ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศรีสะเกษพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ ๒

                   ตลอดทั้งปี พ.ศ. ๒๕๕๙ คนศรีสะเกษ คงจะคุ้นเคยกันดี สำหรับโครงการ  ๓๖๕ วันศรีสะเกษพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการที่จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกันตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ภายใต้กรอบแนวคิดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ และภาคประชาชน ได้ร่วมกันทำงาน ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ร่วมกัน ออกไปสู่พี่น้องภาคประชาชน ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดศรีสะเกษ ในรอบปีที่ผ่านมามีหมู่บ้านเป้าหมาย ทั้งหมด  ๒๙๖ หมู่บ้าน ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน หมู่บ้าน ละ  ๘๙,๐๐๐  บาท   ผลลัพท์ที่เกิดขึ้น จากการทำงาน ได้แก่ การมีหมู่บ้านต้นแบบ ที่ประยุกต์ใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวอย่าง ที่ดี ให้แก่ชุมชนอื่น ๆ  อย่างน้อย ตำบลละ  ๑  หมู่บ้าน โดยมีมิติต่างๆ เช่น  แนวทางการลดรายจ่าย สร้างรายได้  การประหยัออดออม เอื้ออารีย์ต่อกัน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                จากการประเมินผล การขับเคลื่อนโครงการ ในปีที่ ๑  พบว่า  การขับเคลื่อนโครงการ ฯ มีผลกระทบทางบวกต่อชุมชนท้องถิ่น เป็นที่พึ่งพอใจของประชาชน ดังนั้น ในปี พ.ศ ๒๕๖๐ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยท่าน  ธวัช  สุระบาล  ผู้ว่าจังหวัดศรีสะเกษ   จึงได้ ขับเคลื่อนโครงการ ศรีสะเกษพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่  ๒  ขึ้น มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาส มหามงคลเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ  ๗๐ ปี  ๗  มิถุนายน ๒๕๕๙ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนารถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗  รอบ  ๑๒  สิงหาคม  ๒๕๕๙

                โดยกรอบแนวคิด ในการแนวคิดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการนี้  มุ่งเน้นไปที่การน้อมนำหลักปัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ประชาชนให้เรียนรู้  ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ ออกเป็น ๔   ระยะ  เริ่มต้นที่การเตรียมการ เตรียมคน เตรียมพื้นที่ทำงาน  เตรียมองค์ความรู้หลักสูตรการทำงานร่วมกัน  ของหลาย ๆ ภาคส่วน ขั้นตอนการดำเนินโครงการ ฯ  มีการสนับสนุน ให้คณะทำงาน ในระดับตำบล  ลงพื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และประเมินผลการพัฒนา เพื่อจัดลำดับการพัฒนา นำไปสู่การคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ อย่างน้อยตำบลละ  ๑  หมู่บ้าน   ที่จะเข้าหลักสูตร การพัฒนาจากจังหวัด และอำเภออย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถเป็นต้นแบบ  สำหรับพื้นที่ใกล้เคียง ได้ศึกษาเป็นแนวทาง  และรูปแบบการขยายผล ในระยะต่อไป


               จุดเน้น อีกประการหนึ่งของโครงการนี้  ได้แก่  การให้ความสำคัญกับแนวคิด  "บวร" หรือ หลัก  บ้าน  วัด  โรงเรียน  ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชุมชน เป็นเสาค้ำยัน ชุมชน  ให้สามารถอยู่รอด ได้ตามบริบทของชุมชน  ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา  สถาบันหลักเหล่านี้  อาจจะ  ต่างฝ่ายต่างเดิน ต่างทำงาน  ตามบทบาทภารกิจของตนเอง  ขาดความเชื่อมโยงสัมพันธ์ ขาดเอกภาพในการทำงาน  ดังนั้นความมุ่งหวังของโครงการ  จึงเป็นภาพแห่งการบูรณาการ การทำงานร่วมกันของ  ทั้ง  ๓  ก้อนเส้านี้ ในท้ายที่สุด  หากโครงการนี้  สามารถดำเนินทางตาม  แนวทางนี้ได้  ในท้ายที่สุด  ก็จะสามารถยกระดับ พื้นที่ทำงานรูปธรรมเหล่านี้  ไปสู่  การเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  โรงเรียนสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  และวัดสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

                 จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า  ปีนี้  จังหวัดศรีสะเกษ โดยคณะผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด ได้ให้ความสำคัญกับ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาชน อย่างเอาใจเอาจัง ทั่วทั้งจังหวัด  ภาคส่วนต่าง ๆ  ต่างทุ่มเทสรรพกำลัง เพื่อให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งเน้น ไปสู่การพัฒนาเนื้องาน และผลสำเร็จของงาน  ในระดับ ให้เกิดต้นแบบ  เกิดรูปธรรมที่สามารถ เป็นแนวทางสำหรับขยายผลแนวคิดนี้  ไปสู่ชุมชนแห่งอื่นๆ  และเป็นปีที่สำคัญของชาวศรีสะเกษ  ที่จะได้ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อย่างทั่วถึงทั้ง จังหวัดศรีสะเกษ




 

                  
   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้