ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คบเด็กสร้างบ้าน : แปลงเมือง



          สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน เทศกาลแห่งการเรียนรู้ เสริมคุณค่าพลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ครั้งที่ ๑ ซึ่งเป็นงานที่ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล และหน่วยงานร่วมจัดงานร่วมกันจัดขึ้น  บรรยากาศในการจัดงานเป็นไปอย่างคึกคัก แม้ผมจะเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า ผู้ใหญ่ใจดี  ที่มาร่วมหนุนงานเยาวชนในพื้นที่ แต่ก็อดตื่นเต้นไปกับเด็กและเยาวชนที่ได้รับโอกาสดี ๆ  ในการทำโครงการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นศรีสะเกษ ตามแนวทางที่เด็กและเยาวชน มีความสนใจมีความถนัด  


          โครงการฟื้นฟูการแสดงดนตรีพื้นบ้านชาวกูย จากบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ ก็เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่มาจัดแสดงผลงานภายในงานนี้  จริง ๆ  ผมก็เป็นคนบ้านรงระ  นั่นล่ะ  พอจะรู้ความเป็นมาเป็นไปของการดำเนินงานโครงการของน้อง ๆ  เยาวชนที่ช่วยกันทำโครงการนี้ขึ้น เพียงแต่ไม่ได้ติดตาม หรือลงไปช่วยดูในรายละเอียด  เรียกได้ว่า  ให้กำลังใจทีมน้อง ๆ  ในลักษณะอยู่ห่าง ๆ  อย่างห่วง ๆ  


          การละเล่นดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มผู้สูงอายุในบ้านรงระ นั้นก็เกิดขึ้นอย่างจับพลัดจับผลู ผมไม่แน่ใจนักถึงที่มาที่ไปของวงดนตรีผู้สูงอายุวงนี้  จำได้เพียงเลาๆ  ว่า  ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน พยายาม ส่งเสริมกิจกรรมของผู้สูงอายุให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในปีนั้นมีกลุ่มเป้าหมายเข้ามาอบรม ติดต่อกัน  ๓ ปี ปีละ ๒,๐๐๐  กว่าคน การรวมวงแบบเฉพาะกิจจึงเกิดขึ้น  ในปีนั้นเอง  เครื่องดนตรีพื้นบ้าน นั้นใช้ดนตรีเพียงไม่กี่ชิ้นที่ผู้สูงอายุ มีความถนัดในการเล่นมาก่อนแล้ว  เช่น  ซอ กลอง ปี่ ฉิ่งฉับ เป็นต้น  เมื่อนำมาประกอบวงก็กลายเป็นดนตรีที่มีเสน่ห์  ในไสตล์กลิ่นอายวัฒนธรรมชาวกูย   ที่ใช้เล่น ในงานบุญประเพณีชุมชนเพื่อสร้างความรื่นเริง ให้คนในชุมชน  หรือแม้กระทั่งงาน อวมงคล ก็สามารถไปบรรเลงได้เช่นกัน  แต่เมื่องานอบรมตามโครงการสิ้นสุดลง ก็เป็นอันว่า วงดนตรีพื้นบ้านเฉพาะกิจนี้ ก็เป็นอันซบเซาลง  มีเพียงการละเล่นในระดับบุคคลบ้าง  นานๆที่ ครูภูมิปัญญานักดนตรีจะได้มาพบกัน และเล่นกันเป็นวงอีกครั้ง 



          ผมนั่งฟังน้อง ๆ ทีมเยาวชนบ้านรงระ เล่าถึงกระบวนการทำงาน ภายใต้โครงการฟื้นฟูการละเล่นดนตรีพื้นบ้านชาวกูย อย่างสนใจ นางสาว เจนจิรา  แสงมาศ คณะทำงานในโครงการกล่าวถึงกระบวนการทำงานว่า  ที่สนใจทำโครงการนี้เพราะว่า ดนตรีพื้นบ้านชาวบ้านรงระนั้น เป็นศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ขาดคนรุ่นหลัง สืบสานและสืบทอดภูมิปัญญาการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน  ในปัจจุบัน  มีครูภูมิปัญญาด้านดนตรีพื้นบ้าน ที่หลงเหลืออยู่เพียง    ท่าน  เท่านั้นเอง ถ้าไม่สืบสาน มีหวังความรู้ด้านนี้  จะสาบสูญจากชุมชนบ้านรงระเป็นแน่แท้  

