ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เผลอ นิดเดียว สิ้นปีแล้วนะ

ผมนั่ง คิดไปเรื่อย ๆ  บนรถทัวร์ ๒  ชั้น คันหนึ่ง  ซึ่งในคณะของเรามีอยู่ ๒  คัน ผมและเพื่อน ๆ  ถูกจำเพาะเจาะจงมา  พร้อมรายชื่อแนบมาว่า  ให้นั่งคันที่  ๒  ชีวิตจึงเป็นไปตามนั้น การเดินทางทัศนศึกษาดูงาน เพิ่มพูนสมรรถนะเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  ระยะเวลา  ๓ วัน  ๒   คืน  มีเป้าหมายการเดินทาง  ที่เขาใหญ่ - พัทยา -และ กทม.  เป็นลำดับสุดท้าย


ทุกๆ สิ้นปี งบประมาณหน่วยงาน ของเราจะมีการ จัดทัศนศึกษาดูงาน เป็นประจำ ปีนี้ ผมตั้งใจ เป็นพิเศษ ที่จะไปศึกษาดูงาน  เป็นการจำเพราะ  ในด้าน  การจัดกรอบความคิด  ในการขับเคลื่อนงานริเริ่มสร้างสรรค์ขององค์กร  (IPA)  และรูปแบบการจัดการ จัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นจุดอ่อน  ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายภารกิจด้านนี้  ผมจึง  คิดงานไม่ออก  ออกแบบ  ไม่เป็น


เราเดินทาง  จาก พัทยา  ในเช้าตรู่  ของวันนั้น  ที่โรงแรมโลมา  ปลาฉลาม  เมืองพัทยา  ชลบุรี  นับเป็นการนัดหมายที่  ท้าทายอย่างยิ่ง  รถจะเดินทางสู่เป้าหมาย  ในเวลา  ๖  โมงเช้า  แสดงว่า  เราต้องทานอาหารเช้าให้เรียบร้อย  ก่อน   หน้านั้น   การตื่นเช้า  เป็นของแสลง  สำหรับ  คนนอนดึกอยู่แล้ว  แต่เพื่อความไม่อับอายขายขี้หน้า  ต่อหน้าธารกำนัน    นาฬิกา  ชีวิต  เท่านั้น  ที่จะปลุกให้ตื่น


จากพัทยา  มากรุงเทพฯ   มากรุงเทพ  ใช้เวลา  ไม่นานเลย   นั่ง ๆ    นอน  ๆ  สักพักก็ถึงกรุงเทพ ฯ  สัญญาณชีวิต  ของกรุงเทพ  ฯ  เริ่มทักทาย  เมื่อรถติดยาวเหยียด  จึงเป็นที่รู้กันว่า   นี่ล่ะ เมืองฟ้าอมร

เมืองทองธานี  ชาแลนท์เจอร์   ๖ -๘  เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ  ของ กรมการพัฒนาชุมชน  ที่นำผลงานของผู้คนมาจัดนิทรรศการ  แสดงผลสำเร็จ   ในงานนี้   ทั้ง  ๗๗  จังหวัด  นำผลงานมาจัดแสดงที่นี่
อย่างน่าสนใจ


 

ผลรีบเดินทาง ไปสัมผัส กิจกรรมในงาน  ทั้งเจาะจลลงลึก  ตามเนื้อหา  รูปแบบที่ตนสนใจ  ผมมีเวลาอยู่ที่ นี่   ราว  ๕  ชั่วโมง  จึงได้สัมผัส  โดยการพูดคุย  ถ่ายภาพ  กิจกรรมที่เป็นงานบันดาลใจ  หรือกิจกรรมที่รู้สึกว่า  เขาทำได้ดี   และเราอยากที่จะเรียนรู้

ปีนี้  จังหวัดศรีสะเกษ   มีนิทรรศการ  มาจัดแสดง  ๒  กิจกรรม  คือ   หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านนาขนวน  อ.กันทรลักษ์   และบ้านโสนอาวอย   อ.ขุขันธ์   ด้านวิสาหกิจชุมชน  เพื่อชุมชน  จากการไปเยี่ยมชม  ก็ต้อง  บอกว่า  ทั้ง  ๒  อำเภอทำได้ดีมาก   ถ้าเป็นผมก็คิดไม่ออก  ขนาดนี้




ในงานพัฒนาชุมชน  ในรอบหลายปีมานี้   จะสังเกตเห็นว่า  เมื่อเราทำงาน  จนครบขวบปี  ก็จะมีกิจกรรมลักษณะนี้  คือการแสดงผลงานสู่สาธารณชน   ให้รับทราบถึงเนื้องาน  ของกรมการพัฒนาชุมชน   กระทรวงมหาดไทย   และแสดงผลงาน  ผลสำเร็จ   ให้   รัฐบาล    ประชาชน  คนทั่วไปได้รับรู้รับทราบ  ประกาศเกรียรติคุณ  เชิดชูเกีัยรติ   มองรางวัล  ตามลำดับ

ผมเองนับว่า  โชคดี  ที่มีโอกาส  มาร่วมงานนี้  เกือบทุกปี   ทั้งมารับรางวัล  มาร่วมงาน  และมา ชื่นชมยินดี    ในช่วง ๕ ปี  หลังมานี้   ผมได้รับรางวัล  ในงานนี้   อาทิ  รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น รางวัลชมเชยการเขียนบทความ  รางวัลรองชนะเลิศการเขียนเรื่องสั้น  มาจัดนิทรรศการ หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ  ชนะเลิศ ระดับภาคอีสาน   เป็นต้น  

ส่วนปีนี้  ผมไม่มีรางวัล  ติดไม้ติดมือ  แต่ก็มิใช่  ปัจจัย  ที่แสดงถึงความล้มเหลว  ของการทำงาน ยังคงมีความมุ่งมั่นเช่น  เคยไม่แปรผัน  เพราะผมรัก  ในการทำงานเช่นนี้  เป็นพื้นฐาน  อยู่แล้ว

งานนี้  ก็เช่นเดียวกัน  เป็น  งานหนึ่งที่ทำให้  เรามีแรงบันดาล  ใจมุ่งมั่นในการทำงานเพิ่ม   ขึ้น  

















 

      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้