ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กิจกรรมที่ ๒ เวทีพัฒนานักวิจัยท้องถิ่น



โครงการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้า
กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลการวิจัย

หลักการเหตุผล
          โครงการวิจัยชุด การสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น) ให้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน  มีวัตถุประสงค์สำคัญ  เพื่อศึกษาบริบทการเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของชุมชน ปัญหา ข้อจำกัด และศักยภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ  เพื่อศึกษาการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพของชุมชนบนฐานบริบทการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ    เพื่อศึกษาและติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ
          ซึ่งโครงการวิจัย ฯ  มีพื้นที่ดำเนินการ จำนวน  ดำเนินการการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพและรายได้ของชุมชนบนฐานโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชุดสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
1.      โครงการวิจัยการศึกษาการเลี้ยงโค-กระบือเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
2.      โครงการวิจัย ศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองสะมอน ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
3.      โครงการวิจัย การผลิตเส้นไหม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ
อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
4. โครงการวิจัย แนวทางการประกอบอาชีพบนฐานทรัพยากรเพื่อจัดการหนี้ของชุมชนบ้านหนองแวง ตำบลดู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 
5.  โครงการวิจัย การศึกษาการเพิ่มผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนลำห้วยยาง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน   จังหวัดศรีสะเกษ
          ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนโครงการชุดวิจัย ฯ  สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดให้มีการประชุมอบรมสร้างความรู้ความเข้ากระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่น  มีความรู้แนวคิด  กระบวนการวิจัยท้องถิ่น  และสามารถออกแบบการวิจัยในโครงการของตนเองได้อย่างเหมาะสม 





วัตถุประสงค์
          (๑)เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่นมีความเข้าใจแนวคิด หลักการ กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
          (๒)เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่น สามารถออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล โครงการของตนเองได้
          (๓)เพื่อให้นักวิจัยท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการวิจัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม
เนื้อหาการจัดประชุม
๑.      แนวคิดหลักการวิธีการวิจัยท้องถิ่น / เรื่องสัมมาชีพชุมชน
๒.      ทบทวนโครงการเพื่อกำหนดกรอบการศึกษา
๓.      แตกกรอบการศึกษา
๔.      การตั้งคำถาม เก็บข้อมูล
๕.      เครื่องมือการเก็บข้อมูล
๖.      ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล
๗.      คุณลักษณะนักวิจัยท้องถิ่น
๘.      การเขียนรายงาน
-          ความก้าวหน้า
-          ฉบับสมบูรณ์
๙.      แผน / การออกแบบการวิจัย
วิธีการดำเนินการ
          (๑)ประชุมคณะทำงานโครงการวิจัยเพื่อออกแบบหลักสูตร ฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้า
กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลการวิจัย
          (๒)ประสานคณะวิทยากรจัดประชุมตามโครงการ
          (๓)ประสานพื้นที่จัดประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดประชุม 
          (๔)ดำเนินงานตามโครงการ
          (๕)สรุปประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ 
          (๖)จัดทำรายงานผลรายงานเป็นเอกสาร 





กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม
                   นักวิจัยโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่ 5 โครงการ จำนวน 70 คน ประกอบด้วย
               2.1) โครงการวิจัยการศึกษาการเพิ่มผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนลำห้วยยาง ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 21 คน
                   2.2) โครงการวิจัยศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองสะมอน ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 13 คน
                   2.3) โครงการวิจัยการผลิตเส้นไหม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษจำนวน 14 คน
                   2.4) โครงการวิจัย โครงการวิจัย แนวทางการประกอบอาชีพบนฐานทรัพยากรเพื่อจัดการหนี้ของชุมชนบ้านหนองแวง ตำบลดู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  จำนวน 13 คน
                   2.5 การศึกษาการเลี้ยงโค-กระบือเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองเชียงทูนใต้ ตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 9 คน 
               ทีมวิทยากร ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน    คน 
ระยะเวลาดำเนินการ
          วันที่  ๒๓ –๒๔-๒๕  กันยายน  ๒๕๖๐  
สถานที่จัดกิจกรรม
          ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองฮะ  หมู่ที่ ๓  ตำบลปราสาท  อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ
งบประมาณ
          งบประมาณตามแผนงานโครงการวิจัยของชุมชนจำนวน    โครงการ
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          (๑)นักวิจัยท้องถิ่นมีความเข้าใจแนวคิด หลักการ กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
          (๒)นักวิจัยท้องถิ่น สามารถออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล โครงการของตนเองได้
          (๓)นักวิจัยท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโครงการวิจัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม



