ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การชี้นำ ชุมชน ประชาชน

ในการทำงาน  ชุมชน  แต่ละครั้ง  ขั้นตอนที่สำคัญ คือการ ตัดสินใจ
ซึ่งในขั้นตอนนี้  เอง  ที่มักมีประเด็นต่าง ๆ  ให้ คิดหนัก  ในหลายต่อหลายรอบ
มีเสียงสะท้อน  ออกมาว่า แผนงานและกิจกรรม  เกิดจากการชี้นำ  ของนักพัฒนา
ซึ่งไม่ตรงกับปัญหาและความต้องการ  ของประชาชน


ดังนั้น  การใคร่ครวญ  ถึง  ประเด็น  การชี้นำ   ว่าอยู่ในบริบทแบบ ไหนบ้าง  จึง
เป็นเรื่องที่น่า  สนใจ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  กัน  ทั้งนี้  รูปแบบการทำงาน  ที่ให้อิสระ
ชุมชนท้องถิ่น  ได้คิดงานเอง  มีงบประมาณให้  เป็นการเสริมสร้างพลังอำนาจภาคประชาชน
โดยตรง  แบบนี้  ก็เป็นการคิดเองทำเอง  ของชาวบ้าน   เช่น  งานกองทุนหมู่บ้าน
งานกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน  เรียกว่า  คนนอกมีหน้าที่กำกับอยู่ห่าง ๆ
ให้ชุมชนเดินได้ด้วยตัวเอง

อีกแบบหนึ่ง  คือแผนงานโครงการที่ทำร่วมกัน  เรียนรู้ร่วมกันระหว่าง  คนในชุมชน
กับคนนอกชุมชน  ทำงานร่วมกัน  บางครั้ง  การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้  ในเวที
การเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ  ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้  ที่คนนอก  จะเสนอ หรือแสดงความคิดเห็น
ร่วมกันในเวที

ผม เอง ร่วมเวทีบ่อย ๆ   มุมมองของเรา  ในเวที  บางครั้งก็  ชุมชนก็นำไปคิดต่อและกำหนด
เป็นแผนงาน  หรือ นโยบายของชุมชน  แบบนี้  ก็น่าคิดนะครับ  ว่า  ผมได้ชี้นำชุมชนไปหรือยัง
แต่ที่ แน่  ๆ  คือ   เราอยากให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ทั้งนี้  ทั้งนั้น  สิ่งที่เราเสนอในเวที  ชุมชน  มีทั้งที่นำไปสู่การปฏิบัติ  แล้ว  งานล้มเหลว  หรืองานประสบผลสำเร็จ  ก็มีบ้าง  ไม่ใช่น้อย

แบบนี้  ก็เป็น  การชี้นำอย่าง  หนึ่งเช่นกัน  ที่ยกประเด็นมาคุย  เพราะว่า  จะได้กำหนดขอบเขต
และระยะไกล้ไกล   หรือระยะห่าง  ระหว่าง  เจ้าหน้าที่  คนนอก   และคนในชุมชน  ที่เป็นเจ้าของปัญหา
ให้แน่ชัดว่า   เราจะยืนระยะแบบ ไหน   หรือหนุนเสริมกันอย่างไร   ถึงจะสมดุล   และงานสำเร็จ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้