ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

KM : ลมหายใจของคนทำงาน



          ในสถานการณ์ที่สังคมไทยได้ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ และมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ทุกภาคส่วนของสังคม การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปในลักษณะ เล็ก เร็ว แรง โลกเชื่อมต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในทุกๆ มิติ ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม การทำงานของหน่วยงานราชการ ก็ต้องอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทิศทางการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ  จำเป็นต้องใช้ตัวองค์ความรู้  ชุดความรู้  บทเรียนประสบการณ์ของคนทำงาน ที่สะสมอยู่ในตัวบุคคล  หรือความรู้ชัดแจ้ง ที่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ  มาใช้เป็นหลักการ  เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในองค์กร และปัญหาของชุมชนท้องถิ่น และปัญหาสังคม ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่า  ในยุคปัจจุบันหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน ต่างให้ความสำคัญกับการ ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ ในระดับบุคคล และการพัฒนาองค์กรไปสู่ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้สามารถเป็นแนวทางในการจัดระบบ องค์ความรู้ในการทำงาน เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาองค์กรให้สามารถทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตอบสนองนโยบายของรัฐ และตอบโจทย์การพัฒนาให้แก่ประชาชน ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานราชการที่ทำงานเคียงคู่ ประชาชนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมตำบลหมู่บ้านทั่วทั้งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการความรู้ ให้แก่บุคลากร เป็นการติดอาวุธทางปัญญา ให้แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ สำหรับขับเคลื่อนงานตามวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน  เพื่อให้บรรลุสู่ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง  




          กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ กรมการพัฒนาชุมชน (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๒) มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีทิศทางร่วมกัน สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า กรมการพัฒนาชุมชนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่นวัตกรรมการพัฒนาชุมชนทั้งนี้มุ่งเน้นสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนการจัดการองค์ความรู้ทั่วทั้งองค์กร เพื่อขยับให้เกิดแรงกระเพื่อม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง  ทั้งการวางระบบในการจัดการความรู้ จัดการความรู้เพื่อเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาคนทำงานให้มีแรงจูงใจ ในการขับเคลื่อนงาน และมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี ต่อการทำงานให้บรรลุผลขององค์กรร่วมกัน นอกจากนั้นยังมีการสร้างระบบฐานข้อมูลขององค์กรในการจัดระบบข้อมูล พัฒนาสู่การเกิดคลังข้อมูลและใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อผลในเชิงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดจากการทำงานร่วมกัน  ทั้งนี้ผลจากการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ตามยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ พบว่า การจัดการความรู้ (KM) ในองค์กรในระดับต่าง ๆ มีปัญหาอุปสรรค ที่สำคัญ ดังนี้

          (๑)ปัญหาเรื่องความเข้าใจในเรื่องการจัดการความรู้ ต้องยอมรับว่าการจัดการความรู้ในหน่วยงานเริ่มต้นมีการกล่าวถึงในเชิงนโยบายเมื่อไม่นานมานี้เอง และเมื่อมีการแปลงแผนงานไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ความเข้าใจในเรื่องการจัดการองค์ความรู้ของบุคลากรในระดับปฏิบัติการ นั้นไม่ชัดเจน หรือมองไม่เห็นในภาพรวมของกระบวนการจัดการความรู้ทั้งระบบ ดังนั้นการจัดการความรู้ จึงกลายเป็นเสมือนเนื้องานที่ ฝ่ายนโยบายได้เพิ่มเนื้องานใหม่ ๆ  เข้ามาให้ลงมือทำ และเป็นการทำงานแบบแยกส่วน ไม่ครบองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ ตามเจตนารมณ์ที่แท้จริง  บุคลากรส่วนใหญ่มองว่า องค์ความรู้นั้นเป็นการเขียนหนังสือ เขียน บทเรียนประสบการณ์จากการทำงาน เมื่อการเขียนเป็นยาขม เป็นทักษะที่ไม่ถนัด จึงส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่ายกระบวนการจัดการความรู้ไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
          (๒)การขาดแรงจูงใจในการจัดการความรู้ เมื่อบุคลากร มิได้ตระหนัก หรือให้คุณค่า ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแรงจูงใจในการจัดการความรู้ เพราะมองไม่เห็นอย่างชัดเจนว่า การจัดการความรู้ มีประโยชน์ต่อการทำงานอย่างไร มองไม่เห็นว่าคนทำงานได้ประโยชน์อะไร หน่วยงานได้รับประโยชน์แบบไหนบ้าง เพราะเมื่อมีการจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งก็ขาดการต่อยอดและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ให้มีความต่อเนื่อง และเพิ่มมูลค่าขององค์ความรู้ ให้เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า  องค์ความรู้ที่กินได้
          (๓)บุคลากรขาดทักษะที่สำคัญในการจัดการความรู้ เป็นที่ทราบกันดีว่า บุคลากรของหน่วยงานบางส่วนยังขาด ทักษะ ความรู้ที่สำคัญในการจัดการความรู้ เพราะทักษะเหล่านี้ ล้วนเกิดขึ้นจากการฝึกฝนและฝึกปรืออย่างสม่ำเสมอ ถึงจะเกิดขึ้นได้  เมื่อ ขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ ชุดความรู้ องค์ความรู้ ที่ผ่านการปฏิบัติการ เป็นองค์ความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นชุดองค์ความรู้ที่ขาดคุณภาพ ส่งผลให้ขาดความน่าเชื่อถือและขาดการยอมรับ ในการจัดการความรู้ของหน่วยงาน ในที่สุด
          (๔) หน่วยงานขาดการวางระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ การที่หน่วยงานจะก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ จนสามารถสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาชุมชน นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบสนับสนุนที่ชัดเจน ให้บุคลากรสามารถพัฒนา  ชุดความรู้ และองค์ความรู้ขั้นสูง จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้าน การสร้างสรรค์ความรู้  สร้างสรรค์ปัญญาของประเทศนี้ ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่า การจัดการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน ยังคงมีลักษณะแยกส่วน จากเนื้องานปกติของหน่วยงาน ยังคงแยกส่วนไม่สัมพันธ์กับระบบความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ 


