ๑. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ แก่คณะกรรมการหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินเกี่ยวกับแนวทางการดำเนิน งานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                   ๒. เพื่อขยายผลการดำเนินงานการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินให้สามารถเป็นกลไกล ขับเคลื่อนพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดได้
                   ๓.เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน และเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๓. กลุ่มเป้าหมาย
                    -คณะกรรมการหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน  จำนวน ๑๑ หมู่บ้านๆละ  ๓ คน รวมจำนวน   ๓๓  คน
                   -เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน   จำนวน            ๖   คน
                   รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จำนวน   ๓๙  คน


๔. วิธีดำเนินการ (ขั้นตอนการดำเนินงาน)
                   ๔.๑ ประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
                   ๔.๒ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การขับเคลื่อนเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน ๒ เดือน ต่อ   ๑  ครั้ง 
                   ๔.๓ จัดทำแผนการขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                   ๔.๔ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน
                   ๔.๕ สรุปผลการดำเนินงานประจำปี

๕. ผลการดำเนินงานตามโครงการ  ประชุมเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน สัญจรครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๕๘ ได้จัดประชุมเพื่อเสวนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

บ้านหนองแวง หมู่ที่ ๑  ตำบลหนองเชียงทูน
          นายพรชัย จันทำ ผู้ใหญ่บ้านหนองแวง ในฐานะประธานกองทุนแม่บ้านหนองแวง กล่าวต้อนรับ ทีมงาน เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน ทุกหมู่บ้านที่มาร่วมประชุมในวันนี้
          ยาเสพติดในชุมชน ถือว่าหนัก ที่บ้านหนองแวงปลายเดือน ก.พ   จำนวน ๒  ราย เป็นผู้เสพ  ๑  ราย  ผู้ค้า  ๑  ราย    มีการจับกุมผู้ค้ายาเสพติด ได้ในชุมชน มีอาชีพหลักในการยกบ้าน มีรายได้วัยรุ่นอยู่ในหมู่บ้านเยอะมีความเสี่ยง เพราะซื้อขายง่าย  ผู้นำพยายามแก้ไขด้วยการ  สอดส่องดูแล  ให้ คณะกรรรมการ  ช่วยดูแลลูกหลาน  ให้ลูกลูกหลานมีคนดูแล  ทั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน   /๒๕  ตาสัปปะรด  ด้วยความร่วมมือกัน 
บ้านเสอิง  หมู่ที่   ตำบลพิมาย
          นายญวน  คำเสียง ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านเสอิง  ตำบลพิมาย  ผู้ว่าฯไปเยี่ยมที่หมู่บ้าน  เหตุช่วยเหลือ  วาตะภัย ช่วยเหลือจากกาชาด
          ด้านยาเสพติด การเฝ้าระวัง จะไม่เท่าทันเยาวชน ควรมีมาตรการป้องกัน และคณะกรรมการ  มีภารกิจมากมาย  ในการช่วยเหลือครอบครัว  ให้ครัวเรือนรับผิดชอบดูแลลูกหลานของท่าน  ให้ป้องกันในระดับครอบครัวอย่างเร่งด่วน    ป้องกันลำบากขึ้นเพราะการสื่อสารทันสมัย  วัยรุ่นเริ่มต้นที่บุหรี่  เหล้า และยาเสพติด   ตามลำดับ  ปัจจุบันไม่มีปัญหายาเสพติด  ส่วนมากวัยรุ่นไปทำงานต่างจังหวัด
          กองทุนแม่ ฯ กำลังดำเนินการต่อยอด  กิจกรรมเฉลิมฉลอง  อยู่ระหว่างประสานงาน กับทีมงานกรุงเทพฯ  คาดว่าจะดำเนินการ  ในช่วง  สงกรานต์   มีเงิน  ๒ หมื่น  ๓  พันบาท
บ้านโพธิ์สามัคคี  หมู่ที่ ๘  ตำบลพิมายเหนือ
          -ไม่มีปัญหายาเสพติด    โดยแบ่งการดูแล  ในระบบคุ้ม
          -มีการต่อยอดทุกเดือน  โดยต่อยอดจากผู้เสียชีวิต
          -ทุกวันที ๑๒  สิงหาคม  จะมีการต่อยอด  ปัจจุบันมีเงินในกองทุน  ๗  หมื่นบาท
          -ประชุมผู้นำชุมชน  มีกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  งานแต่ง  งานศพ  ขึ้นบ้านใหม่  ให้มีการต่อยอดกองทุนแม่ของแผ่นดิน    
บ้านรงระหมู่ที่  ๘  ตำบลตูม        
          -ไม่มีปัญหาด้านยาเสพติด
          -การต่อยอดทุกเดือน  วันที่  ๑๒  สิงหาคม  ต่อยอดตามอายุ  ของสมเด็จราชินี
          -มีเงินทุน  ๗  หมื่นบาท