          พ่อดั้น  ทวีชาติ พ่อน้อม กระสังข์ และพ่อคูณ  นาคนวล คือสามครูภูมิปัญญาดนตรีพื้นบ้านชาวกูยบ้านรงระ  ที่ยังมีชีวิตอยู่  น้อง ๆ  เยาวชนบ้านรงระ จึงเริ่มกระบวนการสืบค้นความรู้ ดนตรีพื้นบ้าน ทั้งในเรื่องราวด้าน  คุณค่า ความสำคัญดนตรีพื้นบ้าน ชนิดของเครื่องดนตรี ตลอดจน วิธีการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน  และหลังจากนั้นได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้การละเล่นดนตรีพื้นบ้านกับครูภูมิปัญญา ทั้งสามท่าน 
 
          ผมนั่งฟังเรื่อง ๆ  ราวที่น้อง ได้นำมาเล่าในงานเทศกาลการเรียนรู้  ภายใต้เวลา ๑๐  นาทีที่มีการนำเสนอผลงาน ผ่านการแสดงสดของครูดนตรีพื้นบ้านร่วมกับน้อง ๆ  กลุ่มเยาวชน  ผมรู้สึกภาคภูมิใจ  ที่น้อง ๆ  ทำให้วงดนตรีพื้นบ้านกลับมารวมวงอีกครั้ง  ได้ละเล่น ๆ  ให้หลาน ๆ ฟัง  และผมเชื่อว่า  ครูภูมิปัญญา ทั้ง    ท่าน  คงมีความภาคภูมิใจ และรู้สึกดีไม่ต่างกันที่มีลูก ๆ  หลาน ๆ  มานั่งฟัง  มาไถ่ถาม  มาสืบทอดงานศิลป์  ให้อยู่คู่ชุมชน  

          นอกจากน้อง ๆ  เยาวชนได้ เรียนรู้การละเล่นดนตรีพื้นบ้านแล้ว  ยังพบว่า  น้องๆ ได้พัฒนาทักษะส่วนบุคคล  ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ  อีกหลายหลาย  ดังที่น้องอวย ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า  มื่อได้เข้ามาทำโครงการชุมชนทำให้สมาชิก ในกลุ่มได้เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างมาก จากเมื่อก่อนไม่เคยสนใจชุมชนเลย วันๆ มีแต่บ้านกับโรงเรียน อยู่บ้านก็ดูหนังฟังเพลงเฮฮาไปตามภาษา แต่พอมาทำโครงการแล้วก็ได้รู้จักชุมชนตัวเอง และวัฒนธรรมในชุมชนตัวเองมากขึ้น ทุกคนรู้จักรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก รู้จักเทคนิคการทำงานกับชุมชน และมีจิตอาสาทำประโยชน์ให้ชุมชนบ้านตัวเอง โดยส่วนตัวยังค้นพบตัวเองด้วยว่าไม่เก่งด้านดนตรีเลย แต่มีความถนัดในการทำงานด้านข้อมูลและการประสานงานมากกว่า ก็สามารถนำข้อค้นพบนี้ไปใช้กับชีวิตและการทำงานต่อไปได้



 
          เด็ก ๆ และเยาวชนสมัยนี้ ถือว่า มีความคิดที่ก้าวหน้านะครับ  มีพลังงานในตัวเยอะแยะมากมาย  ขึ้นอยู่ว่า  จะใช้พลังเหล่านั้นมาใช้ในมิติไหน  ดังนั้น ผู้ใหญ่อย่างพวกเรา  จึงเป็นผู้หนึ่งที่ควรส่งเสริมสนับสนุน  ให้เด็กเยาวชน ได้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และได้แสดงออกในเชิงสร้างสรรค์  เพียงเท่านี้  ก็เป็นการหนุนงานเยาวชนแล้วครับ 
+++++++++++++++++++++++++++++++
         
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้