ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เวทีบอกกล่าวเล่าเรื่อง งานพัฒนา

เมื่อวันที่   ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๕๘   และวันที่  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๘  ผมได้มีโอกาสติดสอยห้อยตาม ท่านหัวหน้าวสันต์   ชิงชนะ  หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศเพื่อการพัฒนา  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อร่วมเวทีบอกกล่าวเล่าเรื่อง  การพัฒนาหมู่บ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก่เพื่อน ๆ  พัฒนากร  ในหลักสูตรพัฒนากรก่อนประจำการ  รุ่นที่  ๙๙  และรุ่นที่  ๑๐๐   ที่วิทยาลัยการพัฒนาชุมชนบางละมุง  และศูนย์ศึกษาและพัฒนานครนายก   ตามลำดับ   


นับเป็นความโชคดี   ของผมที่ได้รับโอกาสนี้  ทั้งที่ผมเอง ก็มิได้ มีส่วนในการพัฒนาหมู่บ้านนี้  โดยตรง  เป็นการหนุนเสริมการทำงาน  ในฐานะพัฒนากร  ประจำหมู่บ้านเท่านั้น   ปกติ พัฒนากรจะมีบทบาทรับผิดชอบงาน ในฐานะ พัฒนากรประจำตำบล   พอดีที่บ้านผม   มีพัฒนากร  อยู่ในหมู่บ้าน  ๒  คน   ผมจึงทำงาน  นี้   ในฐานะ  คนในชุมชน   นี้   แค่นั้น   เอง  


พวกเราร่วมกันพัฒนา  บ้านขี้นาค  :   ได้รับรางวัล หมู่บ้านการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต   ชนะเลิศระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จริง ๆ  ก็ทำงาน  ตามวาระงานปกติเท่านั้นเอง  ในมิติการพัฒนา  แบบฉบับและสไตล์  คนบ้านเรา    แต่งานนี้  ต้องยกเครดิต   ให้   หัวหน้าวสันต์  ชิงชนะ    และทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  ที่สามารถสังเคราะห์   กระเทาะข้อมูลชุมชนออกมานำเสนอ  และตีแผ่   ในแวดวงพัฒนาชุมชน  ได้อย่างน่าสนใจ    จึงเป็นที่มาของ  การได้มา นำเสนอบทเรียนการพัฒนา   แก่น้อง  ๆ  พัฒนากร  ในวันนี้ 


ในเวที  เรียนรู้  พวกเรา  ได้  นำเสนอ บทเรียนการทำงานเชิงพื้นที่   ตามที่เคยสัมผัสมา  และสิ่งที่ ได้คุยกันมากกว่า  นั้น  คือ   การปลูกผังค่านิยมการ รักในงานพัฒนาชุมชน  และความภักดีต่อองค์กร  ให้มีในหัวใจนักพัฒนารุ่น  ใหม่ /////////////    สถานการณ์ปัจจุบัน   งานพัฒนาชุมชนอาจเป็นงานที่ดู ยากลำบากพอสมควร   เพราะต้องทำงาน  ในตำบลหมู่บ้าน  ในสถานการณ์ ที่ชุมชนมีความเปลี่ยนแปลง  ไปจากอดีต   การทำงานจึงยากขึ้น   และเพื่อนพัฒนากรส่วนหนึ่ง มีการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญเติบโต  ในสายงาน  จึง ได้  โบยบิน  ออกไปสู่ความใฝ่ฝัน   ของตนเอง   ดังนั้น   อัตราการโอนไปสู่หน่วยงานอื่น  ของคนกรมการพัฒนาชุมชน  จึงมีเป็นจำนวนมาก  

ในฐานะคนที่อยู่  ที่กรมการพัฒนาชุมชน  อย่างพวกเรา   จึง  ได้แต่   พูดคุยเพื่อสะท้อนแง่มุมการทำงาน  และบอกกล่าวประสบการณ์การทำงาน   ของตนเอง   เพื่อจุดประกายความหวัง   ให้คนรุ่นใหม่รักองค์กร   และร่วมหัมจมท้าย  พัฒนาองค์กร   ให้มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  ตอบโจทย์  การทำงานเพื่อประชาชน   สืบไป   /////////////////////////


ทุกครั้งที่ผมคุย  เรื่องราวการทำงาน  ของตนเอง  ให้คนอื่น ๆ   ฟัง  ก็ยิ่งตอกย้ำ  ให้ตัวเอง  ต้องกระตือรือร้น   และคิดค้น  งาน   อย่างสม่ำเสมอ   ใช้พลังความคิดเชิงบวก  พลังความคิดสร้างสรรค์   เพื่อทำในสิ่งที่ตนเองรัก   การได้ทำงานที่เราชอบ  เป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต    และงานพัฒนากรของเรามีอะไร   ให้ทำอีกเยอะแยะ   มากมาย   ไม่มีวันที่จะซ้ำซาก   จำเจ   ทั้งในเชิง   เนื้อหา   รูปแบบ  พื้นที่    และผู้คน     โลกของพัฒนากร  พื้นที่โลดเแล่น   ของพัฒนากร  นั้น   กว้างขวาง   ไม่มีผนัง  ไม่มีผ้า  ไม่มีเพดาน   ของเพียงเปิดใจ   เรียนรู้   และทำมันอย่างเต็มกำลังความสามารถ 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้