 บ้านศรีไผทราษฎร์  หมู่ที่ ๑๖  ตำบลกู่
          -จัดการแข่งขันกีฬาของเยาวชน
          -ไม่มีปัญหายาเสพติด
          -ต่อยอด  เข้าพรรษา  ออกพรรษา
          -ต่อยอด  วันที่ ๑๒  สิงหาคม 
          -มีเงินทุน  ๕  หมื่น  กว่าบาท
บ้านกระโดน  หมู่ที่  ๑๒  ตำบลหนองเชียงทูน
          -ปัญหายาเสพติด ในพื้นที่กระโดน เป็นพื้นที่สีแดง  ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา
          -ในชุมชนมี ๒  กลุ่ม  เปิดใจ เปิดบ้านให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามา  ให้หย่วยงานมาช่วยดูแลกัน  และดีขึ้นมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ ดี
          -กลุ่มผู้เสพผู้ค้า  ติดคุกกลับมา  ดีขึ้น
          -ยาเสพติดในบ้านกระโดนมีความเบาบาง  และดีขึ้นตามลำดับ
          -ยอมรับว่ามีบ้าง  แต่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน
          -ลูกหลานเยาวชนบ้านกระโดน  สนใจไก่ตี  เลิกสนใจยาเสพติด
          -รถราในชุมชน  ยามวิกาล  มีความเงียบ ลง
          -ดีขึ้นประมาณ  ๙๙ เปอร์เซ็นต์
          -การต่อยอด  จากงานศพ  งานแต่ง   วันเกิด   เป็นเงินบริจาค   ตามกำลังศรัทธา
          -มีเงินทุน  ๒  หมื่นบาท
          -
บ้านจานโง หมู่ที่ ๙  ตำบลสมอ   
          -การสุ่มตรวจยาเสพติด  ไม่พบผู้เสพ
          -คณะกรรมการดูแล  สมาชิกในระดับคุ้ม
          -๒๕  ตาสับปะรด  ช่วยกันดูแล
          -การเฉลิมฉลอง กองทุนแม่ของแผ่นดิน  ฯ เลื่อนไป  ในประมาณ ปลายมีนาคม หรือ กลางเดือน  เมษายน
          -มีเงินทุน  ๒  หมื่น  ๑  พันบาท

บ้านแสนแก้ว หมู่ที่  ๒  ตำบลสวาย
          -เปิดบัญชีกองทุน
          -เปิดรับสมาชิกกองทุน  แม่ของแผ่นดิน
บ้านหนองหิน หมู่ที่ ๒ ตำบลดู่
          -ประชุมต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน  ที่ห้องเล่าขาน
          -ให้เตรียมงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
          -บ้านหนองหิน ได้ดำเนินการเปิดบัญชีธนาคาร แล้ว
          -จะได้รับเงินพระราชทาน  ในปี  ๒๕๕๘  นี้
          -ส่งเอกสาร  MOU  และ หลักฐานอื่น ๆ  เช่น  บัญชีธนาคาร  เป็นต้น
          -กองทุนเงิน  ๑  ล้านบาท  ร่วมบริจาคให้กองทุนแม่ของแผ่นดิน  ๓,๐๐๐   บาท
          -กองทุนแม่ของแผ่นดิน ควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดความเข้าใจ ร่วมกัน
          -ปัจจุบัน ๑๓,๕๐๐  บาท  แผนงานจะทำป้ายที่มีความสวยงาม
บ้านห้วยฆ้อง หมู่ที่ ๙ ตำบลพิมาย
          -เป็นเป้าหมายการประกวดในปี ๒๕๕๘  และประกวด หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
          -กำลังปรับปรุงหมู่บ้านเตรียมประกวด  งบประมาณ กว่า  ๑๐๐,๐๐๐  บาท
          -ใช้งบประมาณจากชุมชน/องค์กรชุมชน
          -สงกรานต์นี้ ขอผ้าป่าทุกหมู่บ้าน  โดยเฉพาะบ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน
          -ยาเสพติดในชุมชน ไม่มี
บ้านหนองบัวบัลลังก์
          -ผ้าป่าสมทบ กองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้งบประมาณ  ๔  หมื่น  ๘  คงเหลือ  ประมาณ  ๓  หมื่นบาท
          -ให้กองทุนแม่ของแผ่นดิน สำรวจลูกบ้าน  สำรวจเด็กเยาวชน ที่ไม่ได้เรียน  กี่คนทำอะไรที่ไหนบ้าง

ผลการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน
          (๑)บ้านหนองแวง                  B
          (๒)บ้านห้วยฆ้อง                    A                ศูนย์เรียนรู้ปี  ๕๘
          (๓)บ้านโพธิ์สามัคคี                  A
          (๔)บ้านเสอิง                        A
          (๕)บ้านรงระ                        A                 ศูนย์เรียนรู้ปี ๕๗
          (๖)บ้านศรีไผทราษฎร์              A
          (๗)บ้านกระโดน           B
          (๘)หนองบัวบัลลังก์                 B
          (๙)แสนแก้ว                         B
          (๑๐)บ้านนาเวียง                   B
          (๑๑)หนองหิน                       B
          (๑๒) บ้านจานโง                    B
          (๑๓)บ้านตามุง                      A                 ศูนย์เรียนรู้ปี  ๕๖

  การประชุมครั้งต่อไป ที่บ้านศรีไผทราษฎร์ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘
4 รูป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้