ผู้รับผิดชอบโครงการ
         ทีมหัวหน้าโครงการวิจัย   
         (๑) นายสุพัฒน์  ยงกุล
         (๒)นางเด็ด  อักษร 
         (๓)นางถิระโรจน์  จารุรัศมีวงค์
         (๔)นายศราวุฒิ  ยงกุล
         (๕)นายมงคล  สุกใส   

         ทีมวิทยากร
         (๑)นาวรุ่งวิชิต  คำงาม                        ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นศรีสะเกษ
         (๒)นางสาวเบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์         ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นศรีสะเกษ
         (๓)นายประมวล ดวงนิล                      ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นศรีสะเกษ
         (๔)นางสาวปราณี ระงับภัย                   ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นศรีสะเกษ
         (๕)นายวิศย์ ประสานพันธ์                    สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ศรีสะเกษ
         (๖)นายสรรณ์ญา กระสังข์                    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน
         (๗)นายบุญธรรม  จำปาสุข                   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย
         (๘)นายจงศิลป์  บุตรราช                     สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย
         (๙)นายนุกูลกิจ  ทวีชาติ                      โรงเรียนกลันทาพิทยาคม
         (๑๐)นายประจักษ์  สุทโท                    โครงการชุดวิจัยสัมมาชีพชุมชน
         (๑๑)นายธนาวุฒิ  ปิยะวงค์                   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศิลาลาด
 








กำหนดการ โครงการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้า
กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและออกแบบเครื่องมือการจัดเก็บข้อมูลการวิจัย
วัน/เวลา
กิจกรรม
วันที่ ๒๓  กันยายน๒๕๖๐ 
๐๘.๐๐น. -๐๙.๐๐น.
- กลุ่มเป้าหมาย เดินทางถึงพื้นที่บ้านหนองฮะ  ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
เวลา ๐๙.๐๐ น.-๑๐.๐๐ น.
- แนวคิดการสร้างสัมมาชีพชุมชน
โดย นายวสันต์  ชิงชนะ  ที่ปรึกษาโครงการวิจัยชุด   ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ 
เวลา ๑๐.๐๐ น. -๑๑.๐๐ น.
แนวคิดหลักการ วิธีการทางวิจัยท้องถิ่น
โดยนายรุ่งวิชิต  คำงาม และคณะ  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
เวลา ๑๑.๐๐น –  ๑๒.๐๐ น.
- ทบทวนโครงการเพื่อกำหนดกรอบการศึกษา
โดยนายรุ่งวิชิต  คำงาม และคณะ  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ



เวลา ๑๓.๐๐น. – ๑๕.๓๐ น.
- แตกกรอบการศึกษาวิจัย  
โดยนายรุ่งวิชิต  คำงาม และคณะ  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๐
เวลา  ๐๙.๐๐ น.  – ๑๐.๓๐  น.
-การตั้งคำถามวิจัยเพื่อเก็บข้อมูล
เวลา ๑๐.๓๐ น –  ๑๒.๐๐ น. 
- เครื่องมือการเก็บข้อมูล
โดยนายรุ่งวิชิต  คำงาม และคณะ  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

เวลา ๑๓.๓๐ น.  – ๑๕.๓๐ น.

- ฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล ลงพื้นที่ภาคสนามในหมู่บ้านหนองฮะ
เวลา  ๑๕.๓๐น. – ๑๖.๓๐ น.
-สรุปผลการจัดเก็บข้อมูล

   วันที่ ๒๕ ก.ย. ๖๐
- คุณลักษณะนักวิจัยท้องถิ่น
- เค้าโครงการเขียนรายงาน
- แผน / การออกแบบการเก็บข้อมูล
โดยนายรุ่งวิชิต  คำงาม และคณะ  ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้