ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตลาดประชารัฐสัมมาชีพชุมชน



ตลาดประชารัฐสัมมาชีพชุมชน

                เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖๐ อำเภอห้วยทับทัน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน ร่วมกับ โครงการชุดวิจัยการสร้างสัมมาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น  สภาวัฒนธรรมตำบลห้วยยาง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหลวง ชาวตำบลเมืองหลวง พี่น้องชาวห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง ร่วมกันจัดงานตลาดประชารัฐสัมมาชีพชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนร่วม นำสินค้าชุมชน มาจัดแสดงและจำหน่าย ในงาน ซึ่งได้ผนวกเข้ากับประเพณีลอยกระทงและการแข่งขันเรือยาว ของชาววัดห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อันเป็นงานประเพณีที่ชุมชนร่วมกันจัดงานสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกๆ ปี   การจัดงานครั้งนี้ จึงถือเป็นการเตรียมการเพื่อทดสอบแนวทางในการเตรียมเปิดตลาดประชารัฐของอำเภอห้วยทับทันอีกด้วย  ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก  คณะรัฐมนตรี(ครม.)   มีมติเมื่อวันที่   17 ตุลาคม 2560 ว่าได้ อนุมัติงบประมาณปี 2561-2562 จำนวน 562 ล้านบาท ดำเนินโครงการ “ตลาดประชารัฐไทยช่วยไทย” 6,447 แห่ง เพื่อส่งเสริมให้มีพื้นที่การตลาดใหม่ ขยายพื้นที่ตลาดเดิม ส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มประเภทสินค้า อาทิ สินค้าเกษตร โอท็อป เอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอย โดยดำเนินการครอบคลุมในเขตพื้นที่กทม. ปริมณฑล และภูมิภาคต่างๆ



          บรรยากาศตลาดประชารัฐสัมมาชีพชุมชน เริ่มตั้งแต่เช้า มีพี่น้องนำสินค้ามาแสดงและจำหน่ายตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นมา สินค้าที่นำมาวาง มีหลากหลาย เช่น กลุ่ม OTOP สินค้าประเภทผ้าไหม มาจำหน่าย และมีกระเช้าเถาวัลย์จากกลุ่มโอทอป บ้านห้วยยาง ในกลุ่มหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน จะมีกลุ่มสินค้าเกษตร เช่น  น้ำมะพร้าว มะพร้าว ข่าเหลือง กบ  เป็นต้น  กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  จะนำสินค้า ประเภทอาหาร เช่น  ลูกชิ้นทอด และน้ำปั่นต่าง ๆ  ในกลุ่มวิจัยสัมมาชีพชุมชน ทีมวิจัยลำน้ำห้วยยาง จำหน่าย  ส้มแช้ง กล้วยสุก  กล้วยปิ้ง แยมแก้วมังกร พันธุ์หมาก ผลไม้ดอง กระเป๋าผ้าไหม ไวน์จากแก้วมังกร และสัปปะรด กลุ่มทีมวิจัยบ้านหนองแวง ตำบลดู่ อำเภอปรางค์กู่  จำหน่าย  ต้นมะพร้าวกะทิ ต้นเตยหอม ทานตะวันเพาะ  และแจ่วบอง   ทีมวิจัยหนองเชียงทูนใต้ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่   จำหน่ายพันธุ์กล้วย และเห็ดนางฟ้า นางรม  ทีมวิจัยบ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ นำผ้าไหม เห็ด  และพันธุ์พืช เช่นพริก  มะเขือ  มาวางจำหน่าย  ทีมวิจัยบ้านหนองสะมอน  ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน  ได้นำขนมจีน ส้มเขียวหวาน  มาจำหน่าย ซึ่งเป็นตลาดแบบชุมชนที่ ใครมีอะไรก็นำสินค้าชนิด นั้นๆ  มาขายเพื่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน  



          จากนั้นในเวลา 10.00น. นายธวัช  สุวรรณ  นายอำเภอห้วยทับทันประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในระดับอำเภอ ได้ทำพิธีเปิดงาน และเดินเยี่ยมจุดแสดงสินค้า และจำหน่ายในงานตลาดประชารัฐสัมมาชีพชุมชน จนครบทุกๆ กลุ่ม เพื่อพบปะให้กำลังใจ แก่ผู้ผลิตผู้จำหน่าย ทุกๆกลุ่ม  ผลจากการจำหน่ายสินค้าในครั้งนี้   จากการที่ โครงการวิจัยชุดสัมมาชีพชุมชน ได้รวบรวมยอดจำหน่าย จากกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาขายในตลาดครั้งนี้  โดยการลงข้อมูลที่จำหน่ายได้ทั้งหมด  ส่งให้คณะผู้จัดงาน  พบว่า  มีผู้ผลิตผู้จำหน่ายส่งข้อมูลยอดจำหน่าย รวมจำนวน  ๑๓ ราย รวมยอดจำหน่ายทั้งสิ้น    ๔๔,๕๓๐   บาท 



          การจำหน่ายสินค้า ของแต่ละพื้นที่นั้นพอขายได้ เพียงแต่ต้องวิเคราะห์ตลาดว่า  ในลักษณะตลาดแบบนี้ลูกค้าต้องการซื้ออะไร จะจัดตลาดแบบไหน  ช่วงไหน  ผู้ค้าที่นำสินค้าเกษตรมาจำหน่าย ก็พอได้จำหน่าย บ้าง  แต่อาจสู้สินค้า จำพวกการแปรรูป ไม่ได้ ดังนั้น  จึงเป็นบทเรียนร่วมกันของคณะทำงาน ที่จะต้องหาสินค้าที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค และมีการสร้างเครือข่ายการทำงานแบบการเกาะเกี่ยวกันเป็นทีมเพื่อไปเปิดตลาด ตามที่ต่าง ๆ  เพื่อสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่  สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจ เข้าร่วมขายสินค้าในตลาดประชารัฐ ตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด สามารถร่วมลงทะเบียนจำหน่ายสินค้า ในตลาดประชารัฐ ได้ที่ศูนย์ดำรงธรรม ที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง ตั้งแต่ วันที่ ๑๐ - ๓๐ พฤศจิกายน  ๒๕๖๐  นะครับ  


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้