          จากสถานการณ์ปัญหาที่กล่าวถึงเบื้องต้น เพื่อให้การขับเคลื่อนงาน การจัดการองค์ความรู้ (KM) บรรลุตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน และ ทำให้   การจัดการความรู้ มีความสำคัญ เสมือนหนึ่ง ลมหายใจของคนทำงาน จึงได้เสนอแนวทางในการสร้างสรรค์งานจัดการองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ตามแนวทางดังนี้  

          แนวทางที่ ๑ องค์กรควรประกาศแนวทางในการจัดการความรู้ ที่มีความก้าวหน้า มีความต่อเนื่องและจริงจัง โดยกำหนดให้การสร้างองค์ความรู้ เป็นวาระสำคัญของคนทำงาน สนับสนุนให้ทุกคนมุ่งไปสู่การจัดการความรู้ในการทำงานให้เป็นวิถีชีวิต เป็นหนึ่งเดียวในการทำงาน ประกาศให้การจัดการความรู้ ไปสัมพันธ์กับเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ เพราะส่วนใหญ่บุคลากรของหน่วยงานก็ทำงานในสายงานนักวิชาการ ดังนั้นควรสนับสนุนให้ มีการใช้การจัดการองค์ความรู้ ที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติ ที่ผ่านการนำเสนอองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน  ในเวทีวิชาการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบเพื่อเลื่อนขั้น เลื่อนระดับที่สูงขึ้นตามสายงาน  และกำหนดไว้ในเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ อย่างชัดเจน

          แนวทางที่ ๒  สนับสนุนให้มีการต่อยอดงานการจัดการองค์ความรู้ ให้มีการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เนื้องาน ตามความสนใจ เช่น การส่งเสริมนักจัดการความรู้ที่มีความเชี่ยวชาญ  มีโอกาสต่อยอดสู่การเป็นนักวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน โดยการสนับสนุนให้บุคคลเหล่านี้ ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายองค์ความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร  ต่อยอดองค์ความรู้ ไปสู่การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านการพัฒนาชุมชน เพื่อของบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อขับเคลื่อนทำงานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งงานวิจัย นับเป็นระเบียบวิธีการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการ และสอดรับกับกระบวนงานพัฒนาชุมชน  
  
          แนวทางที่ ๓ พัฒนาทักษะของบุคลากร ให้เป็นผู้มีองค์ความรู้ที่จำเป็นในการจัดการความรู้ โดยการหนุนเสริมให้ใช้ หัวใจนักปราชญ์เป็นหัวใจหลักของบุคลากรในการทำงาน กล่าวคือ  หัวใจนักปราชญ์ สุ  จิ  ปุ  ลิ  สุ   ได้แก่ สุต คือ การฟัง  นักปราชญ์ต้องฟังมากและอ่านมากด้วย จิ    จินตนะ  คือ  การคิด  เมื่อเราฟังหรืออ่านเรื่องราวใดๆต้องคิดตาม  ไม่ปล่อยจิตไปตามยถากรรมอย่างฟังเสียงนกเสียงกา  ถ้าพบข้อความหรือคำพูดที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย  ก็ผูกจิตไว้ตรึกตรอง  ปุ   ได้แก่  ปุจฉา  คือ  การถาม  ก็ผูกจิตไว้ตรึกตรองและค้นคว้าหาความเข้าใจ ลิ  ลิขิต  คือ  การเขียน  เป็น การแสดงผลการฟัง การอ่าน  การใช้ความคิด  การถาม  คือการสอบสวนของผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์  ถ้านักจัดการความรู้สามารถ เข้าใจและใช้หัวใจนักปราชญ์ ให้เป็นวิถีปกติในการทำงาน ก็จะเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง ให้สามารถทำงานจัดการความความรู้ได้อย่างมีความสุข 


          การจัดการความรู้ จะประสบผลสำเร็จได้ตามที่ใจปรารถนา นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อพัฒนาองค์กรของเรา ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นพื้นฐานในการทำงานร่วมกัน  ในขณะเดียวกัน องค์กรก็ควรมีการสนับสนุน สร้างกระแสในการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้น เป็นวาระของหน่วยงานที่จะต้องผลักดันงานร่วมกัน โดยมีประเด็นที่ควรหนุนเสริมใน ๓  ด้าน ได้แก่  ด้านการการพัฒนาระบบการจัดการความรู้  การพัฒนาแรงจูงใจและทักษะการทำงานของบุคลากร การสนับสนุนการต่อยอดองค์ความรู้ให้มีมูลค่าเพิ่ม และเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ  ถ้าสามารถขับเคลื่อนการจัดการองค์ความรู้ตามแนวทางดังกล่าว เชื่อเหลือเกินว่า  การจัดการความรู้ จะเป็นเสมือนหนึ่งทุกลมหายใจของชาวพัฒนาชุมชน แน่นอน  ได้อย่างแน่นอน








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้