ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไมต้องฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

พัฒนากร เป็นชื่อเรียกขานจนติดปาก อาจจะเป็นชื่อไม่เป็นทางการ สำหรับตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชน สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย งานพัฒนากร เป็นงานอะไร  นะ  เมื่อใครๆ  ไถ่ถาม  มาบางที ก็ตอบไม่ถูกเช่นกัน  เพราะยากที่จะมีคำจำกัดความ  ที่เข้าถึงตรงเนื้อหาภาระ งาน  ได้อย่างตรง ๆ  เอาเป็นว่า  ทำงานพัฒนา  ก็แล้วกัน   มีฐานงานพื้นที่ทำงาน  อยู่ที่หน่วยล่างสุด  ของสังคม  อันได้แก่  ตำบล  หมู่บ้าน  กลุ่มองค์กร   ผู้นำชุมชน  เป็นงานที่ต้องเข้าไปเรียนรู้  สร้างกระบวนการเรียนรู้กับคนในชุมชน  เพื่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะกับ  ระบบเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง  เพื่อประชาชนพึ่งตนเอง  ได้

งานพัฒนากร  จึงเป็นงานที่มีความยาก  ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ หลากหลายแขนงในการทำงาน  แบบบูรณาการศาสตร์  ได้เหตุนี้เอง  กรมการพัฒนาชุมชน  จึงให้ความสำคัญยิ่งนักกับการ เพาะบ่มสร้าง เมล็ดพันธุ์นักพัฒนา สายเลือดใหม่  แน่นอนว่า  การไปบรรจุประจำการ เป็นพัฒนากร   ทุก ๆ  คน  ต้องผ่านหลักสูตรการอบรมอย่างเข้มข้น  จากวิทยาลัยการพัฒนาชุมชน  สถาบันการพัมนาชุมชน  เรียกหลักสูตรนี้ว่า  พัฒนากรก่อนประจำการ  มีระยะเวลาการฝึกอบรมยาว ถึง  ๔๐ -  ๔๕  วัน

แล้ว  สถานการณ์การพัฒนาในยุคสมัยใหม่  จำเป็นขนาดไหน  ที่ต้องสร้างหลักสูตรการอบรมที่ยืดยาวขนาดนี้   และหลักสูตรนี้   ยังมีการให้พัฒนากรลงฝึกงานภาคสนามอีก  จำนวน  ๑๕  วัน  ในมุมมองคนทำงานพัฒนาคงทราบดีว่า  การฝึกงานภาคสนาม  นั้น   มีคุณค่า  ในตัวเอง  แน่  ในฐานะ  ที่เป็นเครื่องมือ หล่อหลอม กล่อมเกลา  ให้นักพัฒนาได้  ฝึกฝนตัวเอง  ในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้าน  วิชาการ  มนุษย์สัมพันธ์    การเข้าชุมชน  และฝึกฝนทางจิตใจ 

เมื่อเดือน  สิงหาคม  ที่ผ่านมา  ผู้เขียน  ในมีโอกาส  รับบทบาทเป็นพี่เลี้ยง  ให้แก่  น้อง ๆ  พัฒนาก่อนประจำการ  รุ่นที่  ๑๐๔  ที่มาฝึกประสบการณ์ภาคสนามที่จังหวัด  ศรีสะเกษ  จำนวน  ๑๐๐  ชีวิต  ลงสู่หมู่บ้าน  ๑๐๐  แห่ง  ๑  พัฒนากร  ๑  หมู่บ้าน  ถือว่า  ได้เป็นส่วนหนึ่ง  ในการเรียนรู้เพื่อขัดเกลาตนเอง  พี่เลี้ยงเรียนรู้  จากน้อง ๆ  บ้าง   น้องพัฒนากร  ใหม่มอบบทเรียนให้พี่เลี้ยงบ้าง  ถือเป็นการ  ยกระดับการทำงาน  ให้กันและกัน   ในแบบฉบับ  ความเป็นพี่เป็นน้อง  ของคนพัฒนาชุมชน

สิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็น  ประโยชน์  ของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม  ก็คือ  การได้  ให้พัฒนากรทดสอบ  เรียนรู้กับชุมชน  หมู่บ้านในสถานการณ์ที่เป็นจริง  ได้ฝึกฝน  ตนเอง  ให้เป็นคนเก่ง  คนหัวใจแกร่ง  สภาพชุมชน  และผู้คน  ที่  ได้ไปพบ  ก็เป็น  บทเรียนชีวิต   ให้น้อง  ๆได้  เช่นกัน  ในพื้นที่  ก็มีนักพัฒนาภาคประชาชน  ที่ทำงานเก่ง ๆ  ชุมชนต้นแบบที่ทำงานประสบผลสำเร็จ  ก็มีบทเรียนสำคัญให้เรียนรู้มากมายเช่นกัน

นางสาวชมัยภรณ์  วนะวาสี  พัฒนากร  รุ่น  ๑๐๔  ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม  ที่บ้านเมืองหลวง  อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ  เล่าว่า  การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม เป้นสิ่งสำคัญที่ ได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน  ผลักดันงานชุมชน  ร่วมกับพี่น้องในหมู่บ้านเมืองหลวง  ซึ่งให้ความร่วมมืออย่างดี  ตอนแรก ๆ  รู้สึกกังวลว่า  จะทำได้หรือไม่  แต่ เมื่อลงมาทำงานจริง  พบว่า  หมู่บ้านในชนบท  ยังคง  ให้ความร่วมมือ  อย่างดี   จนสามารถจัดเวทีประชาคม  ทำโครงการ  สร้าง  LandMark ต่อยอดกิจกรรมหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านเมืองหลวง  โดยความร่วมมือ  ของคนในชุมชน  ทุกภาคส่วนที่ทำให้งานชิ้นนี้  สำเร็จ  ในระยะเวลา  สั้น  ๆ




ด้าน  นางสาวจีรภา มิ่งเชื้อ พัฒนากรก่อนประจำการรุ่นที่  ๑๐๔  ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ที่บ้านรงระ หมู่ที่  ๘  ตำบลตูม  อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  เล่าว่า     ในการฝึกภาคสนาม เป็นการฝึกประสบการณ์ การทำงานจริง ได้ฝึกการปรับตัว เรียนรู้และฝึกทักษะการทำงานร่วมกันกับชาวบ้าน ผู้นำชุมชน พี่ๆพัฒนากร ผู้บังคับบัญชา เข้าใจการทำงานและกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน และได้นำปรัชญา หลักการ กระบวนการพัฒนาชุมชนมาใช้ปฏิบัติจริงผ่านการทำโครงการ  

ซึ่งที่ บ้านรงระ ก็ได้เรียนรู้วิถีและการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และมีผู้นำ และกลุ่มที่ค่อนข้างเข้มแข็ง โดยเรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิตร่วมกับทางชุมชน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งตนเอง โดยลดรายจ่ายและปัจจัยภายนอก เช่น ปลูกผักในครัวเรือน เพื่อใช้กินและขาย ทำน้ำยาล้างภาชนะใช้เอง เลี้ยงสัตว์ ไก่ เป็ด ไว้บริโภค เป็นต้น และคนในชุมชนเรียนรู้การทำงานด้วยกันผ่านกลุ่มกิจกรรมในชุมชน เช่น ร้านค้าชุมชน เป็นต้น ซึ่งทำให้ชุมชนมีความเอื้ออารี มีความไว้วางใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพึ่งพาตนเองหรือชุมชนก่อนเป็นลำดับแรก
 


 จากปากคำ ของ พัฒนากรก่อนประจำการ  ที่มาฝึกประสบการณ์การทำงานภาคสนาม  สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนมองเห็น คือ  บทเรียนภาคสนาม  จะช่วยสร้างความมั่นใจ  ให้แก่  นักพัฒนาสายเลือดใหม่  หล่อหลอม  ให้คนหนุ่มสาว  มีจิตสำนึก  ในการทำงานเพื่อชนบท  อดทนเสียสละ  มีจิตอาสา และช่วยให้ คนรุ่นใหม่ มีความเข้าใจชุมชน  เข้าใจผู้คนในชุมชน  ปฏิบัติตนต่อคนในสังคมด้วยความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ   และเป็นข้าราชการ  ที่ทำงานเพื่อประโยชน์ชุมชน  และประเทศชาติ   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้